Publication: อัตราคงใช้และอัตรล้มเหลวของการคุมกำเนิด : ตัวชี้วัดการให้บริการวางแผนครอบครัว
Issued Date
1999-01
Resource Type
Language
tha
Rights
Mahidol University
Bibliographic Citation
วารสารประชากรและสังคม. ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 (2542), 71-92.
Suggested Citation
วรชัย ทองไทย อัตราคงใช้และอัตรล้มเหลวของการคุมกำเนิด : ตัวชี้วัดการให้บริการวางแผนครอบครัว. วารสารประชากรและสังคม. ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 (2542), 71-92.. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2970
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
อัตราคงใช้และอัตรล้มเหลวของการคุมกำเนิด : ตัวชี้วัดการให้บริการวางแผนครอบครัว
Alternative Title(s)
Continuation and failure rates: indicators of family planning services
Author(s)
Editor(s)
Abstract
การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเฉพาะสตรีที่กำลังแต่งงาน 6,780 ราย จากตัวอย่างสตรีอายุ 15-49 ปี ทุกสถานภาพสมรส 9,558 ราย ของโครงการสำรวจภาวะคุมกำเนิดในประเทศไทย พ.ศ.2539 สำรวจโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยความพึงพอใจของผู้รับบริการคุมกำเนิดใช้วัดด้วยอัตราคงใช้ต่อปีแบบตัดขวาง (Annual Cross-Sectional Continuation Rate) ส่วนอัตราล้มเหลวต่อปีแบบตัดขวาง (Annual Cross-Sectional Failure Rate) ใช้วัดประสิทธิผลของการใช้วิธีคุมกำเนิด (Use-Efficiency) ซึ่งจะวัดเฉพาะวิธีคุมกำเนิดชั่วคราว ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด นับระยะปลอดภัย และหลั่งภายนอก
อัตราคุมกำเนิดของสตรีที่กำลังแต่งงานอายุ 15-49 ปี เท่ากับร้อยละ 72.2 ในปี พ.ศ.2539 โดยมีแบบแผนการกระจายการใช้วิธีคุมกำเนิดตามอายุ ที่ยังคงอยู่ในลักษณะของแบบแผนการใช้บริการคุมกำเนิดที่สมดุลย์ คือ การมีวิธีคุมกำเนิดให้เลือกใช้หลากหลายวิธีตามความต้องการของผู้ใช้ ผู้ใช้อายุน้อยส่วนใหญ่จะใช้วิธีคุมกำเนิดชั่วคราว และอัตราส่วนของการใช้วิธีคุมกำเนิดถาวรจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อผู้ใช้มีอายุมากขึ้น
ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคุมกำเนิดอยู่ในระดับสูง โดยอัตราคงใช้ต่อปีอยู่ระหว่างร้อยละ 67-83 ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีที่ผู้ใช้พอใจสูงสุด และต่ำสุดคือ นับระยะปลอดภัย สำหรับวิธีธรรมชาติมีผู้ใช้พอใจมากในภาคใต้ ส่วนถุงยางอนามัยเป็นที่ยอมรับและนิยมสูงสุดในกรุงเทพมหานคร ความพึงพอใจนี้มีความแตกต่างกันมากในแต่ละภาคและเขตที่อยู่อาศัย ส่วนประสิทธิผลของการใช้วิธีคุมกำเนิดพบว่า ลดลงหลายวิธี ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด และนับระยะปลอดภัย ซึ่งก็มีความแตกต่างกันในแต่ละภาคและเขตที่อยู่อาศัยเช่นกัน อันแสดงถึงความแตกต่างกันของการให้บริการในแต่ละภาคและเขตที่อยู่อาศัย ดังนั้นผู้ให้บริการจึงควรเน้นการปรับปรุงในด้านประสิทธิผลของการใช้วิธีคุมกำเนิด ในขณะเดียวกันก็ควรรักษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไว้