ศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนเมือง
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 135 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
ดวงตา โสมาบุตร ศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนเมือง. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93467
Title
ศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนเมือง
Alternative Title(s)
The family potential in dementia ageing's care in urban community
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาเชิงคุณภาพ เรื่องศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้คุณค่าต่อบทบาทการเป็นผู้ดูแล และการทำหน้าที่ของครอบครัวในการ ดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนเมือง เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต และการเล่า เรื่องราวจากผู้ดูแลจำนวน 8 ครอบครัว โดยผู้ดูแลมีสถานภาพเป็นภรรยา 4 ราย บุตรสาว 3 ราย และพี่สาว 1 ราย ผลการศึกษาพบว่าการให้คุณค่าต่อการเป็นผู้ดูแลขึ้นกับความสัมพันธ์ 3 รูปแบบ ส่วนใหญ่ ให้คุณค่าไปตามความคาดหวังและบรรทัดฐานของสังคม ต่อบทบาทที่ได้รับการอบรมขัดเกลา ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นบทบาทของผู้หญิง การให้คุณค่าในฐานะการเป็นภรรยา คือ การดูแลกันและกัน เป็นการแสดง ถึงความรัก ความห่วงใย ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การให้คุณค่าในฐานะการเป็นลูก คือ ลูกมีหน้าที่ ในการดูแลพ่อแม่ เพื่อตอบแทนบุญคุณ เป็นความผูกพันทางสายโลหิต ที่แน่นแฟ้น เป็นสายใยรักที่ตัด ไม่ขาด ที่เชื่อมจากรุ่นลูกไปสู่รุ่นหลาน การให้คุณค่าในฐานะการเป็นพี่ เป็นการแสดงออกถึงความ ใกล้ชิดผูกพัน ความห่วงใยที่มีต่อกัน และเป็นความเกื้อกูลกันบนพื้นฐานของความสงสาร ศักยภาพครอบครัว คือ การทำหน้าที่ของครอบครัว 4 ประการ ได้แก่ 1) การปรับตัว 2) การ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 3) การเชื่อมประสานความสัมพันธ์ 4) การธำรงรักษาแบบแผน จากผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัว มีความสำคัญต่อศักยภาพครอบครัวมากกว่ารูปแบบของครอบครัว ข้อเสนอแนะจากการศึกษา 1) จากแนวโน้มที่ครอบครัวต้องมีการพึ่งพาผู้ดูแลทั้งที่เป็น สมาชิกในครอบครัว และผู้ดูแลในระบบจ้างงาน ในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมมากขึ้น การเตรียมความ พร้อมของผู้ดูแลจึงมีความสำคัญ เนื่องจากผู้ดูแลต้องเป็นผู้มีความเข้าใจในภาวะของโรค มีทักษะ รวมถึง ต้องมีความอดทน 2) การประชาสัมพันธ์ให้มีการนำแบบประเมิน IADL มาใช้อย่างแพร่หลาย ในการ คัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น รวมถึงมีการเชื่อมประสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยสมอง เสื่อมระหว่างโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยกับโรงพยาบาลท้องถิ่น
The qualitative research on Family Potential for Taking Care of the Elderly with Dementia in the urban community aimed to study valuing carers' roles and family roles in taking care of the elderly with dementia in the urban community. Data were collected by the interview, observation, and storytelling of carers of eight families consisting of four wives, three daughters, and an elder sister. The research results showed that valuing carers' roles depended on three models of relationship. Most people valued socialized roles which were mostly female roles according to expectation and social norm. Valuing wife's role which was mutual care indicated mutual love, concern, and trust. As for valuing children's roles, children had to take care of their parents to express gratitude. This indicated tight bonds and love. Valuing roles of elder sisters expressed close relationships, bonds, concerns, and assistance based on sympathy. As for family potential, a family had to 1) adjust themselves, 2) achieve the specified goals, 3) create mutual relationship, and 4) maintain patterns. The research results showed that family relationship was important for family potential rather than family models. Research recommendations were as follows: 1) As family had to rely considerably more on carers who were both family members and employed carers and had to take care of the elderly with dementia, it was important to prepare carers' readiness because carers had to understand disease condition, have skills, and be patient. 2) Use of IADL Assessment Form should be widely disseminated for initial triage. University hospitals and local hospitals should cooperate and disseminate knowledge on taking care of patients with dementia.
The qualitative research on Family Potential for Taking Care of the Elderly with Dementia in the urban community aimed to study valuing carers' roles and family roles in taking care of the elderly with dementia in the urban community. Data were collected by the interview, observation, and storytelling of carers of eight families consisting of four wives, three daughters, and an elder sister. The research results showed that valuing carers' roles depended on three models of relationship. Most people valued socialized roles which were mostly female roles according to expectation and social norm. Valuing wife's role which was mutual care indicated mutual love, concern, and trust. As for valuing children's roles, children had to take care of their parents to express gratitude. This indicated tight bonds and love. Valuing roles of elder sisters expressed close relationships, bonds, concerns, and assistance based on sympathy. As for family potential, a family had to 1) adjust themselves, 2) achieve the specified goals, 3) create mutual relationship, and 4) maintain patterns. The research results showed that family relationship was important for family potential rather than family models. Research recommendations were as follows: 1) As family had to rely considerably more on carers who were both family members and employed carers and had to take care of the elderly with dementia, it was important to prepare carers' readiness because carers had to understand disease condition, have skills, and be patient. 2) Use of IADL Assessment Form should be widely disseminated for initial triage. University hospitals and local hospitals should cooperate and disseminate knowledge on taking care of patients with dementia.
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล