Factors influencing warfarin adherence in patients with atrial fibrillation
Issued Date
2024
Copyright Date
2018
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 134 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.N.S. (Nursing))--Mahidol University, 2018
Suggested Citation
Varaporn Panichpathom Factors influencing warfarin adherence in patients with atrial fibrillation. Thesis (M.N.S. (Nursing))--Mahidol University, 2018. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91797
Title
Factors influencing warfarin adherence in patients with atrial fibrillation
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
Author(s)
Abstract
This descriptive study with predictive correlational design aimed to examine the factors influencing warfarin adherence in patients with atrial fibrillation. Multidimensional Adherence Model (World Health Organization, 2003) was used as a conceptual framework for this study. Independent variables were complexity of warfarin regimen, health literacy, perceived benefits, and barriers of taking warfarin. One hundred and twenty (120) non-valvular atrial fibrillation patients receiving warfarin for at least 3 months, self-administered their medication, had ability to read, write, and speak Thai language, and came for follow-up medical treatment at Medical Out-patient Unit at a university hospital in Bangkok were recruited using the convenience sampling method. Research instruments included personal information form, Medication Regimen Complexity Index (Thai version), Health Literacy Scale (Thai version), Beliefs About Oral Anticoagulation Survey (Thai version), and Oral Anticoagulation Measurement of Treatment Adherence (Thai version). All data were analysed by descriptive statistics, Spearman's rank correlational analysis, and multiple linear regression analysis. The results reported that all participants adhered to warfarin medication (M = 5.76, S.D. = 0.25), had moderate complexity of warfarin regimen (M = 5.28, S.D. = 1.66), had adequate health literacy (M = 2.78, S.D. = 0.44), had high level of perceived benefits (M = 21.31, S.D. = 2.93), and had moderate level of perceived barriers of taking warfarin (M = 17.14, S.D. = 4.52). In multiple linear regression, all independent variables could explain 14% of the variance in warfarin adherence (R2 = .140, F(4,115) = 4.664, p < .01). However, only perceived barriers of taking warfarin significantly predicted warfarin adherence (β = -.285, p < .01). The findings recommend that health care providers in clinical settings should provide health education to reduce barriers and improve warfarin adherence in patients with atrial fibrillation.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แบบจำลองความหลากหลายมิติของความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก (2003) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรอิสระคือ ความซับซ้อนของแผนการใช้ยาวาร์ฟาริน ความรู้เท่าทันทางสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟาริน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับยาวาร์ฟารินอย่างน้อย 3 เดือน, จัดยารับประทานเอง, สามารถอ่าน เขียนและพูดภาษาไทยได้และมารับการรักษาที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 120 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ดัชนีชี้วัดความซับซ้อนของแผนกำหนดการใช้ยา แบบสอบถามความรู้เท่าทันทางสุขภาพ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดและแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรณนา สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมนและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกรายมีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟาริน (M = 5.76, S.D. = 0.25), มีความซับซ้อนของแผนการใช้ยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับปานกลาง (M = 5.28, S.D. = 1.66), มีความรู้เท่าทันทางสุขภาพอยู่ในระดับเพียงพอ (M = 2.78, S.D. = 0.44), มีการรับรู้ประโยชน์ในการรับประทานยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับสูง (M = 21.31, S.D. = 2.93), และมีการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับปานกลาง (M = 17.14, S.D. = 4.52) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 14 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2= .140, F(4,115) = 4.664, p < .01) โดยการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.285, p < .01) บุคคลากรทางด้านสุขภาพควรให้ความรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อลดอุปสรรคและเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินแก่ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับประทานยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แบบจำลองความหลากหลายมิติของความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก (2003) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรอิสระคือ ความซับซ้อนของแผนการใช้ยาวาร์ฟาริน ความรู้เท่าทันทางสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟาริน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับยาวาร์ฟารินอย่างน้อย 3 เดือน, จัดยารับประทานเอง, สามารถอ่าน เขียนและพูดภาษาไทยได้และมารับการรักษาที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 120 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ดัชนีชี้วัดความซับซ้อนของแผนกำหนดการใช้ยา แบบสอบถามความรู้เท่าทันทางสุขภาพ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดและแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรณนา สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมนและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกรายมีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟาริน (M = 5.76, S.D. = 0.25), มีความซับซ้อนของแผนการใช้ยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับปานกลาง (M = 5.28, S.D. = 1.66), มีความรู้เท่าทันทางสุขภาพอยู่ในระดับเพียงพอ (M = 2.78, S.D. = 0.44), มีการรับรู้ประโยชน์ในการรับประทานยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับสูง (M = 21.31, S.D. = 2.93), และมีการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับปานกลาง (M = 17.14, S.D. = 4.52) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 14 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2= .140, F(4,115) = 4.664, p < .01) โดยการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.285, p < .01) บุคคลากรทางด้านสุขภาพควรให้ความรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อลดอุปสรรคและเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินแก่ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
Description
Nursing (Mahidol University 2018)
Degree Name
Master of Nursing Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Nursing
Degree Discipline
Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University