รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเรื่องการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่และการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
วันเพ็ญ แก้วปาน, ปาหนัน พิชยภิญโญ, มลินี สมภพเจริญ, Wonpen Kaewpan, Panan Pitchayapinyo , Malinee Sompopcharoen (2554). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเรื่องการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่และการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59364
Title
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเรื่องการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่และการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
ปัญหาการสูบบุหรี่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขเพราะมีผลกระทบต่อชีวิต สังคม เศรษฐกิจทั้งระดับ
บุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศในภูมิภาคและทั่วโลก กลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนสูบบุหรี่โดยมีกลไกดำเนินงานหลายแนวทาง การจำหน่ายสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ในสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์
ยาสูบ เป็นวิธีการหนึ่งที่กระตุ้นการรับรู้ของบุคคลให้จดจำและสนใจบุหรี่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน
วรรณกรรรมจากระบบฐานข้อมูล PUBMED MEDILINE และ SCOPUS ระหว่างปี ค,ศ, 1991 - 2011 และภาษาไทย และสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ ราคาจำหน่าย และความนิยมต่อสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจบริเวณร้านค้าหาบเรแผงลอย ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป รวมทั้งหมด 15 จุด ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประตูน้ำ สยาม สีลม มาบุญครองง สุขุมวิท จตุจักร ถนนข้าวสาร คิงเพาวเวอร์ เซ็นทรัล สำเพ็ง
คลองถม เยาวราช บางแค เขตป้อมปราบศัตรู่พ่าย และสะพานพุทธ ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมเกี่ยวกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ในประเทศไทย และต่างประเทศจากฐานข้อมูล PUBMED MEDILINE และ SCOPUS ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ จากทั้งหมดที่ค้นคว้า จำนวน 987 เรื่อง มีรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ จำนวน 21 เรื่อง โดยเป็นการศึกษาในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 3 เรื่อง ในประเทศแซมเบีย จำนวน 1 เรื่อง ในประเทศตุรกี จำนวน 1 เรื่อง ในประเทศอังกฤษ จำนวน 1 เรื่อง สหรัฐอเมริกา จำนวน 15 เรื่อง โดยรายงานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ โดยตรง จำนวน 3 เรื่อง เป็นการศึกษาในประเทศอังกฤษ จำนวน 1 เรื่อง และ ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว สิงคโปร์ และเวียดนาม จำนวน 1 เรื่อง
ผลการสำรวจสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในตลาดเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 15 จุด พบแหล่งจำหน่ายสินค้า จำนวน 10 จุด มีสินค้าที่มีตรา ยี่ห้อบุหรี่จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ เสื้อยืด ที่จุดบุหรี่ กล่องใส่บุหรี่ หมวก สติ๊กเกอร์ เสื้อแจ็กเกต พวงกุญแจ แมกเนท และ3D puzzle โดยสินค้าที่พบ มากที่สุด ได้แก่ ที่จุดบุหรี่และกล่องใส่บุหรี่ ที่จุดบุหรี่ราคาประมาณ 100-250 บาท ส่วนกล่องใส่บุหรี่จะมีราคา ประมาณ 200-450 บาท สถานที่จำหน่ายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและตลาดนัด ได้แก่ จตุจักร สีลม ถนนข้าวสาร สยาม มาบุญครอง ตลาดนัดบางแค ยี่ห้อที่พบมากที่สุด คือ Marlboro จุดประสงค์ของผู้ซื้อส่วนมากนำไปเป็นของที่ระลึก เสื้อผ้า ประเภทเสื้อยืด ผลิตในประเทศไทย ราคาประมาณ 100-150 บาท มี่ทั้งระบุยี่ห้อบุหรี่ต่างประเทศ ได้แก่ Marlboro และในประเทศไทย คือ กรองทิพย์ สถานที่จำหน่าย บริเวณ ประตูน้ำ จตุจักร และสำเพ็ง สำหรับกลุ่มเด็ก ผลิตเป็นเสื้อผ้าแจ็กเก็ต และเสื้อยืด สินค้าประเภทพวงกุญแจและแม็กเนท เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่มาเลเซีย มีจำหน่ายที่สำเพ็ง ในราคาที่ขายแบบถาวรซึ่งจะขายแบบขายปลีกและขายส่ง ราคาขายส่งโหลละ 60 บาท ราคาขายปลีกอันละ 10 บาท มียี่ห้อบุหรี่จำนวนหลายชนิด ผู้ซื้อนิยมซื้อสินค้าที่ระลึกและใช้เอง เพราะราคาถูก ซึ่งจะกระจายขายตามตลาดนัด หมวก เป็นสินค้านำเข้าและเป็นสินค้ามือสอง วางจำหน่ายที่จตุจักร ราคา 70 บาท สติ๊กเกอร์ พบที่จตุจักร ราคา 50 บาท สำหรับยี่ห้อบุหรี่ที่พบในสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบมากที่สุดคือ Marlboro คิดเป็นร้อยละ 64.1
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการควบคุมการจำหน่ายสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตราผลิต-ภัณฑ์ยาสูบในท้องตลาด โดยหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายและมาตรการการดำเนินงานควบคุมสิ่งของที่ส่งเสริมบุหรี่ โดยควรศึกษากระบวนการใช้กฎหมายในการดำเนินงานควบคุมการผลิตสินค้า การจำหน่ายสินค้าที่มีตรายี่ห้อบุหรี่ ดำเนินการรณรงค์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์และผู้จำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่มีสินค้าที่ระลึกจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ในการไม่สนับสนุนการซื้อสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยผ่านสื่อบุคคลและสื่อสิ่งพิมพ์และควรศึกษาการจำหน่ายสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในระดับประเทศทั่วทุกภาคในประเทศไทย เพื่อทราบประเภทสินค้า ราคาช่องทางการจำหน่าย และสถานที่จำหน่าย รวมทั้งพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานอย่างครบวงจรโดยรูปแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภา
Smoking is an important public health problem affecting individual, family, and community socially and economically at the national, regional, and international level. One marketing strategies of tobacco industry is using cigarette promotional items to promote people perception on cigarettes. The objectives of this study were to Review the existing literatures from PUBMED MEDICINE and SCOPUS from 1991-2011 and to survey cigarette promotional items sold in Bangkok in terms of price, distribution channel, and public support. Street vendors, department stores, and shops in 15 areas including Victory monument, Watergate, Siam, Silom, Maboonklong, Sukumvit, Jatujak, Kaosan road, King Power, Central, Sampeng, Klongtom, ChinaTown, Bangkae, Pomprabsattrupai district, and King Rama I bridge. This survey was conducted between January and February 2011.Descriptive statistics including frequency, percentage, mean were used to analyze the data. Qualitative data were analyzed using the content analysis. Results showed that among 987 articles related to cigarette promotional items retrieved from PUBMED MEDICINE and SCOPUS,there were 21 research studies about cigarette promotional items,3 from Southeast Asian countries, 1 from Zambia, 1 from Turkey, 1 from United Kingdom, and 15 from the US. There were only 3 studies conducted to survey on cigarette promotional items, 1 in UK, 1 in Hong Kong, and 1 in Southeast Asian countries including Thailand, Cambodia, Indonesia, Myanmar, Philippines, Malaysia, Laos, Singapore, and Vietnam. Findings from the survey of cigarette promotional items in Bangkok in 15 areas showed that 10 areas selling cigarette promotional items. There were9 types of cigarette promotional items including T-shirt, lighter, cigarettes case, cap, sticker, jacket, key chain, and magnet, and 3D puzzle. The majority of promotional items were cigarette lighters and cases. Lighters cost 100-250 bahts, while cigarette cases cost 200-450 bahts. Most of the selling shops were in tourist attraction areas and open markets including Jatujak, Silom, Kaosan road, Maboonklong, and Bangkae open market. Brand mostly found was Marlboro. Buyers bought the items to use as souvenirs. T-shirts were made in Thailand and cost 100-150 bahts. T-shirts promote cigarette for both national and international brands including Marlboro and Krongtip. Selling areas were Watergate, Jatujak, and Sampeng. Jackets and t-shirts were also available for kids. Keychainand magnets were imported from Malaysia and were sold both for wholesale and retails at Sampeng. The wholesale costs 60 bahts for a dozen and the retail price was 10 bahts each. Various cigarette brands were promoted and buyers bought them for souvenirs and personal use because of its low price. It was also available at the open market. Caps were imported and second-handed items mostly sold at Jatujak for the costs of 70 bahts. Stickers were also found in Jatujak for 50 bahts each. Marlboro was the brand that most found in promoting items (64.1%) Findings suggested that, to control tobacco use, related organization should develop policy and measure to control cigaretteProducts. Regulations to control cigarette promoting items should be reviewed. Campaign and information on not supporting cigarette promoting items should be provided for tourists, tour guides, and sellers especially in tourist attraction areas through personal and published media. Survey on cigarette promoting items should be Conducted in all regions of Thailand to obtain the information on the type of items, prices, selling channel, selling areas, and consuming behaviors using quantitative and qualitative research to increase an understanding on tobacco control process
Smoking is an important public health problem affecting individual, family, and community socially and economically at the national, regional, and international level. One marketing strategies of tobacco industry is using cigarette promotional items to promote people perception on cigarettes. The objectives of this study were to Review the existing literatures from PUBMED MEDICINE and SCOPUS from 1991-2011 and to survey cigarette promotional items sold in Bangkok in terms of price, distribution channel, and public support. Street vendors, department stores, and shops in 15 areas including Victory monument, Watergate, Siam, Silom, Maboonklong, Sukumvit, Jatujak, Kaosan road, King Power, Central, Sampeng, Klongtom, ChinaTown, Bangkae, Pomprabsattrupai district, and King Rama I bridge. This survey was conducted between January and February 2011.Descriptive statistics including frequency, percentage, mean were used to analyze the data. Qualitative data were analyzed using the content analysis. Results showed that among 987 articles related to cigarette promotional items retrieved from PUBMED MEDICINE and SCOPUS,there were 21 research studies about cigarette promotional items,3 from Southeast Asian countries, 1 from Zambia, 1 from Turkey, 1 from United Kingdom, and 15 from the US. There were only 3 studies conducted to survey on cigarette promotional items, 1 in UK, 1 in Hong Kong, and 1 in Southeast Asian countries including Thailand, Cambodia, Indonesia, Myanmar, Philippines, Malaysia, Laos, Singapore, and Vietnam. Findings from the survey of cigarette promotional items in Bangkok in 15 areas showed that 10 areas selling cigarette promotional items. There were9 types of cigarette promotional items including T-shirt, lighter, cigarettes case, cap, sticker, jacket, key chain, and magnet, and 3D puzzle. The majority of promotional items were cigarette lighters and cases. Lighters cost 100-250 bahts, while cigarette cases cost 200-450 bahts. Most of the selling shops were in tourist attraction areas and open markets including Jatujak, Silom, Kaosan road, Maboonklong, and Bangkae open market. Brand mostly found was Marlboro. Buyers bought the items to use as souvenirs. T-shirts were made in Thailand and cost 100-150 bahts. T-shirts promote cigarette for both national and international brands including Marlboro and Krongtip. Selling areas were Watergate, Jatujak, and Sampeng. Jackets and t-shirts were also available for kids. Keychainand magnets were imported from Malaysia and were sold both for wholesale and retails at Sampeng. The wholesale costs 60 bahts for a dozen and the retail price was 10 bahts each. Various cigarette brands were promoted and buyers bought them for souvenirs and personal use because of its low price. It was also available at the open market. Caps were imported and second-handed items mostly sold at Jatujak for the costs of 70 bahts. Stickers were also found in Jatujak for 50 bahts each. Marlboro was the brand that most found in promoting items (64.1%) Findings suggested that, to control tobacco use, related organization should develop policy and measure to control cigaretteProducts. Regulations to control cigarette promoting items should be reviewed. Campaign and information on not supporting cigarette promoting items should be provided for tourists, tour guides, and sellers especially in tourist attraction areas through personal and published media. Survey on cigarette promoting items should be Conducted in all regions of Thailand to obtain the information on the type of items, prices, selling channel, selling areas, and consuming behaviors using quantitative and qualitative research to increase an understanding on tobacco control process
Sponsorship
สนับสนุนโดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปีงบประมาณ 2554 สัญญาเลขที่ TOR 54-01-04