Publication: ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุการทำงาน ในจังหวัดแพร่
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2558), 30-42
Suggested Citation
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, Sutham Nanthamongkolchai, Chokchai Munsawaencsub, Supachai Pitikultang ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุการทำงาน ในจังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ (2558), 30-42. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2576
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุการทำงาน ในจังหวัดแพร่
Alternative Title(s)
Life stability among the elderly after retirement in Phrae province
Corresponding Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมั่นคงในชี
วิตและปัจจัยที่สามารถคาดทำนายความมั่นคง ในชีวิตของผู้สูงอายุภายหลังเกษียณอายุการทำงานในจังหวัดแพร่ จำนวน 258 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามในช่วงวันที่ 25 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2558 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุการทำงานมีความมั่นคงในชีวิตอยู่ในระดับมากร้อยละ 51.2 ปานกลาง ร้อยละ 47.2 และต่ำร้อยละ 1.6 โดยพบว่า ผู้สูงอายุมีความมั่นคงระดับสูงในด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 63.5 ด้านสุขภาพ ร้อยละ 57.3 ด้านสังคม ร้อยละ 47.7 และด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 35.7 ซึ่งการเตรียมตัวก่อนการเกษียณและแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมคาดทำนายความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุการทำงานได้ร้อยละ 45.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลจากการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหาความมั่นคงในชีวิต โดยเพิ่มเรื่องแรงสนับสนุนทางสังคมและการเตรียมตัวก่อนเกษียณ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีการปรับตัวและมีการดำเนินชีวิตภายหลังวัยเกษียณได้อย่างเหมาะสมต่อไป
This study was a cross sectional survey
research aimed to determine the situation of
life stability and factors predicting life stability
among the elderly after retirement in Phrae
province. Two hundred and fi fty-eight elderly
were selected by stratifi ed sampling technique.
Data were collected by self
administered
questionnaire from 25th January to 28th
February, 2015. Descriptive statistics and
Multiple Regression Analysis were used for
data analysis. The results found 51.2% of
the elderly had a high level of life stability,
47.2% were at moderate level, and 0.6% were
at low level. The elderly had a high level of
life stability in residence and environmental
stability (63.5%), stability in physical health
(57.3), social stability (47.7%), and economic
stability (35.7%) respectively. Factors predicting
life stability among the elderly after retirement
(p<0.05) were life preparing for retirement
and social support. These two factors could
predict 47.5% of life stability. The fi ndings
from this study can be used as a guide for
life stability planning by enhancing social
support and emphasizing people to prepare
for retirement. These could make the elderly
properly adapt themselves and have good
life stability