Publication: การประเมินการสัมผัสแอสเบสตอสของคนงานที่ทำการรื้อถอนอาคารที่มีวัสดุแอสเบสตอสและความเข้มข้นที่ฟุ้งกระจายในสิ่งแวดล้อม
Issued Date
2551
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
2290039 bytes
Rights
Mahidol University
Bibliographic Citation
วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (2551), 198-210
Suggested Citation
ไชยนันท์ แท่งทอง, วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์ การประเมินการสัมผัสแอสเบสตอสของคนงานที่ทำการรื้อถอนอาคารที่มีวัสดุแอสเบสตอสและความเข้มข้นที่ฟุ้งกระจายในสิ่งแวดล้อม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (2551), 198-210. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2323
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การประเมินการสัมผัสแอสเบสตอสของคนงานที่ทำการรื้อถอนอาคารที่มีวัสดุแอสเบสตอสและความเข้มข้นที่ฟุ้งกระจายในสิ่งแวดล้อม
Alternative Title(s)
Asbestos Exposure Monitoring in Worker Demolished Asbestos Contained Material Building and the Concentration in Environment
Author(s)
Abstract
บทความวิจัยนี้มาจากการศึกษาและการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อวิเคราะห์การสัมผัสเส้นใยแอสเบสตอสจากการรื้อถอนอาคาร ซึ่งมีวัสดุที่มีแอสเบสตอสเป็นส่วนผสม โดยทำการเก็บตัวอย่างอากาศทั้งที่ตัวคนงานในระหว่างทำการรื้อถอนวัสดุแอสเบสตอสและในสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ซึ่งผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของเส้นใยที่คนงานได้รับสัมผัสในระหว่างการรื้อฝ้าเพดานและหลังคาและในสิ่งแวดล้อมภายในอาคารอยู่ในช่วง 0.1 - 0.4 เส้นใย/มล.อากาศ ซึ่งมีค่าสูงกว่าหรือใกล้เคียงค่ามาตรฐาน TLV 0.1 เส้นใย/มล.อากาศ จัดว่าเป็นระดับความเข้มข้นที่มีอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นคนงานที่ทำงานดังกล่าวและในบริเวณใกล้เคียงควรทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อลดการฟุ้งกระจายของเส้นใยแอสเบสตอส นอกจากนี้ยังพบว่าการรื้อฝ้าเพดานจำทำให้เกิดการสัมผัสเส้นใยแอสเบสตอลมากกว่าการรื้อหลังคา เนื่องจากลักษณะการทำงานที่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของเส้นใยมากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับความเข้มข้นของเส้นใยในบรรยากาศบริเวณรอบๆ อาคารพบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานดังกล่าว จากผลการวิจัยดังกล่าวทำให้ทราบว่าประเทศไทยควรมีการดำเนินการศึกษาผลของการฟุ้งกระจายแอสเบสตอสที่เกิดจากการรื้อถอนอาคารอย่างจริงจัง เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรฐานการรื้อถอนอาคารเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานต่อไป
This research come from the study of air sampling analysis and exposure of asbestos from the demolition of Building which contained asbestos material (such as ceiling and roof) by using both of personal and environment air samples. The result of fiber concentration of personal air sample attached to the ones who work with asbestos material (eg. remove ceiling and roof) and the environment air sample inside the building were 0.1-0.4 fiber/mL. which were higher or close to that of ACGIH standard, 0.1 fiber/mL., that showed the potential of risk to impair health of workers. Workers should change their methods to lower the blow out of asbestos and also wear the appropriate PPE. However, the asbestos fiber content in air sample of the atmosphere outside the building was found to be lower than that of ACGIH standard. From this result, it show that Thailand should do more research about the exposure of asbestos from demolition of old building to set proper control measures for safety of the workers.
This research come from the study of air sampling analysis and exposure of asbestos from the demolition of Building which contained asbestos material (such as ceiling and roof) by using both of personal and environment air samples. The result of fiber concentration of personal air sample attached to the ones who work with asbestos material (eg. remove ceiling and roof) and the environment air sample inside the building were 0.1-0.4 fiber/mL. which were higher or close to that of ACGIH standard, 0.1 fiber/mL., that showed the potential of risk to impair health of workers. Workers should change their methods to lower the blow out of asbestos and also wear the appropriate PPE. However, the asbestos fiber content in air sample of the atmosphere outside the building was found to be lower than that of ACGIH standard. From this result, it show that Thailand should do more research about the exposure of asbestos from demolition of old building to set proper control measures for safety of the workers.