Publication: Postnatal care service utilization and its determinants in Ramechhap district, Nepal: A community-based cross-sectional study
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
ISSN
1905-1387
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
ASEAN Institute for Health Development Mahidol University
Bibliographic Citation
Journal of Public Health and Development. Vol. 15, No.3 (Sep-Dec 2017), 1-16
Suggested Citation
Roshan Khadka, Seo Ah Hong, Bang-on Thepthien, โรชาลล์ การ์ดา, โซ อะ หงษ์, บังอร เทพเทียน Postnatal care service utilization and its determinants in Ramechhap district, Nepal: A community-based cross-sectional study. Journal of Public Health and Development. Vol. 15, No.3 (Sep-Dec 2017), 1-16. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62160
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Postnatal care service utilization and its determinants in Ramechhap district, Nepal: A community-based cross-sectional study
Alternative Title(s)
การใช้บริการสุขภาพหลังคลอดบุตรและปัจจัยกำหนด ในอำเภอรามีชาบ ประเทศเนปาล : การศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
Other Contributor(s)
Abstract
Nepal is one of the 10 countries worldwide that have reduced maternal mortality rate during 1990-2013 by 75%
due to programs aiming to improve utilization of maternal care services. Nevertheless, the national utilization rate
of postnatal care is very low as only half of women uptaking postnatal care services at least one time within 42
days after delivery. Therefore, this study was to identify factors affecting postnatal care utilization in Ramechhap
district, Nepal, where is one of the districts with lower postnatal care rate.
A community-based cross-sectional study was conducted from March to April 2017. A two-stage cluster
sampling technique was used to draw a sample of 380 mothers who gave birth in the last 1 year from four
village development committees. Descriptive statistics, Chi-square test and multiple logistic regression were used
to determine the predictors of postnatal care uptake.
This study showed utilization of postnatal care services at least one time within 42 days after delivery was
only 28.4%. Among predisposing factors, mother’s age < 30 (Adj OR=3.35, 95% CI=1.48-7.60), higher husband’s
education (Adj OR=3.42, 95% CI=1.53-7.68), husband’s occupation like officers (Adj OR=2.60, 95% CI=1.21–5.98),
nuclear family (Adj OR=3.03, 95% CI=1.40-6.56), and higher level of awareness on postnatal complication (Adj
OR=7.23, 95% CI=3.33-15.67). Among enabling factors, experience of antenatal care (Adj OR= 4.47, 95% CI=2.12-
9.41), satisfactions to quality of health services (Adj OR=3.01, 95% CI=1.38-6.54), longer spending time for travel
and waiting for postnatal care (Adj OR=8.48, 95% CI=3.66-19.68) and among need factors, postpartum depression
of mothers (Adj OR=4.13, 95% CI=1.37-12.43) were significantly associated with postnatal care services uptake.
Postnatal care service use was relatively low in the district. Raising awareness on postpartum complications
and importance of postnatal care service, and strengthening the capacity of health facilities and outreach clinics
should be promoted for improving postnatal healthcare service uptake.
ประเทศเนปาลเป็นหนึ่งในสิบของประเทศในทั่วโลกที่สามารถลดอัตราการตายของมารดาในช่วงปี 2533-2556 ลงได้ ร้อยละ 75 เนื่องจากมีโครงการที่มุ่งพัฒนาให้มารดามารับบริการตรวจสุขภาพแม่และเด็ก อย่างไรก็ตามในระดับประเทศอัตราการใช้บริการสุขภาพของมารดาหลังคลอดยังคงต่ำมาก โดยมีเพียงครึ่งหนึ่งของมารดาที่รับบริการตรวจสุขภาพหลังจากคลอดบุตรอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายใน 42 วัน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการตรวจสุขภาพหลังจากคลอดบุตรในอำเภอรามีชาบ ประเทศเนปาลที่เป็นอำเภอหนึ่งที่มีอัตราการใช้บริการตรวจสุขภาพหลังจากคลอดบุตรต่ำกว่าระดับประเทศ การศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้ชุมชนเป็นฐานครั้งนี้ ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2560 ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มในสองขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดหลังคลอดบุตรในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวนทั้งหมด 380 ราย โดยได้ รายชื่อมาจากคณะกรรมการพัฒนาการชุมชน 4 แห่ง ใช้สถิติพรรณนา การทดสอบความสัมพันธ์ไคกำลังสอง และสถิติการ ถดถอยลอจิสติกพหุคูณ ถูกนำมาใช้ในการหาปัจจัยพยากรณ์การใช้บริการหลังคลอดของมารดา การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามารดาใช้บริการหลังคลอดอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายใน 42 วันหลังคลอดเพียงร้อยละ 28.4 เท่านั้น ปัจจัยนำที่กำหนดให้มารดาใช้บริการหลังคลอดได้แก่อายุของมารดามากกว่า 30 ปี (Adj OR: 3.35, 95% CI: 1.48-7.60), มารดาที่มีสามีมีการศึกษาสูง (Adj OR: 3.42, 95% CI: 1.53-7.68) อาชีพการงานของสามีเช่นเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน (Adj OR: 2.60, 95% CI: 1.21-5.98) ครอบครัวเดี่ยว (Adj OR: 3.03, 95% CI: 1.40-6.56) มีความตระหนักเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดสูง (Adj OR: 7.23, 95% CI: 3.33-15.67), ปัจจัยเอื้อที่กำหนดให้มารดาใช้บริการหลังคลอดได้แก่ ประสบการณ์การฝากครรภ์ (Adj OR: 4.47, 95 % CI: 2.12-9.41) ความพึงพอใจต่อคุณภาพของบริการสุขภาพ (Adj OR: 3.01, 95% CI: 1.38-6.54) การใช้เวลาในการเดินทางและรอรับบริการหลังคลอด (Adj OR: 8.48, 95% CI: 3.66-19.68) และปัจจัยเสริมที่กำหนดให้มารดาใช้บริการหลังคลอด ได้แก่ มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Adj OR: 4.13, 95% CI: 1.37-12.43) มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการหลังคลอดของมารดาอย่างมีนัยสำคัญ การใช้บริการสุขภาพหลังคลอดบุตรของมารดายังมีสัดส่วนที่ต่ำ การเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดและความสำคัญของการบริการหลังคลอด และการเสริมสร้างขีดความสามารถของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพและการขยายบริการโดยเปิดคลินิกในท้องถิ่นกันดารควรได้รับการส่งเสริมเพื่อเพิ่มการใช้บริการด้านสุขภาพหลังคลอด
ประเทศเนปาลเป็นหนึ่งในสิบของประเทศในทั่วโลกที่สามารถลดอัตราการตายของมารดาในช่วงปี 2533-2556 ลงได้ ร้อยละ 75 เนื่องจากมีโครงการที่มุ่งพัฒนาให้มารดามารับบริการตรวจสุขภาพแม่และเด็ก อย่างไรก็ตามในระดับประเทศอัตราการใช้บริการสุขภาพของมารดาหลังคลอดยังคงต่ำมาก โดยมีเพียงครึ่งหนึ่งของมารดาที่รับบริการตรวจสุขภาพหลังจากคลอดบุตรอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายใน 42 วัน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการตรวจสุขภาพหลังจากคลอดบุตรในอำเภอรามีชาบ ประเทศเนปาลที่เป็นอำเภอหนึ่งที่มีอัตราการใช้บริการตรวจสุขภาพหลังจากคลอดบุตรต่ำกว่าระดับประเทศ การศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้ชุมชนเป็นฐานครั้งนี้ ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2560 ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มในสองขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดหลังคลอดบุตรในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวนทั้งหมด 380 ราย โดยได้ รายชื่อมาจากคณะกรรมการพัฒนาการชุมชน 4 แห่ง ใช้สถิติพรรณนา การทดสอบความสัมพันธ์ไคกำลังสอง และสถิติการ ถดถอยลอจิสติกพหุคูณ ถูกนำมาใช้ในการหาปัจจัยพยากรณ์การใช้บริการหลังคลอดของมารดา การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามารดาใช้บริการหลังคลอดอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายใน 42 วันหลังคลอดเพียงร้อยละ 28.4 เท่านั้น ปัจจัยนำที่กำหนดให้มารดาใช้บริการหลังคลอดได้แก่อายุของมารดามากกว่า 30 ปี (Adj OR: 3.35, 95% CI: 1.48-7.60), มารดาที่มีสามีมีการศึกษาสูง (Adj OR: 3.42, 95% CI: 1.53-7.68) อาชีพการงานของสามีเช่นเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน (Adj OR: 2.60, 95% CI: 1.21-5.98) ครอบครัวเดี่ยว (Adj OR: 3.03, 95% CI: 1.40-6.56) มีความตระหนักเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดสูง (Adj OR: 7.23, 95% CI: 3.33-15.67), ปัจจัยเอื้อที่กำหนดให้มารดาใช้บริการหลังคลอดได้แก่ ประสบการณ์การฝากครรภ์ (Adj OR: 4.47, 95 % CI: 2.12-9.41) ความพึงพอใจต่อคุณภาพของบริการสุขภาพ (Adj OR: 3.01, 95% CI: 1.38-6.54) การใช้เวลาในการเดินทางและรอรับบริการหลังคลอด (Adj OR: 8.48, 95% CI: 3.66-19.68) และปัจจัยเสริมที่กำหนดให้มารดาใช้บริการหลังคลอด ได้แก่ มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Adj OR: 4.13, 95% CI: 1.37-12.43) มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการหลังคลอดของมารดาอย่างมีนัยสำคัญ การใช้บริการสุขภาพหลังคลอดบุตรของมารดายังมีสัดส่วนที่ต่ำ การเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดและความสำคัญของการบริการหลังคลอด และการเสริมสร้างขีดความสามารถของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพและการขยายบริการโดยเปิดคลินิกในท้องถิ่นกันดารควรได้รับการส่งเสริมเพื่อเพิ่มการใช้บริการด้านสุขภาพหลังคลอด