Development of home based palliative care model for people living with end stage renal disease
Issued Date
2023
Copyright Date
2011
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 254 leaves : col. ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Dr.P.H. (Public Health))--Mahidol University, 2011
Suggested Citation
Jintana Artsanthia Development of home based palliative care model for people living with end stage renal disease. Thesis (Dr.P.H. (Public Health))--Mahidol University, 2011. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89972
Title
Development of home based palliative care model for people living with end stage renal disease
Alternative Title(s)
การพัฒนารูปแบบการพยาบาลแบบประคับประคองที่บ้านสำหรับผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
Author(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานเชิงฝังในขยายความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลประคับประคองที่บ้านและประเมินผลรูปแบบในผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จำนวน 194 คน แบ่งเป็นผู้ร่วมวิจัยเชิงปริมาณ 74 คน และเชิงคุณภาพ 120 คน โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และประเมินผลสมาธิเพื่อการเยียวยา SKT6 ต่อการมีคุณภาพชีวิต ความผาสุกด้านจิตวิญญาณ ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางกายโดยใช้แบบประเมิน ESAS และ ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยวิธีกึ่งทดลองในการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของผลเลือด ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนารูปแบบการพยาบาลแบบประคับประคองที่บ้านมี 4 ระยะคือการทาให้อุ่นใจ เข้าใจ ทำใจ และปลงใจ ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและครอบครัวมีประสบการณ์ชีวิตที่ทุกข์ทรมานจากอาการทางกาย จิตใจอารมณ์ และจิตวิญญาณ ภาวะเครียดทางเศรษฐกิจ และมีคะแนนความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยอยู่ ระหว่าง 29-86 การประเมินอาการทางกายจากคะแนนของ ESAS score อยู่ระหว่าง 0-61 , X 21.59 , SD 16.68 มีคะแนนคุณภาพชีวิตจากการรักษาด้วยการล้างไต อยู่ระหว่าง 6.71-27.97 , X 19.38, SD 4.24 ผู้ป่วยมีการปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยา SKT6 100% และมีผลต่อคุณภาพชีวิตโดยการใช้สมาธิเพื่อการเยียวยามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นในกระบวนการพยาบาลประคับประคองจาก 38.05 เป็น 62.93 ความผาสุกทั่วไปจาก 5.60 เป็น 7.85 ความผาสุกด้านจิตวิญญาณจาก 21.17 เป็น 28.54 และคุณภาพชีวิตโดยรวมจาก 18.44 เป็น 23.65 ส่วนผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีพบว่าระดับค่า Blood urea nitrogen( BUN) และ Creatinine มีการลดลงอย่างมีนัยสาคัญ มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับผลของ โซเดียม คลอไรด์และ BUN (r = - .40, - .45, p<.05) และมีความสัมพันธ์ของ BUN กับอาการทางกาย(r= .52, P<.05).
Degree Name
Doctor of Public Health
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Public Health
Degree Grantor(s)
Mahidol University