Publication: ผลของกิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุ
Issued Date
2566
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Journal Title
วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
Volume
19
Issue
2
Start Page
38
End Page
56
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 19, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2566), 38-56
Suggested Citation
ธเนศพล อุบลรัตน์, นัทธี เชียงชะนา, นิอร เตรัตนชัย, Thanetpon Ubonrat, Natee Chiengchana, Nion Tayrattanachai ผลของกิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 19, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2566), 38-56. 56. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99225
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของกิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุ
Alternative Title(s)
Effect of Orff-Based Music Therapy Interventions on Social Skills for the Older Persons Authors
Author's Affiliation
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับทักษะสังคมของผู้สูงอายุ ก่อน ระหว่าง และหลังการทำกิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จากสถาบันผู้สูงอายุแมคเคน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดแบบกลุ่ม จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 40-45 นาที เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ กิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมทักทาย 2) กิจกรรมเข้าจังหวะ 3) กิจกรรมร้องเพลง 4) กิจกรรมเล่นเครื่องดนตรีเป็นกลุ่ม และ 5) กิจกรรมอำลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบประเมินการทำดนตรีบำบัดรายบุคคลด้านทักษะทางสังคม และ 3) แบบสังเกตการณ์ระหว่างกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุ ก่อน ระหว่าง และหลังการร่วมกิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมดนตรีบำบัดตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ สามารถช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมในผู้สูงอายุได้ จากการประเมินทักษะด้านสังคมรายด้านและโดยภาพรวม พบว่า ทักษะสังคมจำนวน 11 ด้าน จากทั้งหมด 12 ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยทักษะทางสังคมภาพรวมหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดมีระดับสูงขึ้น เมื่อเทียบกับก่อน และระหว่างการร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description
The purpose of this study was to compare the level of the older person’s social skills between pre-, mid-, and post- Orff-based music therapy intervention with a quasi-experiment one group repeated-measures design. The sample were 10 older persons from McKean Senior Center, Chiang Mai, Thailand. All samples attended 12 group music therapy sessions, 45 minutes per session, for six weeks. Orff-based music therapy intervention consisted of five activities: 1) greeting activities, 2) rhythmic activities, 3) group singing, 4) group instrument playing, and 5) goodbye activities. Research instruments used in this study were: 1) general background questionnaire, 2) The Individualized Music Therapy Assessment Profile (IMTAP) in Social Domain, and 3) observation form. Repeated-measure ANOVA was used to analyze the average of social skills among pre-, mid-, and post- interventions and content analysis was used to analyze the data from observation. The result revealed that Orff-based music therapy intervention can improve social skills in the older persons. According to the social skills averages in each item, there were significantly increased in 11 out of 12 items at the level of .05. For the overall score of social skills, the post-test scores were significantly higher than the pre- and mid-test scores at the level of .05.