Diabetes and impaired fasting glucose among Buddhist monks in Chanthaburi province : prevalence and associated risk factors
Issued Date
2011
Copyright Date
2011
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 91 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2011
Suggested Citation
Bhuwadol Kuramasuwan Diabetes and impaired fasting glucose among Buddhist monks in Chanthaburi province : prevalence and associated risk factors. Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2011. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95128
Title
Diabetes and impaired fasting glucose among Buddhist monks in Chanthaburi province : prevalence and associated risk factors
Alternative Title(s)
โรคเบาหวานและภาวะที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในพระภิกษุสงฆ์ จังหวัดจันทบุรี : ความชุกและปัจจัยเสี่ยง
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
โรคเบาหวานและอาการแสดงที่สัมพันธ์กับกลุ่มโรคเบาหวาน คือปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยรวมถึงกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความชุกของโรคเบาหวานและภาวะที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ จังหวัดจันทบุรี โดยศึกษาในพระภิกษุสงฆ์ ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 415 รูป สุ่มเลือกตัวอย่างตามลำดับชั้น เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย และการเจาะโลหิตปลายนิ้วเพื่อตรวจค่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ผลการศึกษา พบว่า ค่าความชุกของโรคเบาหวานของภิกษุสงฆ์ในจังหวัดจันทบุรีเท่ากับร้อยละ 10.8 โดยพบพระภิกษุสงฆ์ร้อยละ 2.8 ปัจจุบัน ยังรักษาอาการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และร้อยละ 8 ของกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ พบว่าเป็นการตรวจครั้งแรกและพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนค่าความชุกของภาวะที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารผิดปกติ (IFG) ได้เท่ากับ ร้อยละ 11.8 เมื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ พบว่ามี 5 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ จำนวนพรรษาที่บวช ค่าความดันโลหิตตัวบนที่เริ่มสูง การเดินบิณฑบาต การดื่มน้ำชาเขียวหรือชาบรรจุขวด 0-3 วัน/สัปดาห์ และ การขาดความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การคัดกรองโรคเบาหวานต้องทำสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ซึ่งสามารถจะทำรักษาได้ทันท่วงทีในช่วงแรก การส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายที่คล้ายการออกกำลังกายในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจน การส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชน ถึงอาหารที่เหมาะสมในการถวายพระ เช่น อาหารไขมันต่ำ อาหารที่มีกากใยอาหารสูง การเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานมากในการบริโภค เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสามารถประกอบกิจของสงฆ์ได้อย่างเหมาะสมและถือว่าเป็นการทำนุบำรุงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป.
Description
Infectious Diseases and Epidemiology (Mahidol University 2011)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Infectious Diseases and Epidemiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University