มิติใหม่แห่งการจองคิว “จองคิว แบบไม่รอคิว”ด้วย Application QueQ
Issued Date
2562
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
พิมพิไร สุพัตร (2562). มิติใหม่แห่งการจองคิว “จองคิว แบบไม่รอคิว”ด้วย Application QueQ. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48351
Title
มิติใหม่แห่งการจองคิว “จองคิว แบบไม่รอคิว”ด้วย Application QueQ
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
งานเทคโนโลยีการศึกษา หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบริการทบทวนบทเรียนย้อนหลัง (e-lecture) ซึ่งเป็นบริการที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างมากทำให้มีนักศึกษาจำนวนมากใช้บริการในช่วงก่อนสอบกลางภาคและปลายภาค จึงทำให้เกิดการจองคิวขึ้นโดยนักศึกษาลงชื่อผู้เข้าใช้ในแบบฟอร์ม และเขียนหมายเลขคิวตามลำดับจากแบบฟอร์ม หลังจากนั้นผู้ใช้บริการรอเรียกคิว ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการต้องใช้เวลานานเพื่อรอลงชื่อลงในแบบฟอร์ม และรอเรียกคิวจากผู้ให้บริการ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการไม่สามารถไปทำธุระส่วนตัวได้ในระหว่างนั้น เนื่องจากถ้าผู้ให้บริการเรียกคิวแล้วไม่ผู้พบผู้ใช้บริการในหมายเลขการจองคิวนั้น จะทำให้เสียสิทธิการเข้าใช้บริการในช่วงเวลานั้นไป เป็นผลทำให้การประเมินผลความพึงพอใจต่อการเข้าใช้บริการ e-lecture ในปีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้ใช้บริการส่วนมากประสบปัญหาการรอคิวการเข้าใช้บริการเป็นจำนวนมาก จึงนำไปสู่การพัฒนาการจัดการคิวในรูปแบบใหม่ด้วยการประยุกต์นำเทคโนโลยี Application QueQ ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันมาใช้ปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาทุกชั้นปีของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต้องการจองคิวเข้าใช้บริการ e-lecture และเพื่อลดขั้นการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการให้มีระบบมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยลดปัญหาการรอคิวเป็นเวลานานของนักศึกษาที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไข โดยการศึกษาขั้นตอนการทำงานของ Application QueQ และนำไปสู่การทดสอบใช้ปฏิบัติงานจริงพร้อมจัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจแก่นักศึกษาจำนวน 126 คน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (4.52) เมื่อนำApplicationไปใช้งานจริงมีจำนวนผู้เข้าใช้บริการเกินค่าเป้าหมายในช่วงระยะเวลา 8 เดือน ถึง 21,864 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 728 จากค่าเป้าหมาย 3,000 ครั้ง ดังนั้น การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา ทำให้ประสบผลสำเร็จเกินค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้บริการ e-lecture อีกทั้งยังทำให้งานบริการทางด้านการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานบริการต่าง ๆ ที่กำลังประสบปัญหาเดียวกันได้ในอนาคต
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน Mahidol Quality Fair 2019: “Innovative Organization : องค์การแห่งนวัตกรรม” November 26, 2019, Prince Mahidol Hall