Publication: การใช้สัปดาห์บูรณาการการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะทางวิชาการและการพัฒนาตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษา
Issued Date
2553
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-1678
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 3 (2553), 291-301
Suggested Citation
สุปรียา ตันสกุล, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, Supreya Tansakul, Paranee Vatanasomboon การใช้สัปดาห์บูรณาการการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะทางวิชาการและการพัฒนาตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 3 (2553), 291-301. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2188
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การใช้สัปดาห์บูรณาการการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะทางวิชาการและการพัฒนาตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษา
Alternative Title(s)
Using the integrated learning week to improve learning abilities on academic skills and self development among students of bachelor of science in public health program, major in health education
Corresponding Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบสัปดาห์บูรณาการการเรียนรู้ในแง่ของความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะทางวิชาการและด้านการพัฒนาตน รูปแบบการเรียนการสอนนี้
ออกแบบขึ้นสําหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเอกสุขศึกษาเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งจัดโอกาสให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในแต่ละวิชาที่ได้เรียนมาแล้วเป็นเวลา 2 สัปดาห์ในช่วงสุดท้ายของภาคการศึกษาที่หนึ่ง กิจกรรมเรียนรู้ออกแบบบนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และแนวคิดการเรียนรู้บนฐานสมอง (Brain-Based Learning) ใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทํางานกลุ่ม การนําเสนองาน การให้ข้อมูลป้อนกลับ การกํากับชี้แนะและการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ ผลการประเมินแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่พัฒนาขึ้น คะแนนประเมินตนเองเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะทางวิชาการและด้านการพัฒนาตนของนักศึกษาก่อนและหลังเข้าร่วมสัปดาห์บูรณาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยนักศึกษาทั้งหมดมีคะแนน
ความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะทางวิชาการเพิ่มขึ้น ขณะที่ประมาณร้อยละ 77 มีคะแนนความสามารถในการเรียนรู้ด้านการพัฒนาตนเพิ่มขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนที่ประสบความสําเร็จและข้อเรียนรู้ที่ได้รับได้นํามาใช้และกําหนดให้อยู่ในตารางการเรียนการสอนประจําของภาคการศึกษาที่หนึ่งของหลักสูตร
This classroom research aimed to evaluate the outcomes of an initiate instruction - Integrated Learning Week in terms of learning abilities on academic skills and self development. The initiate instruction was designed for the fourth year students, program of Bachelor of Science in Public Health, Major in Health Education. It was 2-week learning activities carried out at the end of the first semester which provided students with an opportunity for applying knowledge they had learned from each subject. Learning activities were designed based on Constructivism and Brain-Based Learning theories, using problem-based instruction, experiential learning, self-directed study, group work, informative feedback, coaching and supportive relationship. The evaluation results demonstrated the improvement of outcomes. Self-evaluation scores of learning abilities on academic skills, and self development before and after participating in the learning weeks were significantly different. All students increased their scores of learning ability on academic skills, while about 77 percent increased their scores of self development learning abilities. This successfully instructional model and its lesson learned have been adopted and put into the routine timetable of the first semester of the program.
This classroom research aimed to evaluate the outcomes of an initiate instruction - Integrated Learning Week in terms of learning abilities on academic skills and self development. The initiate instruction was designed for the fourth year students, program of Bachelor of Science in Public Health, Major in Health Education. It was 2-week learning activities carried out at the end of the first semester which provided students with an opportunity for applying knowledge they had learned from each subject. Learning activities were designed based on Constructivism and Brain-Based Learning theories, using problem-based instruction, experiential learning, self-directed study, group work, informative feedback, coaching and supportive relationship. The evaluation results demonstrated the improvement of outcomes. Self-evaluation scores of learning abilities on academic skills, and self development before and after participating in the learning weeks were significantly different. All students increased their scores of learning ability on academic skills, while about 77 percent increased their scores of self development learning abilities. This successfully instructional model and its lesson learned have been adopted and put into the routine timetable of the first semester of the program.