กระท่อม : ความหมาย การต่อรอง และการใช้ของหมอพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 185 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ธนัช นาคะพันธ์ กระท่อม : ความหมาย การต่อรอง และการใช้ของหมอพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92713
Title
กระท่อม : ความหมาย การต่อรอง และการใช้ของหมอพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง
Alternative Title(s)
Kratom : meaning, negotiation and usage among folk healers in Southern Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การให้ความหมายต่อกระท่อมภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในกลุ่มหมอพื้นบ้าน กลุ่มผู้ใช้ (ผู้ป่วยและเยาวชน) และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ (เจ้าหน้าที่ของรัฐและ อาสาสมัครสาธารณสุข) จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง 2) แบบแผนการใช้กระท่อมเป็นยารักษาโรคของหมอพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง 3) วิธีการต่อรองกับวาทกรรมกระท่อมเป็นยาเสพติดของหมอพื้นบ้านในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คัดเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง คือ จังหวัดสงขลาและสตูล มีผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม จำนวน 32 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มการสังเกต และสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การให้ความหมายต่อกระท่อมจากผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม พบว่า กระท่อมเป็นยาสมุนไพรใช้รักษาโรคได้ ช่วยกระตุ้นการทางานของร่างกาย ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งแก่ร่างกาย และมีผลต่อพฤติกรรมและจิตใจ ส่วนแบบแผนการใช้กระท่อมเป็นยารักษาโรคของหมอพื้นบ้าน พบลักษณะการใช้กระท่อมในฐานะยาสมุนไพร สาเหตุที่เลือกใช้กระท่อมปรุงยารักษาผู้ป่วย การเลือกชนิดกระท่อมใช้เป็นยา การได้มาซึ่งวัตถุดิบกระท่อม รูปแบบ/วิธีการใช้กระท่อมเป็นยารักษาโรค และการใช้ยาที่มีกระท่อมในผู้ป่วยที่มารับการรักษา อีกทั้ง วิธีการต่อรองกับวาทกรรมกระท่อมเป็นยาเสพติดของหมอพื้นบ้านพบ 3 ลักษณะ คือ การต่อรองในระดับปัจเจก ระดับพฤติกรรม และระดับข้อมูล ผลการศึกษาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มมีการให้ความหมายต่อกระท่อมที่ตรงกันคือ เป็นยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค และกระตุ้นการทำงานของร่างกายได้จริง ขณะที่ยังมีการให้ ความหมายย้อนแย้งกัน โดยกลุ่มหมอพื้นบ้านและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ต่อกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นว่า การใช้กระท่อมในทางที่ผิด จะส่งผลต่อพฤติกรรมและจิตใจ แต่กลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นกลับมองว่า กระท่อมช่วยทาให้จิตใจสงบ และไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม นอกจากนั้น ยังพบความหมายเชิงสัญญะที่ให้ทัศนะโดยหมอพื้นบ้านว่า กระท่อมคือยาแรง เหมาะสมกับผู้ชาย เป็นความหมายที่เปิดกว้าง ไม่ได้มีการผูกติดให้กระท่อมมีประโยชน์แค่การใช้เป็นยาจากสมุนไพรเพียงอย่างเดียว เป็นสัญญะของการดารงอยู่ของวัฒนธรรมการใช้กระท่อมจากความรู้/แบบแผนปฏิบัติที่สืบทอดต่อกันมาจากผู้เฒ่า ผู้แก่ และการใช้ตามประสบการณ์เพื่อเป็นยาไม่ได้ใช้ในทางอันตราย ภาพลักษณ์ดังกล่าวนี้ อาจยืนยันได้ว่า มีการดำรงอยู่ของกระท่อมในฐานะยาสมุนไพร เนื่องจากยังมีชุดความรู้ที่หลงเหลือ มีความเฉพาะ ไม่ได้แพร่หลายในชุมชนมากนัก ท่ามกลางการต่อรองกับกระแสวาทกรรมกระท่อมในสถานะ ยาเสพติดผิดกฎหมาย ที่ยังหยุดนิ่งตายตัว แต่อัตลักษณ์ความเป็นสังคมและวัฒนธรรมของหมอพื้นบ้านภาคใต้ กลับถูกสร้างขึ้นสามารถสร้างขึ้นใหม่ ให้มีความหลากหลายและซับซ้อน เลื่อนไหลไปตามเงื่อนไข และบริบทต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ กระท่อมมีความหมายเชิงสัญญะมากกว่าคำว่ายา ควรพัฒนามาตรการนโยบายกระท่อมในกลุ่มผู้ใช้ทางสุขภาพ เน้นความสำคัญด้านความเป็นธรรมชาติของพื้นถิ่น ฟื้นฟูองค์ความรู้จากหมอพื้นบ้านที่มีศักยภาพจริง และจำเป็นต้องเข้าใจ ยอมรับความรู้ของหมอพื้นบ้านโดยไม่มีอคติทางชาติพันธุ์
This was a qualitative study on Kratom . Whose purposes were to study the meaning of Kratom under the change of political, economic and cultural contexts among folk healers, Kratom users (patients and teenagers), and local state authorities in the lower south of Thailand, Traditional usage of Kratom for treatment and the implementation of discourse on Kratom as a narcotic drug for negotiation shall also be considered. This study was conducted in Songkhla and Satun province through focus group discussion, participant observation, and in-depth interview with three groups (32 participants in each group). The results showed that the definitions of Kratom were Kratom being used as a herb for treatment, enhancement of stimulation of the body system, promoting strength of the body, and effect on behavior and mind. The usage of Kratom as medicine by folk healers consisted of usage of Kratom as a herb, reason for selection of Kratom for treatment, type of Kratom, obtaining of raw materials, method of usage, and using drugs containing Kratom in patients. The negotiation of Kratom usage patterns by folk medicine healers was based on individual, on behavior and on information. Not only was Kratom represented as a herb medicine, but also it was a sign of the existing culture. Matters concerning the argument on suspicion of the illegality or non-illegality of the used Kratom, the identity of the folk medicine healers in south of Thailand could agreeably alter or re-establish under other contexts. The suggestion of definition of Kratom in terms of sign, not drug, it was found that the policy of using Kratom should be developed for those who use it for health purposes among healthcare practitioners. It is also recommended that Kratom should be considered and taken on as a local area identity since it is the natures gift for the locals. Kratom use should be given emphasis and priority as a function of the folk knowledge preserves.
This was a qualitative study on Kratom . Whose purposes were to study the meaning of Kratom under the change of political, economic and cultural contexts among folk healers, Kratom users (patients and teenagers), and local state authorities in the lower south of Thailand, Traditional usage of Kratom for treatment and the implementation of discourse on Kratom as a narcotic drug for negotiation shall also be considered. This study was conducted in Songkhla and Satun province through focus group discussion, participant observation, and in-depth interview with three groups (32 participants in each group). The results showed that the definitions of Kratom were Kratom being used as a herb for treatment, enhancement of stimulation of the body system, promoting strength of the body, and effect on behavior and mind. The usage of Kratom as medicine by folk healers consisted of usage of Kratom as a herb, reason for selection of Kratom for treatment, type of Kratom, obtaining of raw materials, method of usage, and using drugs containing Kratom in patients. The negotiation of Kratom usage patterns by folk medicine healers was based on individual, on behavior and on information. Not only was Kratom represented as a herb medicine, but also it was a sign of the existing culture. Matters concerning the argument on suspicion of the illegality or non-illegality of the used Kratom, the identity of the folk medicine healers in south of Thailand could agreeably alter or re-establish under other contexts. The suggestion of definition of Kratom in terms of sign, not drug, it was found that the policy of using Kratom should be developed for those who use it for health purposes among healthcare practitioners. It is also recommended that Kratom should be considered and taken on as a local area identity since it is the natures gift for the locals. Kratom use should be given emphasis and priority as a function of the folk knowledge preserves.
Description
สังคมศาสตร์และสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์และสุขภาพ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล