GJ-Work Manual
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/123
Browse
Recent Submissions
Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า(2565) ณีรนุช สินธุวานนท์; อรณิช ตั้งนิรามัยโรคอัมพาตใบหน้า (Facial paralysis) หรือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (cranial nerve 7) ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง โดยส่วนมากผู้ป่วยมักอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง และร้อยละ 0.3 เกิดการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งสองข้าง ในปัจจุบันมีอัตราการเกิดโรคประมาณ 11-40 ต่อ 100,000 คนในประชากรทั่วโลก และพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-39 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ผู้ที่มีภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะครรภ์เป็นพิษและหญิงตั้งครรภ์ปกติ สาเหตุอาจเกิดได้หลายประการ เช่น เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่แตกตีบตัน มีเนื้องอกกดเบียดในเนื้อสมอง อุบัติเหตุจากศีรษะกระแทก ซึ่งเป็นการบาดเจ็บของสมองส่วนบน (Upper motor neuron) ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งมาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่างด้านตรงข้ามกับสมองที่มีความผิดปกติได้ หรือการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 80.00-90.00 โดยกลุ่มเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยคือกลุ่ม Herpes simplex หรือในบางรายไม่ทราบสาเหตุ มักพบพยาธิสภาพที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Lower motor neuron) ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงใบหน้าครึ่งซีกด้านเดียวกัน โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยักคิ้วขึ้นได้ เปลือกตาปิดไม่สนิท ในบางรายเกิดน้ำตาไหลตลอดเวลาจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตาติดเชื้อได้ บริเวณมุมปากและแก้มตกหรือเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ไม่สามารถยิ้มได้ ผู้ป่วยมักเกิดความยากลำบากในการแสดงสีหน้าอารมณ์ การสื่อสาร การบดเคี้ยวอาหาร และอาจมีการรับรู้รสชาติอาหารผิดปกติไป ถึงแม้ความผิดปกติที่เกิดจะไม่มีผลอันตรายต่อชีวิต แต่มักส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยมักมีภาวะเครียด มีความกังวลใจขณะแสดงสีหน้า อารมณ์ทางใบหน้าเกิดความไม่มั่นใจ ส่งผลให้หลีกหนีการเข้าหาสังคม การรักษาทางกายภาพบำบัดหนึ่งในสหวิชาชีพที่มีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดมีหลากหลายวิธีเช่น การประคบอุ่น การกระตุ้นไฟฟ้า การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้าเพื่อคงความสามารถในการใช้งานของกล้ามเนื้อใบหน้าและชะลอการฝ่อลีบ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย จากสถิติการให้บริการผู้ป่วยนอกของคลินิกกายภาพระบบประสาท ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีจำนวนมากเป็นอันดับสาม รองจากผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อแขนขาครึ่งซีก และผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ตามลำดับ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากรูปแบบการดำเนินชีวิต การบริโภค การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ความรุนแรงจากเชื้อโรคในปัจจุบัน รวมถึงภาวะความเครียดและการพักผ่อนที่น้อยลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง จนไม่สามารถจัดการกับเชื้อโรคที่แฝงอยู่ในร่างกายได้ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อให้นักกายภาพบำบัดหรือบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(2565) สิริจิตต์ รัตนมุสิกโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การเสื่อมตามอายุ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ อายุที่เพิ่มมากขึ้นร่วมกับมีการสึกกร่อนจากการใช้งาน การขยับและการรับน้ำหนักในท่าทางต่าง ๆ มีผลทำให้กระดูกอ่อน ข้อต่อและโครงสร้างในข้อเข่าเกิดการเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพของประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุดเป็น 1 ใน 10 โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ (ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, 2554) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรงที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาหรือการรักษาด้วยวิธีการประคับประคองแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอาการปวดเข่า ช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเดิน เคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (Wallis & taylor, 2011; Hanusch,O'connor, lons, Scott, & Gregg,2014) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดใหญ่ ทำให้มีการบาดเจ็บและฉีกขาดของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า มีความปวดรุนแรงมากที่สุดในระยะหลังผ่าตัด เมื่อมีอาการปวดมาก ผู้ป่วยจะอยู่นิ่งๆ มีการเคลื่อนไหวลดลง โดยเฉพาะขาข้างที่ผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยออกกำลังกายเพราะกลัวเจ็บปวด ไม่กล้าลงเดิน ไม่มั่นใจในการเดิน มักลดหรือหยุดกิจกรรมในการเคลื่อนไหว เนื่องจากไม่กล้าบริหารข้อเข่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อเข่างอได้ไม่สุด และไม่สามารถเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจ ความเป็นอิสระของตนเอง ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายลดลง ในระยะยาวทำให้เกิดกล้ามเนื้อลีบและข้อติดแข็ง ส่งผลให้อยู่ในภาวะพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น นอกจากส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้วยังส่งผลต่อด้านจิตใจและสังคมด้วย (มนทกานต์ ยอดราช, 2557) ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมจะสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีขึ้นกว่าก่อนผ่าตัด เนื่องจากผิวข้อที่เสื่อมสภาพได้ถูกทดแทนด้วยผิวข้อใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดอีกต่อไป สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาส่งปรึกษากายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพข้อเข่าและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าก่อนและหลังการผ่าตัด (คู่มือการฟื้นฟูผู้สูงอายุหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า, 2558) ดังนั้น คู่มือเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อส่งเสริมการทำงานของข้อเข่าภายหลังการผ่าตัดให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้นItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง แนวทางการประเมินและเตรียมอุปกรณ์ช่วยใส่ท่อหายใจลำบาก(2567) วราทิพย์ ทองเดชItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การประเมินหลอดเลือดดำฝอยเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ(2567) วราทิพย์ ทองเดชItem Metadata only คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ(2565) จิตรานันต์ กงวงษ์Item Metadata only Item Open Access คู่มือปฏิบัติงานบริการยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศระหว่างเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล(มหาวิทยาลัยมหิดล, 2017) ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ห้องสมุดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกItem Open Access คู่มือการปฏิบัติงาน การจัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการด้านการวิจัย ของหน่วยงานการศึกษา วิจัย และวิชาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล(2560) วนิดา ธนากรกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. งานการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการItem Open Access คู่มือการตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการเดินสายพาน Treadmill Exercise Stress Testสมชาย ดุษฎีเวทกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. ฝ่ายการแพทย์Item Open Access คู่มือการตรวจสมรรถภาพทางกาย และการให้โปรแกรมการออกกำลังกายผู้ป่วย คลินิกฟื้นฟูหัวใจพัชรินทร์ ดำรงพิพัฒน์กุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกItem Open Access คู่มือผู้ปฏิบัติงานการรักษาผู้ป่วยโรคติดบุหรี่โดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน(2558) อัมพร กรอบทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. ฝ่ายแพทย์ทางเลือกItem Open Access คู่มือการดูแลผู้ป่วยในคลินิกชะลอไตเสื่อม(2558) มาโนช รัตนสมปัตติกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. ฝ่ายการแพทย์Item Open Access คู่มือปฏิบัติงานแพทย์แผนจีน สำหรับบุคลากรงานการพยาบาลแพทย์ทางเลือก(2555) โชษิตา แก้วเกษ; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. ฝ่ายการพยาบาลItem Open Access คู่มือปฎิบัติการ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยที่มีความปวดจากมะเร็งประถมาภรณ์ จันทร์ทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก.ฝ่ายการแพทย์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล