Prevalence and intention to use HIV counseling and testing service among Thai youth
Issued Date
2023
Copyright Date
2014
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xiii, 157 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2014
Suggested Citation
Kulrawee Wiwattanacheewin Prevalence and intention to use HIV counseling and testing service among Thai youth. Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2014. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89721
Title
Prevalence and intention to use HIV counseling and testing service among Thai youth
Alternative Title(s)
ความชุกและความตั้งใจใช้บริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวีในเยาวชนไทย
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
The aims of this cross-sectional, mixed method design study were to explore the prevalence of sexual experienced youth, use and intention to use an HIV counseling and testing (HCT) service, predictors of HCT service used among sexually experienced youth, and the youth friendly HCT (YFHCT) service expected by youth. There were 2,945 participants from 6 secondary and 3 vocational schools in Bangkok invited to complete web-based questionnaires at the schools' computer labs. Of those, 2,536 questionnaires were completed and analyzed by using descriptive statistics and Logistic Regression Analysis. Telephone interviewing with 20 youth volunteers and content analysis was used in these qualitative sessions. There were 783 youth who reported they had ever had a sexual experience (prevalence=30.88%); only 143 of them had ever been tested for HIV (prevalence= 18.26%). Among those who never used HCT services (n=640), 474 intend to use them in the future (Prevalence= 70%). Use of HCT service was influenced by HIV knowledge (OR=3.105, p< .05), attitude toward HIV testing (OR=1.029, p< .005), actual risk for HIV by having one sex partner and using a condom consistently (OR=2.356, p< .05) and having multiple sex partners and using condom inconsistently (OR=1.961, p< .05), and being informed about HCT service and knowing where HCT is located (OR= 4.373, p< .001). Unconditional intention was influenced by expectations for YFHCT services (OR =1.020, p =001), attitude toward HIV testing (OR=1.038, p<.001), perceived high risk (OR =2.452, p =.023), having multiple sex partners and using condoms consistently (OR=3.714, p<.05), willingness to pay for service (OR=3.453, p<.001), and knowing about HCT service and its location (OR =2.348, p<.001). Conditional intention to use HCT service was predicted by expectations for YFHCT services (OR =1.018, p<.001), perceived low risk for HIV infection (OR =1.892, p=.025), and willingness to pay (OR=2.959, p<.001). The characteristics of YFHCT services expected by youths were the following: 1) HCT service locations should not be in hospitals and should be private with a good atmosphere; 2) Youth-friendly HCT services should be provided with accessible, unlimited, convenient times and provided for free; and 3) friendly providers should be of the same gender with understanding, confidentiality and no judgment. Scaling up HCT services used by sexually experienced youth is one of major challenges to solve the HIV/AIDS epidemic in Thailand. A YFHCT service should be provided to meet this challenge.
การศึกษาภาคตัดขวางแบบผสานวิธีนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ สำรวจความชุกของการมีประสบการณ์เพศสัมพันธ์ การใช้และความตั้งใจใช้บริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวี (HIV counseling and testing : HCT) ศึกษาปัจจัยทำนายการใช้และความตั้งใจใช้บริการ HCT ในเยาวชนที่มีประสบการณ์ทางเพศ และลักษณะการบริการ HCT ที่เป็นมิตรกับเยาวชน (Youth friendly HCT: YFHCT) ตามความคาดหวังของเยาวชน ผู้ร่วมวิจัยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนมัธยม 6 โรงเรียน และ โรงเรียนอาชีวศึกษา 3 โรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,945 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ในห้องคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน มีแบบสอบถามจำนวน 2,536 ชุดที่สมบูรณ์และสามารถนำไปวิเคราะห์ได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปร ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เยาวชนที่สมัครใจจำนวน 20 คน ผ่านทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า มีเยาวชนที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศ จำนวน 783 คน (ความชุก = 30.88 %) 143 คน เคยตรวจเลือดเอชไอวี (ความชุก = 18.26 %) กลุ่มที่ไม่เคยใช้บริการ HCT (n =640) มีความตั้งใจที่จะใช้บริการในอนาคต 474 คน (ความชุก = 70%) การใช้บริการ HCT ได้รับอิทธิพลจาก ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี (OR = 3.105, p < 0.05) ทัศนคติต่อการตรวจเอชไอวี (OR = 1.029 , p < 0.005) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี มีคู่นอนคนเดียวและ ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ (OR = 2.356, p < 0.05) และมีคู่นอนหลายคน และ ใช้ถุงยางอนามัยไม่สม่ำเสมอ (OR = 1.961, p < 0.05) และ ทราบเกี่ยวกับบริการ และที่ตั้งของหน่วยบริการ HCT (OR = 4.373 , p < 0.001) ความตั้งใจใช้บริการ HCT โดยไม่มีเงื่อนไข ได้รับอิทธิพลจาก ความคาดหวังต่อลักษณะบริการ HCT ที่เป็นมิตรกับเยาวชน (OR = 1.020, p = 001) ทัศนคติต่อการตรวจเอชไอวี (OR = 1.038, p < .001) การรับรู้ความเสี่ยงสูง (OR = 2.452, p = 0.023) มีคู่นอนหลายคนและใช้ถุงยางอนามัยสม่ำเสมอ (OR = 3.714, p< 0.05) เต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการ ( OR = 3.453, p< .001) และทราบเกี่ยวกับบริการ HCT และที่ตั้งของหน่วยบริการ HCT (OR = 2.348, p < .001) ความตั้งใจที่จะใช้บริการโดยมีเงื่อนไขถูกทำนายโดยความคาดหวังต่อลักษณะบริการ YFHCT (OR = 1.018, p < .001) การรับรู้ความเสี่ยงต่ำ (OR = 1.892, p = 0.025) และความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการ (OR = 2.959, p<.001) การบริการ YFHCT มีลักษณะสำคัญ 3 ประการดังนี้ 1) หน่วยบริการไม่ควรอยู่ในโรงพยาบาล และควรมีความเป็นส่วนตัวและมีบรรยากาศที่ดี 2) ง่ายต่อการเข้าถึง มีความสะดวกในเรื่องของเวลา และไม่เก็บค่าบริการ และ 3) ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรควรเป็นเพศเดียวกัน เข้าใจ ไม่การตัดสินใจเยาวชน และรักษาความลับการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มการใช้บริการ HCT ในเยาวชน จำเป็นต้องมีการจัดบริการที่เป็นมิตรรวมทั้งมีการให้ความรู้เพื่อให้เยาวชนเห็นความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้บริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนทราบที่ตั้งของหน่วยบริการ
การศึกษาภาคตัดขวางแบบผสานวิธีนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ สำรวจความชุกของการมีประสบการณ์เพศสัมพันธ์ การใช้และความตั้งใจใช้บริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวี (HIV counseling and testing : HCT) ศึกษาปัจจัยทำนายการใช้และความตั้งใจใช้บริการ HCT ในเยาวชนที่มีประสบการณ์ทางเพศ และลักษณะการบริการ HCT ที่เป็นมิตรกับเยาวชน (Youth friendly HCT: YFHCT) ตามความคาดหวังของเยาวชน ผู้ร่วมวิจัยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนมัธยม 6 โรงเรียน และ โรงเรียนอาชีวศึกษา 3 โรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,945 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ในห้องคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน มีแบบสอบถามจำนวน 2,536 ชุดที่สมบูรณ์และสามารถนำไปวิเคราะห์ได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปร ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เยาวชนที่สมัครใจจำนวน 20 คน ผ่านทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า มีเยาวชนที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศ จำนวน 783 คน (ความชุก = 30.88 %) 143 คน เคยตรวจเลือดเอชไอวี (ความชุก = 18.26 %) กลุ่มที่ไม่เคยใช้บริการ HCT (n =640) มีความตั้งใจที่จะใช้บริการในอนาคต 474 คน (ความชุก = 70%) การใช้บริการ HCT ได้รับอิทธิพลจาก ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี (OR = 3.105, p < 0.05) ทัศนคติต่อการตรวจเอชไอวี (OR = 1.029 , p < 0.005) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี มีคู่นอนคนเดียวและ ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ (OR = 2.356, p < 0.05) และมีคู่นอนหลายคน และ ใช้ถุงยางอนามัยไม่สม่ำเสมอ (OR = 1.961, p < 0.05) และ ทราบเกี่ยวกับบริการ และที่ตั้งของหน่วยบริการ HCT (OR = 4.373 , p < 0.001) ความตั้งใจใช้บริการ HCT โดยไม่มีเงื่อนไข ได้รับอิทธิพลจาก ความคาดหวังต่อลักษณะบริการ HCT ที่เป็นมิตรกับเยาวชน (OR = 1.020, p = 001) ทัศนคติต่อการตรวจเอชไอวี (OR = 1.038, p < .001) การรับรู้ความเสี่ยงสูง (OR = 2.452, p = 0.023) มีคู่นอนหลายคนและใช้ถุงยางอนามัยสม่ำเสมอ (OR = 3.714, p< 0.05) เต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการ ( OR = 3.453, p< .001) และทราบเกี่ยวกับบริการ HCT และที่ตั้งของหน่วยบริการ HCT (OR = 2.348, p < .001) ความตั้งใจที่จะใช้บริการโดยมีเงื่อนไขถูกทำนายโดยความคาดหวังต่อลักษณะบริการ YFHCT (OR = 1.018, p < .001) การรับรู้ความเสี่ยงต่ำ (OR = 1.892, p = 0.025) และความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการ (OR = 2.959, p<.001) การบริการ YFHCT มีลักษณะสำคัญ 3 ประการดังนี้ 1) หน่วยบริการไม่ควรอยู่ในโรงพยาบาล และควรมีความเป็นส่วนตัวและมีบรรยากาศที่ดี 2) ง่ายต่อการเข้าถึง มีความสะดวกในเรื่องของเวลา และไม่เก็บค่าบริการ และ 3) ผู้ให้บริการที่เป็นมิตรควรเป็นเพศเดียวกัน เข้าใจ ไม่การตัดสินใจเยาวชน และรักษาความลับการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มการใช้บริการ HCT ในเยาวชน จำเป็นต้องมีการจัดบริการที่เป็นมิตรรวมทั้งมีการให้ความรู้เพื่อให้เยาวชนเห็นความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้บริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนทราบที่ตั้งของหน่วยบริการ
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Nursing
Degree Discipline
Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University