ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 159 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
พรนภา นาคโนนหัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93362
Title
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ
Alternative Title(s)
Risk factors for early postoperative cognitive dysfunction after cardiac surgery in older adults
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงคือ ระดับการรู้คิด ความปวดภายหลังการผ่าตัด คุณภาพการนอนหลับ การได้รับยากลุ่ม opioid และภาวะเพ้อสับสนภายหลังการผ่าตัด กับการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาโดยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (open heart surgery) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันโรคทรวงอก ในช่วงเดือนสิงหาคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 จำนวน 113 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัด ร้อยละ 27.40 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก พบว่า ระดับการรู้คิดบกพร่องจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัด 5.69 เท่า (OR 5.69, 95% CI 1.53 - 21.09, p=.009) ความปวดระดับปานกลางจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัด 3.23 เท่า (OR 3.23, 95% CI 1.30-7.99, p=.011) การรับยาระงับความปวดกลุ่ม opioid ทางหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น 1 มิลลิกรัมจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัด 1.03 เท่า (OR 1.03, 95% CI 1.01-1.05, p=.001) ภาวะเพ้อสับสนภายหลังการผ่าตัดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรูการเข้าใจหลังการผ่าตัด 7.62 เท่า (OR 7.62, 95% CI 2.76-21.04, p=.000) ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างแนวปฏิบัติในการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะการสูญเสียหน้าที่ด้านการรับรู้การเข้าใจหลังการผ่าตัดโดยอาศัยการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ
The present study used descriptive research which aimed to investigate risk factors of cognitive levels, postoperative pain, quality of sleep, opioid intake, and delirium and early postoperative cognitive dysfunction in older adults undergoing cardiac surgery. The study sample consisted of 113 older adults aged 60 years old, and older, who underwent an open-heart surgery at King Chulalongkorn Memorial Hospital, The Thai Red Cross Society Ramathibodi Hospital, and the Central Chest Institute of Thailand, between August 2015 and January 2016. The study findings revealed that 27.40% of the subjects suffered early postoperative cognitive dysfunction. Logistics multiple regression analysis revealed that impaired cognition increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 5.69 times (OR 5.69, 95% CI 1.53 - 21.09, p = 0.009). In addition, a moderate level of pain increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 3.23 times (OR 3.23, 95% CI 1.30-7.99, p=.011). Also, a 1 mg. increase in intravenous administration of opioid increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 1.03 time (OR 1.03, 95% CI 1.01-1.05, p = 0.001). Finally, postoperative delirium increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 7.62 times (OR 7.62, 95% CI 2.76-21.04, p = 0.000). The study findings could be utilized as baseline data to construct a practice guideline for members of a multidisciplinary team to prevent or reduce the incidence of early postoperative cognitive dysfunction in older adults undergoing a cardiac surgery.
The present study used descriptive research which aimed to investigate risk factors of cognitive levels, postoperative pain, quality of sleep, opioid intake, and delirium and early postoperative cognitive dysfunction in older adults undergoing cardiac surgery. The study sample consisted of 113 older adults aged 60 years old, and older, who underwent an open-heart surgery at King Chulalongkorn Memorial Hospital, The Thai Red Cross Society Ramathibodi Hospital, and the Central Chest Institute of Thailand, between August 2015 and January 2016. The study findings revealed that 27.40% of the subjects suffered early postoperative cognitive dysfunction. Logistics multiple regression analysis revealed that impaired cognition increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 5.69 times (OR 5.69, 95% CI 1.53 - 21.09, p = 0.009). In addition, a moderate level of pain increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 3.23 times (OR 3.23, 95% CI 1.30-7.99, p=.011). Also, a 1 mg. increase in intravenous administration of opioid increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 1.03 time (OR 1.03, 95% CI 1.01-1.05, p = 0.001). Finally, postoperative delirium increased the risk of early postoperative cognitive dysfunction by 7.62 times (OR 7.62, 95% CI 2.76-21.04, p = 0.000). The study findings could be utilized as baseline data to construct a practice guideline for members of a multidisciplinary team to prevent or reduce the incidence of early postoperative cognitive dysfunction in older adults undergoing a cardiac surgery.
Description
การพยาบาลผู้สูงอายุ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลผู้สูงอายุ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล