Publication: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2560
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 4, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 136-159
Suggested Citation
ศศิธร บูรณ์เจริญ, Sasithorn Booncharoen ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 4, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 136-159. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/55106
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Factors related to the decision for The Masters degree program of Faculty of Public Health, Mahidol University
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทมีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของประเทศประการหนึ่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทหลายสาขา อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะยังไม่ทราบแน่ชัด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยศึกษาในนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุ่มตัวอย่างแบบตาราง จำนวน 138 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.8 แบ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 86 คน (ร้อยละ 57.8) และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จำนวน 52 คน (ร้อยละ 42.2) ผลการประเมินผลความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขสาสตร์ พบว่า นักศึกษาสนใจศึกษาต่อ ร้อยละ 25.40 ในจำนวนนี้ต้องการศึกษาในภาคปกติร้อยละ 71.4 และภาคพิเศษร้อยละ 28.6 และผลศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท 9 ด้าน พบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ซึ่งการจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการปฏิบัติงานจริง ได้ค่าคะแนนสูงสุดเฉลี่ย 4.56 ตามด้วยปัจจัยด้านบุคลากร โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.54) และปัจจัยด้านความเชื่อถือของสถาบัน (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.50) ผลการวิเคราะห์ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับ เพศ อายุ ภูมิลำเนา อาชีพบิดาและมารดา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว หลักสูตรและสาขาวิชาที่กำลังศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา
ดังนั้น จากปัจจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาอาจารย์ ซึ่งต้องพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สมัครเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป
Studying in a post-graduate program is an important institutional capacity building of personnel. Faculty of Public Health, Mahidol University offer many Master Degrees’ programs have not been elucidated. This research study therefore aimed to identify the factors that impact on the decision making to study in the Programs. One hundred and thirty eight students of the fourth year undergraduates, Faculty of Public Health, Mahidol University were grid sampled, composed of 76.8 percent females. Eighty six students (or 57.8%) had been studying in B.Sc. (Public Health) and 52 (42.2%) in B.Sc. (Occupational Health and Safety). Results showed that 25.4% of students intended to study in a high level, of who 71.4% wanted to study in regular program and 28.6% in special program. Of the 9 factors, the factor of course organization, particularly on student’ center basis and practice ( scores, 4.56) was most impact followed by the expertise of instructors (4.54 scores) and the institutional reliability (4.50 scores). However, gender, age, residence location, occupation of parents, family incomes, kinds of program and field, and GPA were not significantly correlated. Therefore, those important factors reflected to the needs of students to study in the Master Degrees’ programs and for the Faculty to improve the teaching and learning management and the instructors’ quality for the confidence of future students.
Studying in a post-graduate program is an important institutional capacity building of personnel. Faculty of Public Health, Mahidol University offer many Master Degrees’ programs have not been elucidated. This research study therefore aimed to identify the factors that impact on the decision making to study in the Programs. One hundred and thirty eight students of the fourth year undergraduates, Faculty of Public Health, Mahidol University were grid sampled, composed of 76.8 percent females. Eighty six students (or 57.8%) had been studying in B.Sc. (Public Health) and 52 (42.2%) in B.Sc. (Occupational Health and Safety). Results showed that 25.4% of students intended to study in a high level, of who 71.4% wanted to study in regular program and 28.6% in special program. Of the 9 factors, the factor of course organization, particularly on student’ center basis and practice ( scores, 4.56) was most impact followed by the expertise of instructors (4.54 scores) and the institutional reliability (4.50 scores). However, gender, age, residence location, occupation of parents, family incomes, kinds of program and field, and GPA were not significantly correlated. Therefore, those important factors reflected to the needs of students to study in the Master Degrees’ programs and for the Faculty to improve the teaching and learning management and the instructors’ quality for the confidence of future students.