มิติทางวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนมอญบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 181 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
สุนิสา เปี่ยมคุ้ม มิติทางวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนมอญบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93510
Title
มิติทางวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนมอญบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
The cultural dimension in development of Mon community at Bang-Kar-Di Samae-Dam sub-district, Bang-Khun-Tian district, Bangkok
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การพัฒนาของชุมชน ค้นหาทุนทางวัฒนธรรม และนำเสนอแนวทางการพัฒนาโดยใช้วัฒนธรรมของชุมชนมอญบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยใช้ทฤษฏีความขัดแย้งของ Karl Marx แนวคิดทุนทางวัฒนธรรมในการ พัฒนาและแนวคิดการพัฒนาชุมชนบนมิติวัฒนธรรมเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการลงพื้นที่เพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนมอญบางกระดี่ โดยใช้วิธีวิจัยภาคสนาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ประกอบกับการสัมภาษณ์ และ บันทึกเสียง การบันทึกภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ผลการศึกษาพบว่าชุมชนมอญบางกระดี่มีประวัติศาสตร์การพัฒนามาอย่างยาวนาน การรับรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมกันส่งผลให้ชาวมอญบางกระดี่ มีสำนึกในความเป็นชาติและสามัคคีกันในการรักษาศิลปวัฒนธรรมของตนไว้ ผู้วิจัยพบทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน 5 ด้าน คือ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความ เชื่อ หัตถกรรม และภาษา ประกอบด้วย การนับถือผี ประเพณีสงกรานต์ ทะแยมอญ การเล่นสะบ้า การแต่งกาย การทำแส้ การตักบาตรดอกไม้ การตักบาตรน้ำผึ้ง การเย็บจาก ภาษามอญ และอาหาร ทุนดังกล่าวนับเป็นรากฐานในการพัฒนาชุมชน ได้แนวทางการพัฒนาชุมชนของชาวมอญบางกระดี่นั้นเริ่มจากคนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ตนเองมีไว้ ต่อมาสิ่งเหล่านี้เองจะกลายเป็นทุนของชุมชน และทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเหล่านี้ก็จะกลับไปช่วยให้ชุมชนมอญแห่งนี้ยังคงอยู่ ทำให้พื้นที่ของชาวมอญบางกระดี่ เป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียง คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีรายได้จากการท่องเที่ยว การขายผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน สิ่งเหล่านี้ทำให้คนในชุมชนเกิดความสามัคคี สำนึกในความเป็นมอญ การมีความเชื่อร่วมกัน ส่งผลให้ชุมชนมอญมีความยั่งยืน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อีกทั้งสามารถนำแนวทางการพัฒนาชุมชน ของชาวมอญบางกระดี่ไปปรับใช้กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตลอดจนกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเมืองได้อีกด้วย
This qualitative research aims to study the history of community development, search forthe cultural capital, and determine the method for community development of the Mon Bangkradee community, Samaedum sub- district, Bang KhunThian district, Bangkok. This research also uses the conflict theory of Karl Marx, the concept of cultural capital in the development, as well as the concept of community development on the cultural dimension as guidance in the analysis. The researcher collected data by doing fieldwork to find out the cultural capital of the Mon Bangkradee community by using field methodology, participant observation and non- participant observation, accompanied with interviewing and recording in the forms of both images and videos. The study found that the Mon Bangkradee community has observed their own traditions for a long time. The recognition of local history together leads to people in Mon Bangkradee community to have a sense of nationhood and unity to maintain their own cultural idenity. The researcher found five areas of cultural capital for communities: art and culture, traditions, beliefs, handicrafts, and language. These are a base of community development for the Mon inBangkradee communities to begin to preserve their own art and culture thus, all of them are finally community assets and they also are factors for maintaining the community. The Mon Bangkradee community have become famous and popular and the people of the community are proud of themselves because they earn much more income from tourism and selling products from the community. Besides, cultural capital leads to unity in the community and recognition of the Mon identity. Finally, we can apply the way of Mon Bangkradee community development to other ethnic groups in both rural and urban areas as well.
This qualitative research aims to study the history of community development, search forthe cultural capital, and determine the method for community development of the Mon Bangkradee community, Samaedum sub- district, Bang KhunThian district, Bangkok. This research also uses the conflict theory of Karl Marx, the concept of cultural capital in the development, as well as the concept of community development on the cultural dimension as guidance in the analysis. The researcher collected data by doing fieldwork to find out the cultural capital of the Mon Bangkradee community by using field methodology, participant observation and non- participant observation, accompanied with interviewing and recording in the forms of both images and videos. The study found that the Mon Bangkradee community has observed their own traditions for a long time. The recognition of local history together leads to people in Mon Bangkradee community to have a sense of nationhood and unity to maintain their own cultural idenity. The researcher found five areas of cultural capital for communities: art and culture, traditions, beliefs, handicrafts, and language. These are a base of community development for the Mon inBangkradee communities to begin to preserve their own art and culture thus, all of them are finally community assets and they also are factors for maintaining the community. The Mon Bangkradee community have become famous and popular and the people of the community are proud of themselves because they earn much more income from tourism and selling products from the community. Besides, cultural capital leads to unity in the community and recognition of the Mon identity. Finally, we can apply the way of Mon Bangkradee community development to other ethnic groups in both rural and urban areas as well.
Description
วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล