Publication: Prevalence of insufficient fruit and vegetable intake and associated factors in older adults in Thailand
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
ISSN
1905-1387
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
ASEAN Institute for Health Development Mahidol University
Bibliographic Citation
Journal of Public Health and Development. Vol. 15, No.1 (Jan - Apr 2017), 81-99
Suggested Citation
Kanyapak Silarak, Jiraporn Chompikul, Aroonsri Mongkolchati, กัญญาภัค ศิลารักษ์, จิราพร ชมพิกุล, อรุณศรี มงคลชาติ Prevalence of insufficient fruit and vegetable intake and associated factors in older adults in Thailand. Journal of Public Health and Development. Vol. 15, No.1 (Jan - Apr 2017), 81-99. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62157
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Prevalence of insufficient fruit and vegetable intake and associated factors in older adults in Thailand
Alternative Title(s)
ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผัก และผลไม้ไม่เพียงพอในผู้ใหญ่สูงอายุในประเทศไทย
Other Contributor(s)
Abstract
This cross-sectional study aimed to describe the prevalence of insufficient fruit and vegetable intake (FVI),
and examined factors associated with insufficient FVI in adults aged 50 years and older in the communities of
Thailand. The data collection was conducted from September 2015 to March 2016. Multi-stage cluster sampling
was used to draw a sample of 3,875 in 16 districts from 14 provinces across different regions of Thailand. The
variables were collected included socio-demographic factors, lifestyles, anthropometric factors, health status and
FVI. An Electronic form was developed for data entering from all study sites. Face to face interview by trained
research assistants was used to fill up the electronic form of questionnaire. Chi-square test and multiple logistic
regression were performed to examine associations between the independent variables and insufficient FVI.
From the total number of participants, 97.73% completed questionnaires. The majority (72.9%) were 50 to 69
years old. Overall prevalence of insufficient FVI were 77.4 %, 78.3 % among men and 76.9% among women. In
multiple logistic regression, marital status, household monthly income, regions, and tobacco used (Adj OR = 1.36,
95% CI= 1.04-1.78) were significantly associated with insufficient FVI. After adjusting for other factors, older
adults who used tobacco were 1.36 times more likely to have insufficient FVI than those who did not.
The amount of fruit and vegetable intake by older adults in communities of Thailand were considerably
lower than current recommendations (daily intake of at least five servings; 400 g). The results suggested that
public education and campaigns on adequate consumption of fruit and vegetable should be promoted to target low
household monthly income, north eastern region, and tobacco use. This findings could help health promotion policy
implementation to increase FVI among this target group in Thailand.
การศึกษาแบบภาพตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์ความชุกและปัจจัยที่มีความพันธ์กับ การบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอในประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน 2558 ถึงมีนาคม 2559 ทำการสุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 3,875 คน จาก 16 อำเภอ 14 จังหวัด ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน ตัวแปรที่นำมาศึกษาได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะประชากรและสังคม ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยด้านการตรวจสมรรถภาพร่างกาย ปัจจัยด้านสภาวะโรคเรื้อรัง และการบริโภคผักและผลไม้ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยผู้สัมภาษณ์ที่ผ่านการอบรม และบันทึกรวบรวมผลผ่านระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ด้วยการทดสอบไคสแควร์และการถดถอยลอจิสติกพหุคูณเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอกับปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษา การศึกษานี้มีผู้ตอบแบบสอบถามครบถ้วนคิดเป็นร้อยละ 97.73 พบว่าส่วนใหญ่ (72.9 %) มีอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี ความชุกของการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอเท่ากับ 77.4% โดยพบ 78.3%ในผู้ชาย และ 76.9% ในผู้หญิง ผลการวิเคราะห์หลายตัวแปรพบว่า สถานภาพสมรส รายได้ของครอบครัวต่อเดือน ภาค และการ สูบบุหรี่ (Adj OR 1.36, 95% CI =1.04-1.78) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ในผู้ใหญ่สูงอายุที่สูบบุหรี่พบว่าโอกาสที่จะบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากว่าผู้ใหญ่สูงอายุที่ไม่สูบถึง 1.37 เท่า ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ในผู้สุงอายุในประเทศไทยพบว่าต่ำกว่าคำแนะนำมาก (เท่ากับอย่างน้อย 5 ส่วนบริโภค หรือ 400 กรัมต่อวัน) ผลการศึกษานี้ได้ แนะนำว่าควรให้สุขศึกษาและรณรงค์ให้มีการบริโภคผักและผลไม้ให้เพียงพอในกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มที่มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนต่ำ กลุ่มที่อาศัยอยู่ภาคอีสาน และกลุ่มผู้สูบุหรี่ การค้นพบนี้สามารถช่วยส่งเสริมนโยบายสุขภาพเพื่อนำสู่การปฏิบัติเพื่อเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ ในกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทย
การศึกษาแบบภาพตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์ความชุกและปัจจัยที่มีความพันธ์กับ การบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอในประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน 2558 ถึงมีนาคม 2559 ทำการสุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 3,875 คน จาก 16 อำเภอ 14 จังหวัด ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน ตัวแปรที่นำมาศึกษาได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะประชากรและสังคม ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยด้านการตรวจสมรรถภาพร่างกาย ปัจจัยด้านสภาวะโรคเรื้อรัง และการบริโภคผักและผลไม้ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยผู้สัมภาษณ์ที่ผ่านการอบรม และบันทึกรวบรวมผลผ่านระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ด้วยการทดสอบไคสแควร์และการถดถอยลอจิสติกพหุคูณเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอกับปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษา การศึกษานี้มีผู้ตอบแบบสอบถามครบถ้วนคิดเป็นร้อยละ 97.73 พบว่าส่วนใหญ่ (72.9 %) มีอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี ความชุกของการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอเท่ากับ 77.4% โดยพบ 78.3%ในผู้ชาย และ 76.9% ในผู้หญิง ผลการวิเคราะห์หลายตัวแปรพบว่า สถานภาพสมรส รายได้ของครอบครัวต่อเดือน ภาค และการ สูบบุหรี่ (Adj OR 1.36, 95% CI =1.04-1.78) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ในผู้ใหญ่สูงอายุที่สูบบุหรี่พบว่าโอกาสที่จะบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากว่าผู้ใหญ่สูงอายุที่ไม่สูบถึง 1.37 เท่า ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ในผู้สุงอายุในประเทศไทยพบว่าต่ำกว่าคำแนะนำมาก (เท่ากับอย่างน้อย 5 ส่วนบริโภค หรือ 400 กรัมต่อวัน) ผลการศึกษานี้ได้ แนะนำว่าควรให้สุขศึกษาและรณรงค์ให้มีการบริโภคผักและผลไม้ให้เพียงพอในกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มที่มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนต่ำ กลุ่มที่อาศัยอยู่ภาคอีสาน และกลุ่มผู้สูบุหรี่ การค้นพบนี้สามารถช่วยส่งเสริมนโยบายสุขภาพเพื่อนำสู่การปฏิบัติเพื่อเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ ในกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทย