Publication: ผลของการศึกษาวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขในการดําเนินชีวิตของนักศึกษาพยาบาล
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ. เพิ่มเติม 2), ฉบับที่ 3 (ก.ค - ก.ย. 2554), 151-159
Suggested Citation
พวงเพชร เกษรสมุทร, Phuangphet Kaesornsamut, วรรณา คงสุริยะนาวิน, Wanna Kongsuriyanavin, อรุณรัศมี บุนนาค, Aroonrasamee Bunnag, อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, Arunrat Srichantaranit, กาญจนา ครองธรรมชาติ, Kanjana Krongthammachart, กลิ่นชบา สุวรรณรงค์, Klinchaba Suvarnarong ผลของการศึกษาวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขในการดําเนินชีวิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ. เพิ่มเติม 2), ฉบับที่ 3 (ก.ค - ก.ย. 2554), 151-159. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8772
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของการศึกษาวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขในการดําเนินชีวิตของนักศึกษาพยาบาล
Alternative Title(s)
Effects of Studying a Course of Self-Development follow the Principle of Religion on Self-Esteem and Happiness in Nursing Students
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการศึกษาวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขในการดําเนินชีวิตของนักศึกษาพยาบาล
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ของคณะพยาบาลศาสตร์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จํานวน 127 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เลือกเรียนวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนา จํานวน 66 คน เข้าเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้งๆ ละ 4 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และเข้าร่วมกิจกรรมฝึกจิตให้เกิดปัญญา เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน รวมเวลาทั้งสิ้น 54 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมเลือกเรียนวิชาเลือกอื่น จํานวน 61 คน กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับการประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง และดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอนของวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนา พบว่านักศึกษาที่เข้าเรียนวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนา เห็นคุณค่าในตนเอง และมีความสุขเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการเข้าเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และมากกว่านักศึกษาที่เลือกเรียนวิชาเลือกอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการเข้าเรียนวิชาการพัฒนาตนตามหลักศาสนา มีประโยชน์ในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองและช่วยเพิ่มความสุขในการดําเนินชีวิตให้แก่นักศึกษาพยาบาล จึง
ควรสนับสนุนให้นักศึกษาพยาบาลทุกคนมีโอกาสเข้าเรียนวิชานี้
Purpose: This research aimed to investigate the effects of studying a course of self-development follow the principle of religion on self-esteem and happiness in nursing students. Design: A quasi- experimental study design.Methods: A study sample consisted of 127 third year nursing students from a faculty of nursing in Bangkok. They were divided into intervention (n = 66) and control group (n = 61). The intervention group attended a 54-hour course of self-development follow the principle of religion. The control group attended another courses. The research instruments included a student information form, a self-esteem questionnaire, and a happiness index. For both intervention and control groups, a set of questionnaires were administered at baseline and after the completion of the course. Descriptive statistics and t-test were used for data analysis.Main findings: Upon completion of the self-development course, nursing students participating in the course had significantly increased self esteem and happiness when compared to those in the control group.Conclusion and recommendations: The findings support the benefits of the course of self-development follow the principle of religion for enhancing the self-esteem and happiness in nursing students. Encouraging the nursing students to enroll this course is highly recommended.
Purpose: This research aimed to investigate the effects of studying a course of self-development follow the principle of religion on self-esteem and happiness in nursing students. Design: A quasi- experimental study design.Methods: A study sample consisted of 127 third year nursing students from a faculty of nursing in Bangkok. They were divided into intervention (n = 66) and control group (n = 61). The intervention group attended a 54-hour course of self-development follow the principle of religion. The control group attended another courses. The research instruments included a student information form, a self-esteem questionnaire, and a happiness index. For both intervention and control groups, a set of questionnaires were administered at baseline and after the completion of the course. Descriptive statistics and t-test were used for data analysis.Main findings: Upon completion of the self-development course, nursing students participating in the course had significantly increased self esteem and happiness when compared to those in the control group.Conclusion and recommendations: The findings support the benefits of the course of self-development follow the principle of religion for enhancing the self-esteem and happiness in nursing students. Encouraging the nursing students to enroll this course is highly recommended.