ความรู้และทัศนคติที่เกี่ยวกับสิทธิมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชน : กรณีศึกษาอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 301 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
จุฑาธิป ถิ่นถลาง ความรู้และทัศนคติที่เกี่ยวกับสิทธิมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชน : กรณีศึกษาอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93488
Title
ความรู้และทัศนคติที่เกี่ยวกับสิทธิมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชน : กรณีศึกษาอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
Alternative Title(s)
Knowledge and attitudes concerning the rights to participate in the sustainable natural resources management, maintenance, and use affecting people's behaviors in the mangrove forest preservation : a case study of the Kanom district, Nakhon Sri Thammarat province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ทัศนคติที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน การมีส่วนร่วม และสิทธิมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน และพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชน ความสัมพันธ์ของ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชน รวมถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนของครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 300 ครัวเรือน และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี ค่าร้อยละ ค่าเฉลี ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มย่อยของตัวแปรอิสระ โดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มแบบที่(t-test) และสถิติวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : One-Way ANOVA) ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้สถิติตามวิธีของ Scheffe และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามซึ่งมีระดับการวัดแบบช่วง (Interval Scale) โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) นำเสนอโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน การมีส่วนร่วม และสิทธิชุมชนในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน การมีส่วนร่วม และสิทธิชุมชนในระดับมาก และมีพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านบุคคล กับพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชน พบว่า ตำแหน่งทางสังคม อายุ และสถานภาพ สมรสมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม กับพฤติกรรมการอนุรักษ์ ป่าชายเลนของประชาชน พบว่า การใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และขนาดที่ดินที่ถือครอง มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม พบว่า ผู้ที่เป็นบุตร/ธิดาในครัวเรือน ผู้ที่ีมีสถานภาพหย่า/แยกกันอยู่ผู้ที่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ผู้ที่ว่างงาน ผู้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ผู้ที่มีอายุมาก ผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนมาก จะมีคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีลักษณะดังกล่าว ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดอบรมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เป็นหัวหน้า ครัวเรือนหรือตัวแทนของครัวเรือน ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้บริบทของสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องสิทธิมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อที่บุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และความเข้าใจให้แก่สมาชิกในครัวเรือนต่อไปได้ นอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน ควรมุ่งเน้นไปที่ประชาชน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มของประชาชนที่มีอายุมาก กลุ่มของประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงทั้งที่เป็นอาชีพหลักและอาชีพรอง และกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนมาก
The objectives of this study were to study knowledge and attitude regarding natural resources, mangrove forest, participation and rights to participate towards sustainable natural resources management, maintenance and use, behavior of mangrove forest preservation, which influence on behavior of mangrove forest preservation, including problems, obstacles and suggestions toward behavior of mangrove forest preservation of people who live in Kanom district, Nakhon Sri Thammarat province. Data collection was conducted through questionnaires distributed to leaders or representatives of 300 local households, aged over 20 years old, who had been residing in Kanom district, Nakhon Sri Thammarat province over 1 year and in-depth interviews with 4 key informants. Statistical analysis used frequency, percentage, mean average, standard deviation, maximum value and minimum value, t-test, One-Way ANOVA, analysis of Scheffe and Multiple Regression Analysis. Data from in-depth interviews are in content analysis form. The study result found that the sample group had a medium knowledge regarding natural resources, mangrove, participation and community rights, a high attitude regarding natural resources, mangrove, participation and community and a medium behavior of mangrove forest preservation. The analysis of the differences between personal factors with behavior of mangrove forest preservation indicated that social status, age and marital status affected behavior of mangrove forest preservation. The analysis of the differences between economics and social factors with behavior of mangrove forest preservation indicated that utilizing mangrove forest, area living and total of land tenure affected behavior of mangrove forest preservation. The Multiple Regression Analysis results indicated that those who are the son or the daughter of the household, a divorced or separated person, a person who has no social status, a person who has no occupation, a person who did not exploit mangrove forest, an older person, a person who has higher income have a lower score of behavior of mangrove forest preservation than those who are not. This study suggested that the related officers or agencies should arrange knowledge training regarding participation which includes rights to participate towards sustainable natural resources management, maintenance and use, including discussion with the leaders or representatives of household so that they can promote knowledge and understanding toward the member of household. Furthermore, the related agencies should arrange mangrove forest preservation activities for the people who are elders, fishermen and have higher household income
The objectives of this study were to study knowledge and attitude regarding natural resources, mangrove forest, participation and rights to participate towards sustainable natural resources management, maintenance and use, behavior of mangrove forest preservation, which influence on behavior of mangrove forest preservation, including problems, obstacles and suggestions toward behavior of mangrove forest preservation of people who live in Kanom district, Nakhon Sri Thammarat province. Data collection was conducted through questionnaires distributed to leaders or representatives of 300 local households, aged over 20 years old, who had been residing in Kanom district, Nakhon Sri Thammarat province over 1 year and in-depth interviews with 4 key informants. Statistical analysis used frequency, percentage, mean average, standard deviation, maximum value and minimum value, t-test, One-Way ANOVA, analysis of Scheffe and Multiple Regression Analysis. Data from in-depth interviews are in content analysis form. The study result found that the sample group had a medium knowledge regarding natural resources, mangrove, participation and community rights, a high attitude regarding natural resources, mangrove, participation and community and a medium behavior of mangrove forest preservation. The analysis of the differences between personal factors with behavior of mangrove forest preservation indicated that social status, age and marital status affected behavior of mangrove forest preservation. The analysis of the differences between economics and social factors with behavior of mangrove forest preservation indicated that utilizing mangrove forest, area living and total of land tenure affected behavior of mangrove forest preservation. The Multiple Regression Analysis results indicated that those who are the son or the daughter of the household, a divorced or separated person, a person who has no social status, a person who has no occupation, a person who did not exploit mangrove forest, an older person, a person who has higher income have a lower score of behavior of mangrove forest preservation than those who are not. This study suggested that the related officers or agencies should arrange knowledge training regarding participation which includes rights to participate towards sustainable natural resources management, maintenance and use, including discussion with the leaders or representatives of household so that they can promote knowledge and understanding toward the member of household. Furthermore, the related agencies should arrange mangrove forest preservation activities for the people who are elders, fishermen and have higher household income
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล