Publication: A Comparison of Quality of Life in Adults With Voice Disorders Before and After Voice Therapy
Issued Date
2019
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Communication Sciences and Disorders Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Department of Mathematics and Statistics, Faculty of Sciences and Technology Huachiew Chalermprakiet University
Department of Mathematics and Statistics, Faculty of Sciences and Technology Huachiew Chalermprakiet University
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 42, No. 2 (April-June 2019), 30-37
Suggested Citation
Tipwaree Aueworakhunanan, Kalyanee Makarabhirom, Dechavudh Nityasuddhi, ทิพยวารี เอื้อวรคุณานันท์, กัลยาณี มกราภิรมย์, เดชาวุธ นิตยสุทธิ A Comparison of Quality of Life in Adults With Voice Disorders Before and After Voice Therapy. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 42, No. 2 (April-June 2019), 30-37. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72256
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
A Comparison of Quality of Life in Adults With Voice Disorders Before and After Voice Therapy
Alternative Title(s)
การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ ก่อนและหลังได้รับการฝึกพูด
Abstract
Background: Previous studies have documented the effectiveness of voice therapy in terms of voice quality outcomes rather than quality of life outcomes.
Objective: To compare the quality of life among patients with voice disorders, before and after voice therapy.
Methods: Thirty-six patients with voice disorders who visited the Speech Clinic at Ramathibodi Hospital from March 2013 to January 2015 were enrolled. Thirty minutes per session within 10 weeks period of voice therapy program were used. The voice therapy approaches included direct and indirect therapy. The outcomes of this study were measured using Dr. Speech software version 5 for acoustic analysis and the Voice Handicap Index in Thai version for quality of life. Data was analyzed by descriptive and inferential statistics (Paired t test).
Results: The total participants were 36 patients with a mean age of 51.31 years. They were divided to 4 groups according to the causes of voice disorders that were 18 patients for structural cause, 8 patients for functional cause, 6 patients for neurological cause, and 4 patients for inflammatory cause. The results for both voice quality and quality of life after voice therapy improved and showed statistically significant differences (P < .05). The patients with all causes of voice disorders were statistically significant differences in total the Voice Handicap Index scores (P < .05). Moreover the structural causes group exhibited statistically significant differences in all subscales (P < .05) but the others causes groups were not statistically significant differences in emotional subscale for functional causes, physical subscale for neurological causes, and functional subscale for inflammatory cause (P > .05)
Conclusions: Voice therapy might be an effective treatment to decrease the severity of voice disorders in role of voice quality and quality of life, especially voice disorders from structural causes.
บทนำ: จากรายงานการศึกษาก่อนหน้านี้จำนวนมากระบุถึงประสิทธิผลของ การฝึกพูดโดยวัดผลจากคุณภาพเสียงมากกว่าการวัดผลจากคุณภาพชีวิต วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ ก่อนและหลังได้รับการฝึกพูด วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ จำนวน 36 คน ที่เข้ารับ การฝึกพูด ณ คลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยได้รับการฝึกพูดสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 30 นาที รวมทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ เทคนิคที่ใช้ในการฝึกพูดมีทั้งเทคนิคทางตรงและทางอ้อม จากนั้นวัดผลการฝึกพูดด้วยโปรแกรม Dr. Speech รุ่นที่ 5 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพเสียง และแบบประเมินภาวะเสียงผิดปกติฉบับภาษาไทย เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน (Paired t test) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 36 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.31 ปี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามสาเหตุการเกิดเสียงผิดปกติ ได้แก่ สาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียง จำนวน 18 คน สาเหตุจากการทำงานของเส้นเสียง จำนวน 8 คน สาเหตุจากระบบประสาท จำนวน 6 คน และสาเหตุจากการบวมอักเสบ จำนวน 4 คน โดยภายหลังการฝึกพูดพบว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพเสียงและคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) ผู้ป่วยทุกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมของแบบประเมินภาวะเสียงผิดปกติฉบับภาษาไทยแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียงมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกหัวข้อของแบบประเมิน (P < .05) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีเสียงผิดปกติ จากสาเหตุอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการฝึกพูด ในบางหัวข้อของแบบประเมิน ได้แก่ หัวข้อทางอารมณ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการทำงานของเส้นเสียง หัวข้อทางกายภาพเส้นเสียงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากระบบประสาท และหัวข้อการทำงานของเส้นเสียงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการบวมอักเสบ (P > .05) สรุป: การฝึกพูดอาจมีประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยเสียงผิดปกติให้มีระดับความรุนแรงลดลงทั้งด้านคุณภาพเสียงและคุณภาพชีวิต ซึ่งการฝึกพูดสามารถรักษาเสียงผิดปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเสียงผิดปกติที่มีสาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียง
บทนำ: จากรายงานการศึกษาก่อนหน้านี้จำนวนมากระบุถึงประสิทธิผลของ การฝึกพูดโดยวัดผลจากคุณภาพเสียงมากกว่าการวัดผลจากคุณภาพชีวิต วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ ก่อนและหลังได้รับการฝึกพูด วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ จำนวน 36 คน ที่เข้ารับ การฝึกพูด ณ คลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยได้รับการฝึกพูดสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 30 นาที รวมทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ เทคนิคที่ใช้ในการฝึกพูดมีทั้งเทคนิคทางตรงและทางอ้อม จากนั้นวัดผลการฝึกพูดด้วยโปรแกรม Dr. Speech รุ่นที่ 5 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพเสียง และแบบประเมินภาวะเสียงผิดปกติฉบับภาษาไทย เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน (Paired t test) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 36 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.31 ปี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามสาเหตุการเกิดเสียงผิดปกติ ได้แก่ สาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียง จำนวน 18 คน สาเหตุจากการทำงานของเส้นเสียง จำนวน 8 คน สาเหตุจากระบบประสาท จำนวน 6 คน และสาเหตุจากการบวมอักเสบ จำนวน 4 คน โดยภายหลังการฝึกพูดพบว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพเสียงและคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) ผู้ป่วยทุกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมของแบบประเมินภาวะเสียงผิดปกติฉบับภาษาไทยแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียงมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกหัวข้อของแบบประเมิน (P < .05) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีเสียงผิดปกติ จากสาเหตุอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการฝึกพูด ในบางหัวข้อของแบบประเมิน ได้แก่ หัวข้อทางอารมณ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการทำงานของเส้นเสียง หัวข้อทางกายภาพเส้นเสียงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากระบบประสาท และหัวข้อการทำงานของเส้นเสียงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการบวมอักเสบ (P > .05) สรุป: การฝึกพูดอาจมีประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยเสียงผิดปกติให้มีระดับความรุนแรงลดลงทั้งด้านคุณภาพเสียงและคุณภาพชีวิต ซึ่งการฝึกพูดสามารถรักษาเสียงผิดปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเสียงผิดปกติที่มีสาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียง