Publication: การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ถุงโพลิเอททิลีนและเครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสีต่ออุณหภูมิกายของทารกคลอดครบกำหนด
Issued Date
2552
Resource Type
Language
tha
ISSN
0858-9739 (Print)
2672-9784 (Online)
2672-9784 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2552), 373-384
Suggested Citation
ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร, นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ, Piyaporn Punyavachira, Nitaya Rotjananirunkit การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ถุงโพลิเอททิลีนและเครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสีต่ออุณหภูมิกายของทารกคลอดครบกำหนด. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2552), 373-384. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52545
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ถุงโพลิเอททิลีนและเครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสีต่ออุณหภูมิกายของทารกคลอดครบกำหนด
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิด
ในการป้องกันการสูญเสียความร้อนของทารกแรกเกิด 2 วิธี ระหว่างวิธีห่อตัวทารกแรกเกิดด้วย
ถุงโพลิเอททิลีนร่วมกับผ้าห่มและวิธีให้นอนภายใต้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี กลุ่มตัวอย่าง
คือ ทารกแรกเกิดครบกำหนดที่คลอดในห้องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 60 ราย แบ่งเป็น
2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย โดยการสุ่มเข้ากลุ่มด้วยวิธีจับฉลาก กลุ่มที่ 1 ทารกได้รับการใส่เสื้อและ
ผ้าอ้อมที่อุ่นห่อตัวด้วยถุงโพลิเอททิลีนแล้วคลุมด้วยผ้าห่มอีกชั้นวางที่เตียงสำหรับทารก กลุ่มที่
2 ทารกได้รับการใส่เสื้อและผ้าอ้อมที่อุ่น แล้ววางนอนภายใต้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดในระยะ 2 ชั่วโมงของการทดลองทั้ง
สองกลุ่มอยู่ในระดับปกติ แต่ค่าเฉลี่ยของผลต่างอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดที่ 1 นาทีกับ
30 นาที และ 1 นาทีกับ 60 นาทีของกลุ่มที่ 2 ลดน้อยกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่ง
หมายความว่าทั้งสองกลุ่มสามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดให้อยู่ในระดับปกติได้ แต่
กลุ่มที่ใช้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสีรักษาอุณหภูมิได้ดีกว่ากลุ่มที่ใช้ถุงโพลิเอททิลีนร่วม
กับผ้าห่มเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยผลต่างของอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดที่ 1 นาที กับ
90 นาที และ 1 นาที กับ 120 นาทีระหว่างทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
จากการศึกษาแสดงว่าการป้องกันการสูญเสียความร้อนของทารกแรกเกิดโดยวิธีห่อตัวทารกแรกเกิด
ด้วยถุงโพลิเอททิลีนร่วมกับคลุมด้วยผ้าห่มที่อุณหภูมิห้องมากกว่า 26 องศาเซลเซียส เป็นวิธีที่
สามารถทดแทนการให้ทารกแรกเกิดนอนภายใต้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี ในสถานที่ที่
ไม่มีเครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสีได้โดยรักษาอุณหภูมิร่างกายของทารกได้อย่างเหมาะสม
The purpose of this quasi experimental research was to compare the body temperature of newborns between keeping warm by using a polyethylene bag with blanket and by placing newborns under a radiant warmer. Random sampling was used to select 60 full-term newborns in the labor room at Ramathibodi Hospital. The subjects were equally, randomly assigned into two groups. The first group was kept warm by being wrapped with a polyethylene bag and covered with a blanket in the crib, while the second group was placed under a radiant warmer. The labor room temperature was controlled at 26 ํC or higher. The results revealed that the mean body temperature of the newborns between two groups were normal during the first 2 hours after birth. However, the mean changes of body temperature in the radiant warmer group from baseline (1 minute after birth) to 30 minutes and to 60 minutes after birth decreased significantlyless than those in the polyethylene bag group. This finding indicates that the group placed under the radiant warmer could keep temperature slightly better than that using the polyethylene bag with blanket. However, they became not significantly different between both groups at 90 minutes and 120 minutes after birth. The finding of the study suggested that when the radiant warmer is unavailable, nurses can keep the newborn warm by using a polyethylene bag with blanket at least 2 hours after birth in order to prevent heat loss and should control the labor room temperature at higher than 26 ํC.
The purpose of this quasi experimental research was to compare the body temperature of newborns between keeping warm by using a polyethylene bag with blanket and by placing newborns under a radiant warmer. Random sampling was used to select 60 full-term newborns in the labor room at Ramathibodi Hospital. The subjects were equally, randomly assigned into two groups. The first group was kept warm by being wrapped with a polyethylene bag and covered with a blanket in the crib, while the second group was placed under a radiant warmer. The labor room temperature was controlled at 26 ํC or higher. The results revealed that the mean body temperature of the newborns between two groups were normal during the first 2 hours after birth. However, the mean changes of body temperature in the radiant warmer group from baseline (1 minute after birth) to 30 minutes and to 60 minutes after birth decreased significantlyless than those in the polyethylene bag group. This finding indicates that the group placed under the radiant warmer could keep temperature slightly better than that using the polyethylene bag with blanket. However, they became not significantly different between both groups at 90 minutes and 120 minutes after birth. The finding of the study suggested that when the radiant warmer is unavailable, nurses can keep the newborn warm by using a polyethylene bag with blanket at least 2 hours after birth in order to prevent heat loss and should control the labor room temperature at higher than 26 ํC.