การสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย
Issued Date
2547
Resource Type
Language
tha
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
เนาวรัตน์ เจริญค้า, นิภาพรรณ กังสกุลนิติ, ธราดล เก่งการพานิช, วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, ณัฐจาพร พิชัยณรงค์, พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ, พัชราพร เกิดมงคล, สตีเฟ่น ฮาแมนน์, Naowrut Charoenca, Nipapun Kungskulniti, Tharadol Kengganpanich, Wilai Kusolwisitkul, Natchaporn Pichainarong, Pimpan Silpasuwan , Patcharaporn Kerdmongkol (2547). การสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59360
Title
การสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Smoking prevalence among monks in Thailand
Author(s)
เนาวรัตน์ เจริญค้า
นิภาพรรณ กังสกุลนิติ
ธราดล เก่งการพานิช
วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล
ณัฐจาพร พิชัยณรงค์
พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ
พัชราพร เกิดมงคล
สตีเฟ่น ฮาแมนน์
Naowrut Charoenca
Nipapun Kungskulniti
Tharadol Kengganpanich
Wilai Kusolwisitkul
Natchaporn Pichainarong
Pimpan Silpasuwan
Patcharaporn Kerdmongkol
นิภาพรรณ กังสกุลนิติ
ธราดล เก่งการพานิช
วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล
ณัฐจาพร พิชัยณรงค์
พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ
พัชราพร เกิดมงคล
สตีเฟ่น ฮาแมนน์
Naowrut Charoenca
Nipapun Kungskulniti
Tharadol Kengganpanich
Wilai Kusolwisitkul
Natchaporn Pichainarong
Pimpan Silpasuwan
Patcharaporn Kerdmongkol
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยา
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยา
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข
Abstract
ศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อชีวิตคนไทยโดยส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องจาก ร้อยละ 90 ของคนไทยนับถือ
ศาสนาพุทธ ในอดีตที่ผ่านมา การสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ทั่วประเทศยังได้รับความสนใจน้อยมาก เมื่อปี 2536 ได้มีการศึกษาในพระภิกษุสงค์จำนวน 678 รูปจากวัด 48 แห่งในภาคกลาง พบว่าพระภิกษุที่สูบบุหรี่มีร้อยละ 55 ซึ่งตัวเลขอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์นี้ชี้ให้เห็นว่ายังเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง แต่การศึกษาในปี 2536 นั้น จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคเดียวของประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2544 อัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในชายไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.3 สืบเนื่องจากข้อมูลจากการศึกษาในปี 2536 ยังมิได้เป็นตัวแทนที่แท้จริงของพระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศ และ มีการลดลงของความชุกในการสูบบุหรี่ของชายไทยซึ่งย่อมรวมถึงพระภิกษุสงฆ์ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาสำรวจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้ทราบถึงความชุกของการสูบบุหรี่ในหมู่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งน่าจะมีการลดลงด้วย
หน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพอนามัยของพระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลสงฆ์ในกรุงเทพมหานครนั้น ตระหนักดีว่าโรคที่เกี่ยวข้องการการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการอาพาธและมาณภาพของพระภิกษุสงฆ์ แม้ว่าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดให้มีโครงการวัดปลอดบุหรี่ และโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ก็ไม่ได้มีข้อมูลเบื้องต้นของความชุกในการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์
โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อโดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) จึงได้มีการศึกษาสำรวจความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ครั้งนี้ขึ้นในการนี้นักวิจัยได้นำข้อมูลสถิติ และ การแบ่งส่วนการปกครองของสงฆ์จากมหาเถรสมาคม และกรมการศาสนา มากำหนดการสุ่มตัวอย่างให้เป็นเป็นระบบตามโครงสร้างของแต่ละภาค เพื่อให้ได้จำนวนตัวอย่างที่เพียงพอ และเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร โดยได้สำรวจพระภิกษุสงฆ์สามเณรจำนวน 6,213 รูปถึงสถานการณ์และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป้าหมายของการศึกษาเพื่อหาความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์และทราบถึงลักษณะแบบแผนการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์รวมทั้งความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ต่อการสูบบุหรี่คณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นช่วงระหว่างเวลาเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัด ข้อมูลจากการสำรวจได้มีการตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ
ผลจากการสำรวจพบว่าอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ในภาพรวมของทั้งประเทศเป็นร้อยละ 24.4 โดยแตกต่างกันสำหรับแต่ละภาค คืออยู่ในช่วงร้อยละ 14.6 สำหรับภาคเหนือ ถึงร้อยละ 40.5 ในภาคตะวันออก ภาคที่มีอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ค่อนข้างสูง ได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้และ กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 40.5, 40.2, 33.5, และ 29.7 ตามลำดับ) ส่วนภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ มีอัตราความชุกเป็น 22.8, 20.4, และ 14.6 ตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่าภาคที่มีอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ค่อนข้างสูงนั้นส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุมากกว่าสามเณร และเป็นพระที่ค่อนข้างมีอายุ แม้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะทราบและตระหนักถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในศาสนสถาน ผลที่มีต่อสุขภาพ และภาพลักษณ์ในทางลบของการสูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีพระสงค์จำนวนมากที่ยังติดบุหรี่อยู่ ซึ่งอาจเป็นความแตกต่างระหว่างลักษณะการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ในเขตเมืองกับเขตชนบท พระสงฆ์ที่สูบบุหรี่มากกว่าร้อยละ 90 รายงานว่าเริ่มสูบบุหรี่มาตั้งแต่ก่อนบวช
พระสงฆ์ที่มาจากภาคที่มีความชุกของการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูงมีระดับของการติดบุหรี่สูงกว่าภาคอื่นๆ คือต้องสูบบุหรี่มวนแรกหลังจากตื่นนอน ภายในครึ่งชาวโมง เหตุผลที่สูบบุหรี่เนื่องมาจากความเครียด และรายงานว่าการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ มากกว่าพระสงฆ์ที่มาจากภาคที่มีความชุกต่ำ
ประมาณร้อยละ 60 ของพระสงฆ์ที่เคยสูบบุหรี่ เลิกสูบในระหว่างที่ยังบวชอยู่ ส่วนใหญ่เลิกมาได้เกินกว่า 5 ปี แล้ว โดยใช้ความพยายาม 1-2 ครั้งจึงเลิกได้สำเร็จ และเคยได้รับคำแนะนำจากพระรูปอื่น ญาติโยม และแพทย์/พยาบาล พระสงฆ์ส่วนใหญ่ใช้วิธีเลิกด้วยตนเอง หรือ ค่อยๆลดจำนวนบุหรี่ที่สูบลง
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ อายุ สถานภาพ (พระภิกษุ/สามเณร) ระยะเวลาที่บวช และประเภทวัด (พระอารามหลวง/วัดราษฎร์) พระสงฆ์ที่ทีระดับการศึกษาทางโลกสูง มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่น้อย พระสงฆ์ส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ก่อนบวช และพระสงฆ์ที่เคยสูบบุหรี่ร้อยละ 60 เลิกสูบบุหรี่ในขณะที่ยังบวชอยู่ พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ประมาณร้อยละ 44 ของพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ให้เหตุผลว่าไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้เนื่องจากไม่ทราบวิธีและไม่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ในหนึ่งปีที่ผ่านมามีพระสงฆ์ร้อยละ 52 เคยพยายามเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงว่าในประชาชนทั่วไป ร้อยละ 72.5 ของพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ พระสงฆ์ที่สำรวจในการศึกษาครั้งร้อยละ 80 เสนอให้มีการรณรงค์ไม่ให้ญาติโยมถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์ และอีกร้อยละ 91 เสนอให้ส่งเสริมพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่อยู่ให้เลิกสูบ
Sponsorship
ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิร็อดกี้เฟลเลอร์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)