Taxonomic and phylogeographic study of bulbuls in genus Iole (aves, passeriformes, pycnonotidae)
Issued Date
2023
Copyright Date
2016
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xii, 210 leaves : col. ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Biology))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Sontaya Manawatthana Taxonomic and phylogeographic study of bulbuls in genus Iole (aves, passeriformes, pycnonotidae). Thesis (Ph.D. (Biology))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89794
Title
Taxonomic and phylogeographic study of bulbuls in genus Iole (aves, passeriformes, pycnonotidae)
Alternative Title(s)
การศึกษาอนุกรมวิธานและสายวิวัฒนาการเชิงภูมิศาสตร์ของนกปรอดสกุล Iole ในประเทศไทย
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
Iole bulbuls (Aves: Pycnonotidae) are common resident birds found mainly in the middle to upper story of forest in South and Southeast Asia. There are presently 13 distinct taxa distributed among four recognized species within the genus. Relationships among Iole taxa are poorly known, partly due to the extremely similar plumages and vocalizations of all taxa in the genus. The objectives of this study were (i) to analyze evolutionary relationships among Iole taxa using morphology, morphometrics, vocalizations and molecular data and to describe their patterns of diversification. A phylogeographic reconstruction based on two mitochondrial and one nuclear markers (total 2,337 bp) revealed three strongly supported primary lineages: a Palawan lineage, a Sundaic group distributed in the Malay Peninsula, Sumatra and Borneo and an Indochinese group distributed throughout continental Southeast Asia. Divergence time estimation suggested that the Palawan lineage diverged during the Miocene (around 9.7 Mya) and a later split between the Sundaic and Indochinese lineages occurring around 7.2 Mya, during early Pliocene. The diversification pattern found in Iole bulbuls was similar to the patterns found in many Indochinese and Sundaic fauna, and coincided with climatic fluctuations during Cenozoic epochs. An integrative approach using morphometrics, vocalizations and molecular data indicated that the present classification among Iole taxa did not accurately reflect their relationships. In addition to the four species under the existing classification, five more species were recognized, while some presently recognized subspecies also require reassignment. These findings demonstrated the need for unraveling the confusion in traditional taxonomy, which mainly relies on external morphological characters, by integrating relatively modern approaches incorporating phylogenetic and bioacoustic data to reveal complex biodiversity patterns and provided new insights into the biogeographic history of the avifauna in the Southeast Asia
นกปรอด เป็นนกวงศ์ที่มีความหลากหลายสูงที่สุดวงศ์หนึ่งในโลก ซึ่งนกปรอดสกุลหนึ่งที่ยังพบว่ามีปัญหาในการจัดลำดับอนุกรมวิธานคือ นกปรอดสกุล Iole โดยถูกจัดจำแนกไว้ 4 ชนิด และหากนับรวมชนิดย่อยจะมีทั้งหมด 13 ชนิดย่อย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เคยมีการใช้หลักการสมัยใหม่ เช่น การวิเคราะห์ลักษณะของเสียง การใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา มาใช้ศึกษานกกลุ่มนี้มาก่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดจำแนกและศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของนกปรอดสกุล Iole โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยาร่วมกับการวิเคราะห์เสียงร้อง และขนาดตัว และ 2) เพื่อประมาณช่วงเวลาในอดีตที่เกิดสปีชีส์ต่าง ๆ ของนกปรอดสกุล Iole ในประเทศไทย และ วิเคราะห์หาปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในอดีตที่ทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าว ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ DNA ร่วมกับเสียงร้องพบว่าการจัดจำแนกชนิดแบบเดิมนั้นไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของนกกลุ่มนี้ โดยมีชนิดย่อยที่ควรจะได้รับการจำแนกเป็นชนิดใหม่ถึง 5 ชนิด และชนิดย่อยเดิมบางส่วนก็ควรได้รับการจัดจำแนกใหม่ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ช่วงเวลาการเกิดการแยกชนิดในอดีตยังพบเชื้อสายทางวิวัฒนาการของนกปรอด Iole ที่สำคัญ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพาลาวัน (ประเทศฟิลิปปินส์) 2) กลุ่มซุนดา (แหลมมลายู, สุมาตรา, บอร์เนียว) และ 3) กลุ่มอินโดไชน่า (แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) โดยการวิวัฒนาการแยกชนิดที่เก่าแก่ที่สุดนกในกลุ่มนี้คือการแยกชนิดของกลุ่มพาลาวันในยุคไมโอซีนเมื่อประมาณ 9.7 ล้านปี ก่อน ตามมาด้วยการแยกชนิดระหว่างกลุ่มซุนดาและกลุ่มอินโดไชน่าในยุคไพลโอซีนเมื่อประมาณ 7.2 ล้านปี ก่อน ซึ่งรูปแบบดังกล่าวใกล้เคียงกับรูปแบบที่พบในการศึกษานกชนิดอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน บ่งชี้ว่าการแยกชนิดของนกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อนกหลายชนิดในรูปแบบที่ คล้ายคลึงกัน ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ทำให้สามารถจัดจำแนกลำดับอนุกรมวิธานในระดับชนิดย่อยของนกปรอดสกุล Iole ได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้เข้าใจถึงกลไกที่ทำ ให้เกิดวิวัฒนาการของสัตว์ในภูมิภาคนี้ได้ดีขึ้น ซึ่งและสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการจัดการเชิงอนุรักษ์ หรือการออกกฎหมายคุ้มครองได้อย่างเหมาะสม
นกปรอด เป็นนกวงศ์ที่มีความหลากหลายสูงที่สุดวงศ์หนึ่งในโลก ซึ่งนกปรอดสกุลหนึ่งที่ยังพบว่ามีปัญหาในการจัดลำดับอนุกรมวิธานคือ นกปรอดสกุล Iole โดยถูกจัดจำแนกไว้ 4 ชนิด และหากนับรวมชนิดย่อยจะมีทั้งหมด 13 ชนิดย่อย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เคยมีการใช้หลักการสมัยใหม่ เช่น การวิเคราะห์ลักษณะของเสียง การใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา มาใช้ศึกษานกกลุ่มนี้มาก่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดจำแนกและศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของนกปรอดสกุล Iole โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยาร่วมกับการวิเคราะห์เสียงร้อง และขนาดตัว และ 2) เพื่อประมาณช่วงเวลาในอดีตที่เกิดสปีชีส์ต่าง ๆ ของนกปรอดสกุล Iole ในประเทศไทย และ วิเคราะห์หาปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในอดีตที่ทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าว ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ DNA ร่วมกับเสียงร้องพบว่าการจัดจำแนกชนิดแบบเดิมนั้นไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของนกกลุ่มนี้ โดยมีชนิดย่อยที่ควรจะได้รับการจำแนกเป็นชนิดใหม่ถึง 5 ชนิด และชนิดย่อยเดิมบางส่วนก็ควรได้รับการจัดจำแนกใหม่ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ช่วงเวลาการเกิดการแยกชนิดในอดีตยังพบเชื้อสายทางวิวัฒนาการของนกปรอด Iole ที่สำคัญ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพาลาวัน (ประเทศฟิลิปปินส์) 2) กลุ่มซุนดา (แหลมมลายู, สุมาตรา, บอร์เนียว) และ 3) กลุ่มอินโดไชน่า (แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) โดยการวิวัฒนาการแยกชนิดที่เก่าแก่ที่สุดนกในกลุ่มนี้คือการแยกชนิดของกลุ่มพาลาวันในยุคไมโอซีนเมื่อประมาณ 9.7 ล้านปี ก่อน ตามมาด้วยการแยกชนิดระหว่างกลุ่มซุนดาและกลุ่มอินโดไชน่าในยุคไพลโอซีนเมื่อประมาณ 7.2 ล้านปี ก่อน ซึ่งรูปแบบดังกล่าวใกล้เคียงกับรูปแบบที่พบในการศึกษานกชนิดอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน บ่งชี้ว่าการแยกชนิดของนกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อนกหลายชนิดในรูปแบบที่ คล้ายคลึงกัน ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ทำให้สามารถจัดจำแนกลำดับอนุกรมวิธานในระดับชนิดย่อยของนกปรอดสกุล Iole ได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้เข้าใจถึงกลไกที่ทำ ให้เกิดวิวัฒนาการของสัตว์ในภูมิภาคนี้ได้ดีขึ้น ซึ่งและสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการจัดการเชิงอนุรักษ์ หรือการออกกฎหมายคุ้มครองได้อย่างเหมาะสม
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Science
Degree Discipline
Biology
Degree Grantor(s)
Mahidol University