Population size and ecology of giant nuthatch (Sitta magna)
Issued Date
2024
Copyright Date
2018
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xiii, 103 leaves : ill., maps
Access Rights
open access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Biology))--Mahidol University, 2018
Suggested Citation
Supatchaya Techachoochert Population size and ecology of giant nuthatch (Sitta magna). Thesis (Ph.D. (Biology))--Mahidol University, 2018. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91639
Title
Population size and ecology of giant nuthatch (Sitta magna)
Alternative Title(s)
ขนาดประชากรและนิเวศวิทยาของนกไต่ไม้ใหญ่
Author(s)
Abstract
The Giant Nuthatch Sitta magna is restricted to southwestern China, eastern Myanmar and northern Thailand. Although globally Endangered, most aspects of its ecology remain as yet unquantified. This thesis covered four main aspects of the ecology of the species: (1) distribution and population size, (2) habitat requirement, (3) home range size, and (4) breeding ecology. To assess its distribution and population size, point counts were conducted at 42 sample points across northern Thailand. The species was found at four localities (12 of 42 sample points) and was not detected at four historical recorded localities in protected areas. We estimated the Giant Nuthatch population in Thailand as 964 individuals based on an average density of 1.96 individuals/km2 in c.491.8 km2 of appropriate forest habitat at 1,192 -1,951 m elevation. Line transect surveys in Chiang Dao Wildlife Sanctuary, a stronghold of the species, revealed that the Giant Nuthatch density there was as high as 5.2 birds/km2 and was associated with proportion of pines and increased elevation. Using radio telemetry, the home range size of a nesting pair was found to be 19.7 ha. Habitat utilization was correlated with areas with a high proportion of pines, open canopy, trees of larger DBH and higher tree number, and was weakly associated with oaks (Fagaceae). There was a strong association with pines, which Giant Nuthatch used both for foraging and for storing food. This information is fundamental to ensure effectiveness in conservation management.
นกไต่ไม้ใหญ่ (Sitta magna) อาศัยอยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ทางตะวันออกของประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย แม้ว่านกไต่ไม้ใหญ่จะจัดเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์แต่ข้อมูลเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของนกชนิดนี้ยังมีการศึกษาไม่มากนัก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำ เสนอการศึกษานิเวศวิทยาของนกไต่ไม้ใหญ่ใน 4 แง่มุมหลัก ได้แก่ (1) การแพร่กระจายและขนาดประชากร (2) พื้นที่อยู่อาศัยที่ต้องการ (3) ขนาดพื้นที่หากิน (4) นิเวศวิทยาช่วงผสมพันธุ์เราได้สำรวจด้วยวิธีการกำหนดจุดสำรวจ (point count) ใน 42 จุดสำรวจทั่วภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อที่จะศึกษาการแพร่กระจายและขนาดประชากร เราพบนกไต่ไม้ใหญ่ใน 4 พื้นที่ (12 ใน 42 จุดสำรวจ) และไม่พบนกใน 4 พื้นที่ที่มีรายงานการพบเห็นก่อนหน้านี้แม้ว่าพื้นที่เหล่านี้จะจัดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เราประเมินประชากรนกไต่ไม้ใหญ่ในประเทศไทยประมาณ 964 ตัว โดยคำนวณจากความหนาแน่นเฉลี่ย 1.96 ตัว/ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ป่าที่เหมาะสมระหว่างความสูง 1,192 -1,951 เมตรขนาดประมาณ 491.8 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้เรายังทำการสำรวจความหนาแน่นของนกไต่ไม้ใหญ่โดยการวางเส้นสำรวจ (line transect) ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของประชากรนกไต่ไม้ใหญ่ จากผลการสำรวจพบว่าความหนาแน่นของนกไต่ไม้ใหญ่สูงถึง 5.2 ตัว/ตารางกิโลเมตรและความหนาแน่นมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนของต้นสนในพื้นที่และความสูงจากระดับน้ำทะเล เราทำการสำรวจขนาดพื้นที่หากินโดยการติดวิทยุติดตามนกไต่ใหญ่หนึ่งคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์และพบว่าพื้นที่หากินของนกตัวผู้มีขนาด 19.7 เฮกตาร์ และนกมีการเลือกใช้พื้นที่ที่มีอัตราส่วนของต้นสนมาก ต้นไม้มีขนาดใหญ่ มีเรือนยอดเปิดโล่ง มีจำนวนต้นไม้ต่อพื้นที่มาก โดยมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับต้นก่อ (วงศ์ Fagaceae) นอกจากนี้นกไต่ไม้ใหญ่ยังมีความสัมพันธ์กับต้นสนอย่างมีนัยสำคัญ โดยนกหาอาหารและ กักตุนอาหารบนต้นสนด้วย ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์นี้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์
นกไต่ไม้ใหญ่ (Sitta magna) อาศัยอยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ทางตะวันออกของประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย แม้ว่านกไต่ไม้ใหญ่จะจัดเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์แต่ข้อมูลเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของนกชนิดนี้ยังมีการศึกษาไม่มากนัก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำ เสนอการศึกษานิเวศวิทยาของนกไต่ไม้ใหญ่ใน 4 แง่มุมหลัก ได้แก่ (1) การแพร่กระจายและขนาดประชากร (2) พื้นที่อยู่อาศัยที่ต้องการ (3) ขนาดพื้นที่หากิน (4) นิเวศวิทยาช่วงผสมพันธุ์เราได้สำรวจด้วยวิธีการกำหนดจุดสำรวจ (point count) ใน 42 จุดสำรวจทั่วภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อที่จะศึกษาการแพร่กระจายและขนาดประชากร เราพบนกไต่ไม้ใหญ่ใน 4 พื้นที่ (12 ใน 42 จุดสำรวจ) และไม่พบนกใน 4 พื้นที่ที่มีรายงานการพบเห็นก่อนหน้านี้แม้ว่าพื้นที่เหล่านี้จะจัดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เราประเมินประชากรนกไต่ไม้ใหญ่ในประเทศไทยประมาณ 964 ตัว โดยคำนวณจากความหนาแน่นเฉลี่ย 1.96 ตัว/ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ป่าที่เหมาะสมระหว่างความสูง 1,192 -1,951 เมตรขนาดประมาณ 491.8 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้เรายังทำการสำรวจความหนาแน่นของนกไต่ไม้ใหญ่โดยการวางเส้นสำรวจ (line transect) ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของประชากรนกไต่ไม้ใหญ่ จากผลการสำรวจพบว่าความหนาแน่นของนกไต่ไม้ใหญ่สูงถึง 5.2 ตัว/ตารางกิโลเมตรและความหนาแน่นมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนของต้นสนในพื้นที่และความสูงจากระดับน้ำทะเล เราทำการสำรวจขนาดพื้นที่หากินโดยการติดวิทยุติดตามนกไต่ใหญ่หนึ่งคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์และพบว่าพื้นที่หากินของนกตัวผู้มีขนาด 19.7 เฮกตาร์ และนกมีการเลือกใช้พื้นที่ที่มีอัตราส่วนของต้นสนมาก ต้นไม้มีขนาดใหญ่ มีเรือนยอดเปิดโล่ง มีจำนวนต้นไม้ต่อพื้นที่มาก โดยมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับต้นก่อ (วงศ์ Fagaceae) นอกจากนี้นกไต่ไม้ใหญ่ยังมีความสัมพันธ์กับต้นสนอย่างมีนัยสำคัญ โดยนกหาอาหารและ กักตุนอาหารบนต้นสนด้วย ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์นี้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Mahidol University. Faculty of Science
Degree Discipline
Biology
Degree Grantor(s)
Mahidol University