คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
69 หน้า, Full Text (Intranet only)
Access Rights
restricted access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
สิริจิตต์ รัตนมุสิก (2565). คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109729
Title
คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Author(s)
Author's Affiliation
Abstract
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การเสื่อมตามอายุ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ อายุที่เพิ่มมากขึ้นร่วมกับมีการสึกกร่อนจากการใช้งาน การขยับและการรับน้ำหนักในท่าทางต่าง ๆ มีผลทำให้กระดูกอ่อน ข้อต่อและโครงสร้างในข้อเข่าเกิดการเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพของประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุดเป็น 1 ใน 10 โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ (ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, 2554) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรงที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาหรือการรักษาด้วยวิธีการประคับประคองแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอาการปวดเข่า ช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเดิน เคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (Wallis & taylor, 2011; Hanusch,O'connor, lons, Scott, & Gregg,2014) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดใหญ่ ทำให้มีการบาดเจ็บและฉีกขาดของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า มีความปวดรุนแรงมากที่สุดในระยะหลังผ่าตัด เมื่อมีอาการปวดมาก ผู้ป่วยจะอยู่นิ่งๆ มีการเคลื่อนไหวลดลง โดยเฉพาะขาข้างที่ผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยออกกำลังกายเพราะกลัวเจ็บปวด ไม่กล้าลงเดิน ไม่มั่นใจในการเดิน มักลดหรือหยุดกิจกรรมในการเคลื่อนไหว เนื่องจากไม่กล้าบริหารข้อเข่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อเข่างอได้ไม่สุด และไม่สามารถเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจ ความเป็นอิสระของตนเอง ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายลดลง ในระยะยาวทำให้เกิดกล้ามเนื้อลีบและข้อติดแข็ง ส่งผลให้อยู่ในภาวะพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น นอกจากส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้วยังส่งผลต่อด้านจิตใจและสังคมด้วย (มนทกานต์ ยอดราช, 2557) ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมจะสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีขึ้นกว่าก่อนผ่าตัด เนื่องจากผิวข้อที่เสื่อมสภาพได้ถูกทดแทนด้วยผิวข้อใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดอีกต่อไป สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาส่งปรึกษากายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพข้อเข่าและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าก่อนและหลังการผ่าตัด (คู่มือการฟื้นฟูผู้สูงอายุหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า, 2558) ดังนั้น คู่มือเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อส่งเสริมการทำงานของข้อเข่าภายหลังการผ่าตัดให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น