Publication: Factors Related to Quality of Life among Persons with End Stage Renal Disease Receiving Hemodialysis
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
Journal of Nursing Science. Vol.35(Suppl.1), No. 3 (July - September 2017), 22-30
Suggested Citation
Vu Dinh Tien, อรพรรณ โตสิงห์, Orapan Thosingha, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, Wimolrat Puwarawuttipanit Factors Related to Quality of Life among Persons with End Stage Renal Disease Receiving Hemodialysis. Journal of Nursing Science. Vol.35(Suppl.1), No. 3 (July - September 2017), 22-30. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44081
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Factors Related to Quality of Life among Persons with End Stage Renal Disease Receiving Hemodialysis
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด
Abstract
Purpose: To determine the relationships between co-morbidity, social support, symptom status, and quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis.
Design: Descriptive correlational research.
Methods: The sample composed of 115 persons with end stage renal disease receiving hemodialysis in a tertiary care hospital in Hanoi, Vietnam. Data were collected using the patients’ hospital record and interview with 3 questionnaires: The Multidimensional Scale Perceived Social Support, the Edmonton Symptom Assessment System Scale, and the Kidney Disease Quality of Life-Short Form 36 Scale. Spearman’s Rho was employed to test the relationships among variables.
Main findings: The findings revealed that the average score of quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis was 45.53 (SD = 13.20), 62.61% of those had score of quality of life below average level. Co-morbidity and symptom status were negatively related to QOL (rs = - .46, - .67, p < .05). Social support was positively related to quality of life among persons with end stage renal disease (rs = .63, p < .05).
Conclusion and recommendations: In order to improve quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis, it is recommended that nurses should assess and manage patients’ symptoms, control their co-morbidity, and seek appropriate resources to support them.
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม การสนับสนุนทางสังคม และอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายจำนวน 115 คนที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยโรคไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล การวินิจฉัยโรค โรคร่วมและการรักษาจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วย และใช้แบบสอบถาม 3 ชุดในการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ประกอบด้วย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไต ใช้สถิติ Spearman’s Rho ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนคุณภาพชีวิตเท่ากับ 45.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.20 ร้อยละ 62.61 ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย การมีโรคร่วม และอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต (rs = - .46, rs = - .67) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต (rs = .63) สรุปและข้อเสนอแนะ: เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พยาบาลควรประเมินและจัดการกับอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย ควบคุมความรุนแรงของโรคร่วมและแสวงหาแหล่งสนับสนุนที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม การสนับสนุนทางสังคม และอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายจำนวน 115 คนที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยโรคไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล การวินิจฉัยโรค โรคร่วมและการรักษาจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วย และใช้แบบสอบถาม 3 ชุดในการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ประกอบด้วย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไต ใช้สถิติ Spearman’s Rho ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนคุณภาพชีวิตเท่ากับ 45.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.20 ร้อยละ 62.61 ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย การมีโรคร่วม และอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต (rs = - .46, rs = - .67) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต (rs = .63) สรุปและข้อเสนอแนะ: เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พยาบาลควรประเมินและจัดการกับอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย ควบคุมความรุนแรงของโรคร่วมและแสวงหาแหล่งสนับสนุนที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย