NA-Proceeding Document
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72071
Browse
Recent Submissions
Item Open Access ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติภัยและการสูญเสียในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (MUNA Central Lab) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) ศิริกาญจนา ศิรินนทร์; ณัชฐ์ธพงศ์ เพชรอำไพ; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากอุบัติภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โดยพัฒนาระบบมาตรฐานความปลอดภัยให้สอดคล้องกับประเภทของงาน เก็บข้อมูลความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยที่มีโอกาสทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายในการทำงานจากอาจารย์ 10 คน, นักศึกษา 40 คน, ผู้ช่วยนักวิจัย 5 คน และนักวิทยาศาสตร์ 2 คน ก่อน จัดทำมาตรฐานเปรียบเทียบกับหลังจัดทำมาตรฐาน เก็บข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2561-สิงหาคม 2564 ผลการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงสูงสุดเกิดจากอุปกรณ์เครื่องแก้ว โดยค่าเฉลี่ยก่อนปรับปรุงของนักศึกษา, อาจารย์, ผู้ช่วยนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ เท่ากับ 20 (สูงมาก), 16 (สูง), 16(สูง), 8(ปานกลาง) ตามลำดับ หลังปรับปรุงค่าเฉลี่ยลดลงเท่ากับ 8 (ปานกลาง), 4(ต่ำ), 4(ต่ำ), 4(ต่ำ) ตามลำดับ โดยทุกปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายในการทำงานหลังปรับปรุง พบว่า ค่าความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติภัยลดน้อยลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานมีความเสี่ยงสูงคือการทำงานในห้องปฏิบัติการที่ไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยItem Open Access งานการศึกษาวิถีใหม่(2564) ภาสกร ภมรคุณานนท์; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบงานการศึกษาวิถีใหม่ โดยปรับการทำงานในรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ และการปฏิบัติงานที่บ้าน ของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างนักศึกษา จำนวน 40 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามความคิดเห็นต่อคุณภาพการ ให้บริการ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การให้บริการของเจ้าหน้าที่ กระบวนการ/ขั้นตอน การให้บริการ และคุณภาพการให้บริการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยทั้ง 3 ด้าน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการ ให้บริการของเจ้าหน้าที่ในระดับมาก มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 คิดเป็น ร้อยละ 86.00 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการอยู่ใน ระดับมาก มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 คิดเป็นร้อยละ 84.88 และมีความ พึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมาก มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 คิดเป็นร้อยละ 87.00 สามารถลดระยะเวลาจากเดิม 19 วัน เป็น 7 วัน ได้Item Open Access การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม(2561) ศศิธร มารัตน์; ์เสริมพงษ์ คุณาวงศ์; ทวีศักดิ์ ปฐม; อรณิช แก้วสุข; รวิกานต์ ยศสมบัติ; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทอง ได้ศึกษาพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างมี ส่วนร่วมโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยทำงานร่วมกับชุมชนทั้งในบริบท ชนบทและเมือง ด้วยการดูแลผู้สูงอายุทุกกลุ่ม(ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง) รวมทั้งผู้ดูแลครบทั้ง 4 มิติรวมไปถึงด้านสิ่งแวดล้อมเกิดกระบวนการปรับปรุง ที่อยู่ให้ผู้สูงอายุโดยใช้ทุนของชุมชน ผลที่ได้สร้างสุขภาวะให้ผู้สูงอายุและ สังคมในระยะยาว ครอบครัวเปลี่ยนเป็นดูแลให้ความสุขอบอุ่นซึ่งกันและกัน ชุมชนเปลี่ยนมุมมองการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องภายในครอบครัวจึงมี ส่วนร่วมในทุกด้านและทุกขั้นตอน จิตอาสามีการเรียนรู้และสุขใจที่ทำให้ผู้อื่น มีความสุขทำให้พร้อมที่จะพัฒนาสู่การดูแลกันเองภายในชุมชน ส่งผลกระทบ อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ด้านการศึกษาสร้างการเรียนรู้ให้กับ สถาบันการศึกษาและชุมชนในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ด้านสังคมเกิดการตื่นตัวศึกษาวิธีการดูแลผู้สูงอายุและการมีส่วนร่วมของ พระสงฆ์ของตำบลเขาทองจนนำไปใช้ปฏิบัติในชุมชนของตน สิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ทั้งประเทศต่อไป.