Publication: ประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 ( ก.ค. - ก.ย. 2554), 74-82
Suggested Citation
วัชรี วรากุลนุเคราะห์, Watcharee Waragulnukroh, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, Sudaporn Payakkaraung, วิลาวัณย์ อาชวกุลเทพ, Wilawan Achawakulthep, ลักษณา บุญประคอง, Luksana Bunprakong ประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 ( ก.ค. - ก.ย. 2554), 74-82. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3424
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Alternative Title(s)
Pain Experience in Patients Undergoing Total Knee Replacement
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: พบว่าประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใน 3 ประเด็น ประเด็นหลักที่ 1 ประสบการณ์ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมีความรู้สึกชาที่ขาในวันแรกจากการได้รับยา ระงับความรู้สึกแบบ spinal block และเมื่อหายชาจึงเริ่มปวดแผลผ่าตัดปวดมากในวันที่ 1 หลังผ่าตัดและปวดนานถึงสามวันหลังผ่าตัดโดยความปวดค่อยๆ ลดลง และ 2) มีอาการเมื่อยหงุดหงิดนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นวงจรของความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน ประเด็นหลักที่ 2 ประสบการณ์การฟื้นหายจากความเจ็บปวด ได้แก่ 1) การจัดการความเจ็บปวดทำได้โดยบุคลากรทางการแพทย์และตัวผู้ป่วยและญาติ 2) ท่าบริหารบางท่าทำให้ปวดมาก และ 3) การใช้เจลเย็นบริเวณเข่าที่ผ่าตัดประคบหลังจากออกกำลังกายช่วยลดบวม และลดปวดได้ และประเด็นหลักที่ 3 ประสบการณ์การได้รับข้อมูล ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมและให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดช่วยลดความวิตกกังวลและ 2) ความต้องการได้รับข้อมูลอีกแม้เคยได้รับมาแล้ว ข้อเสนอแนะ: ควรมีการพัฒนาแนวทางในการดูแลและจัดการกับความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Purpose: To explore the pain experience of patients with total knee replacement.Design: A qualitative research design was employed.Methods: The participants were 16 Thai patients with total knee replacements, and recruited by purposive sampling. Data were gathered through in-depth interviews and analyzed by content analysis. Main findings: Three main themes arose regarding the pain experience of patients with total knee replacements: The first involved two categories of postoperative pain experience: 1) numbness of leg by spinal block on the first day, pain on the next day until the third day postoperatively; and 2) the cycle of pain and distress, including feelings of immobilization, nervousness and sleeplessness. The second theme involved three categories of pain relief experience: 1) pain management created by healthcare professionals, patient, and caregiver; 2) some postures in exercise increasing pain intensity; and 3) cold gel alleviating pain and swelling around the knee replacement. The third theme was information receiving experience consisting of two categories: 1) preoperative information decreasing anxiety; and 2) needing information again in the postoperative phase.Conclusion and recommendations: Health professionals should develop and implement a nursing guideline to effectively care and management of pain for patients with total knee replacements.
Purpose: To explore the pain experience of patients with total knee replacement.Design: A qualitative research design was employed.Methods: The participants were 16 Thai patients with total knee replacements, and recruited by purposive sampling. Data were gathered through in-depth interviews and analyzed by content analysis. Main findings: Three main themes arose regarding the pain experience of patients with total knee replacements: The first involved two categories of postoperative pain experience: 1) numbness of leg by spinal block on the first day, pain on the next day until the third day postoperatively; and 2) the cycle of pain and distress, including feelings of immobilization, nervousness and sleeplessness. The second theme involved three categories of pain relief experience: 1) pain management created by healthcare professionals, patient, and caregiver; 2) some postures in exercise increasing pain intensity; and 3) cold gel alleviating pain and swelling around the knee replacement. The third theme was information receiving experience consisting of two categories: 1) preoperative information decreasing anxiety; and 2) needing information again in the postoperative phase.Conclusion and recommendations: Health professionals should develop and implement a nursing guideline to effectively care and management of pain for patients with total knee replacements.
Sponsorship
ทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเพื่อพัฒนาการพยาบาลศิริราช