เป็นผู้ชาย อย่าหยุดหล่อ: บทพรรณนาว่าด้วยความเป็นชายและเรือนร่างจากเรื่องเล่าของชายศัลยกรรมความงาม
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 130 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
ปิยวัช ชำนาญกิจ เป็นผู้ชาย อย่าหยุดหล่อ: บทพรรณนาว่าด้วยความเป็นชายและเรือนร่างจากเรื่องเล่าของชายศัลยกรรมความงาม . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91975
Title
เป็นผู้ชาย อย่าหยุดหล่อ: บทพรรณนาว่าด้วยความเป็นชายและเรือนร่างจากเรื่องเล่าของชายศัลยกรรมความงาม
Alternative Title(s)
Becoming handsome : narratives of masculinity and body in men undergoing cosmetic surgeries
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This thesis aims to study masculinity and body of Thai men undergoing the cosmetic surgery in the contemporary Thai society. Using a narratives method, semi-structured interviews were conducted with 12 men who identified themselves as heterosexual and received cosmetic surgeries by surgical procedures or injection. The findings reveal that the media play an important role in promoting the image of the modern men who care about physical appearances and in shaping a beauty standard for men. The valorization of good look and peer pressure among urban young men in higher education settings motivate men to seek cosmetic surgeries. In addition, the transition toward a service economy and increasing participation of men in the service sector draw young men to acquire desirable looks through cosmetic surgeries. However, the ideal of traditional masculinity that should not be obsessed with their physical appearances still influence men ideology. Opinions on men who undergo cosmetic surgeries are mixed. Finally, I argue that men who received cosmetic surgeries are not only passive victims of discourses but also active agents who choose to position themselves in society
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายของร่างกายและความเป็นชายในสังคมไทยสมัยใหม่ผ่านการทำศัลยกรรมความงามของผู้ชาย ผู้ศึกษาทำการการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ชายที่อ้างอิงตนเองว่าเป็นชายรักต่างเพศ ที่ยอมรับว่าทำศัลยกรรมความงาม ด้วยกระบวนการผ่าตัด หรือฉีดสารต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย จำนวน 12 คน การศึกษาพบว่าสื่อสมัยใหม่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเป็นชายแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์และสื่อยังมีบทบาทในการเผยแพร่มาตรฐานความงามและร่างกายที่พึงปรารถนาของผู้ชาย สังคมคนรุ่นใหม่ในสถาบันการศึกษาในเมืองให้คุณค่ากับรูปร่างหน้าตาและผลักดันให้ผู้ชายรุ่นใหม่ทำศัลยกรรมความงามเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและแข่งขันได้ในกลุ่มเพื่อน นอกจากนั้น รูปร่างหน้าตายังเป็นปัจจัยสำคัญในเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เน้นงานบริการในภาวะที่ผู้ชายเข้าสู่อาชีพบริการมากขึ้น ขณะเดียวกันอุดมคติความเป็นชายแบบดั้งเดิมที่เห็นว่าผู้ชายไม่ควรหมกมุ่นกับความงามและร่างกายของตนเองก็ยังมีอิทธิพลอยู่ ทำให้คนในสังคมมีทั้งยอมรับและไม่ยอมรับผู้ชายที่ทำศัลยกรรมความงาม อย่างไรก็ตามผู้ศึกษาเห็นว่า ผู้ชายในกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงเหยื่อของวาทกรรมเท่านั้น แต่เป็นผู้กระทำการที่เลือกตัดสินใจในบริบทของสังคมปัจจุบันเพื่อต่อรองตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของตนเอง
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายของร่างกายและความเป็นชายในสังคมไทยสมัยใหม่ผ่านการทำศัลยกรรมความงามของผู้ชาย ผู้ศึกษาทำการการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ชายที่อ้างอิงตนเองว่าเป็นชายรักต่างเพศ ที่ยอมรับว่าทำศัลยกรรมความงาม ด้วยกระบวนการผ่าตัด หรือฉีดสารต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย จำนวน 12 คน การศึกษาพบว่าสื่อสมัยใหม่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเป็นชายแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์และสื่อยังมีบทบาทในการเผยแพร่มาตรฐานความงามและร่างกายที่พึงปรารถนาของผู้ชาย สังคมคนรุ่นใหม่ในสถาบันการศึกษาในเมืองให้คุณค่ากับรูปร่างหน้าตาและผลักดันให้ผู้ชายรุ่นใหม่ทำศัลยกรรมความงามเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและแข่งขันได้ในกลุ่มเพื่อน นอกจากนั้น รูปร่างหน้าตายังเป็นปัจจัยสำคัญในเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เน้นงานบริการในภาวะที่ผู้ชายเข้าสู่อาชีพบริการมากขึ้น ขณะเดียวกันอุดมคติความเป็นชายแบบดั้งเดิมที่เห็นว่าผู้ชายไม่ควรหมกมุ่นกับความงามและร่างกายของตนเองก็ยังมีอิทธิพลอยู่ ทำให้คนในสังคมมีทั้งยอมรับและไม่ยอมรับผู้ชายที่ทำศัลยกรรมความงาม อย่างไรก็ตามผู้ศึกษาเห็นว่า ผู้ชายในกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงเหยื่อของวาทกรรมเท่านั้น แต่เป็นผู้กระทำการที่เลือกตัดสินใจในบริบทของสังคมปัจจุบันเพื่อต่อรองตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของตนเอง
Description
วัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล