Publication: ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมจังหวัดอ่างทอง
Issued Date
2563
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 43, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2563), 100-112
Suggested Citation
อุดมพร กาฬภักดี, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล, ทัศนีย์ รวิวรกุล ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมจังหวัดอ่างทอง. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 43, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2563), 100-112. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72135
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมจังหวัดอ่างทอง
Alternative Title(s)
The Effects of Self-Management Program for Older Adults with Knee Osteoarthritis in Angthong Province
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญและโรงพยาบาล ป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะตามเกณฑ์และมารับบริการที่โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญและโรงพยาบาลป่าโมกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบตามลำดับ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้การจัดการตนเองโรคข้อเข่าเสื่อมและแจกคู่มือแบบบันทึกการจัดการตนเองโรคข้อเข่าเสื่อม การติดตามเยี่ยมบ้าน การโทรศัพท์ติดตาม และกระบวนการกลุ่ม ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลโดยผู้วิจัยด้วยแบบสอบถาม
ผลการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) อย่างไรก็ตามพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมไม่แตกต่างกัน (p>.13) ผลการศึกษาดังกล่าวสนับสนุนว่าพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนาโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมไปใช้เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมมีการจัดการตนเองโรคข้อเข่าเสื่อมที่ดีขึ้น และลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
This quasi-experimental two groups pretest-posttest design was conducted to examine the effects of a self-management program on older adults with osteoarthritis (OA). A total of 60 older adults who got the diagnosis of OA and registered at Out Patient Department, from Wisetchaichan hospital and Pamok Hospital, Ang Thong Province participated in the program during June 2018 to August 2018. The experimental group received the eight-week self-management program, consisting of a health education, a manual, a home visit, four telephone follow up, and one experience sharing session. Whereas, the comparison group received the usual care from the hospital. Data were collected before and after the intervention by the researcher using a questionnaire. According to Paired t-test and Independent t-test analysis, the subjects, who received the self-management program and the comparison group had significantly higher mean scores of self-management than before the intervention (p<.001). Besides, they had significantly less mean scores of disease severity than before the intervention (p<.001). However, the experimental and comparison group had no different mean scores of disease severity (p>.13). The finding supports that community nurse practitioner should apply this program to promote self-management of the older adults with OA in other community to reduce disease severity in order to maintain their quality of life.
This quasi-experimental two groups pretest-posttest design was conducted to examine the effects of a self-management program on older adults with osteoarthritis (OA). A total of 60 older adults who got the diagnosis of OA and registered at Out Patient Department, from Wisetchaichan hospital and Pamok Hospital, Ang Thong Province participated in the program during June 2018 to August 2018. The experimental group received the eight-week self-management program, consisting of a health education, a manual, a home visit, four telephone follow up, and one experience sharing session. Whereas, the comparison group received the usual care from the hospital. Data were collected before and after the intervention by the researcher using a questionnaire. According to Paired t-test and Independent t-test analysis, the subjects, who received the self-management program and the comparison group had significantly higher mean scores of self-management than before the intervention (p<.001). Besides, they had significantly less mean scores of disease severity than before the intervention (p<.001). However, the experimental and comparison group had no different mean scores of disease severity (p>.13). The finding supports that community nurse practitioner should apply this program to promote self-management of the older adults with OA in other community to reduce disease severity in order to maintain their quality of life.