Publication: ความคงที่ของการวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้ว
dc.contributor.author | มาโนช หล่อตระกูล | en_US |
dc.contributor.author | Manote Lotrakul | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-10-10T08:49:09Z | |
dc.date.available | 2022-10-10T08:49:09Z | |
dc.date.created | 2565-10-10 | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.description.abstract | การวินิจฉัยโรคเป็นขั้นตอนสำคัญในทางการแพทย์ การดูแลรักษาผู้ป่วยจะเป็นไปด้วยดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากเท่าไร ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่แม้ป่วยด้วยโรคเดียวกันแต่อาการและอาการแสดงของโรคอาจแตกต่างกันไป ในระยะแรกอาการโรคอาจไม่ชัดเจนและก้ำกึ่งระหว่างหลายๆ โรค เมื่อผ่านไประยะหนึ่งการแสดงออกของโรคชัดเจนขึ้นทำให้การวินิจฉัยแยกโรคแคบลงตามลำดับ การวินิจฉัยโรคจะมีความแม่นยำสูง หากโรคนั้นเป็นโรคที่มีสมุฏฐานโรคและพยาธิสภาพไม่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคปอดบวม การวินิจฉัยจะอาศัยข้อมูลหลักจากการเอกซเรย์ปอด และผลการตรวจเสมหะหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ มากกว่าการข้อมูลด้านการแสดงออกของอาการ ในกรณีของโรคที่มีความซับช้อน การแสดงออกของโรคมีความหลายหลาก หรือเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย การวินิจฉัยจะต้องอาศัยข้อมูลหลายๆ ด้านประกอบกันมากขึ้นตามองค์ความรู้ของโรคที่มี ได้แก่ ข้อมูลด้านพยาธิกำเนิด พยาธิสภาพ พยาธิสรีรวิทยา ความผิดปกติของผลจากห้องปฏิบัติการ การดำเนินโรค และการตอบสนองต่อการรักษา ยิ่งมีองค์ความรู้สึกถึงระดับสาเหตุโรดและพยาธิกำเนิดมากขึ้นเท่าไร การวินิจฉัยก็จะมีความแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น โดยรวมแล้ว หากใช้เกณฑ์การวินิจฉัยตามระบบมาตรฐาน โรคอารมณ์สองขั้วมีความคงที่ในการวินิจฉัยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการวินิจฉัยครั้งแรกและการวินิจฉัยครั้งสุดท้ายค่อนข้างสูงคือประมาณร้อยละ 80 และในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นอาจพบต่ำกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอื่นในบางช่วงของการกำเริบ ซึ่งบ่งว่าการแสดงออกของโรคอาจไม่เป็นตามแบบฉบับไปตลอดการดำเนินโรค และโรคจิตเวชอื่นที่พบร่วมอาจส่งผลต่อการประเมินเพื่อการวินิจฉัยได้ ในทางปฏิบัติแพทย์ควรนำข้อมูลด้านอื่นๆ เช่น อายุที่เริ่มมีอาการ อาการแสดงในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น ประวัติในญาติสายตรง ปัจจัยทางจิตสังคมที่อาจส่งผลต่อการแสตงออกของอาการ หรือการตอบสนองต่อการรักษามาพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 33, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2553), 157-159 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-3611 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2651-0561 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79864 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ความคงที่ | en_US |
dc.subject | การวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้ว | en_US |
dc.title | ความคงที่ของการวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้ว | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/138495/102948 |