Diabetes and impaired fasting glucose among Buddhist monks in Chanthaburi province : prevalence and associated risk factors
dc.contributor.advisor | Nopporn Howteerakul | |
dc.contributor.advisor | Nawarat Suwannapong | |
dc.contributor.advisor | Petch Rawdaree | |
dc.contributor.author | Bhuwadol Kuramasuwan | |
dc.date.accessioned | 2024-02-07T02:14:04Z | |
dc.date.available | 2024-02-07T02:14:04Z | |
dc.date.copyright | 2011 | |
dc.date.created | 2011 | |
dc.date.issued | 2011 | |
dc.description | Infectious Diseases and Epidemiology (Mahidol University 2011) | |
dc.description.abstract | โรคเบาหวานและอาการแสดงที่สัมพันธ์กับกลุ่มโรคเบาหวาน คือปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยรวมถึงกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความชุกของโรคเบาหวานและภาวะที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ จังหวัดจันทบุรี โดยศึกษาในพระภิกษุสงฆ์ ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 415 รูป สุ่มเลือกตัวอย่างตามลำดับชั้น เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย และการเจาะโลหิตปลายนิ้วเพื่อตรวจค่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ผลการศึกษา พบว่า ค่าความชุกของโรคเบาหวานของภิกษุสงฆ์ในจังหวัดจันทบุรีเท่ากับร้อยละ 10.8 โดยพบพระภิกษุสงฆ์ร้อยละ 2.8 ปัจจุบัน ยังรักษาอาการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และร้อยละ 8 ของกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ พบว่าเป็นการตรวจครั้งแรกและพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนค่าความชุกของภาวะที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารผิดปกติ (IFG) ได้เท่ากับ ร้อยละ 11.8 เมื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ พบว่ามี 5 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ จำนวนพรรษาที่บวช ค่าความดันโลหิตตัวบนที่เริ่มสูง การเดินบิณฑบาต การดื่มน้ำชาเขียวหรือชาบรรจุขวด 0-3 วัน/สัปดาห์ และ การขาดความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การคัดกรองโรคเบาหวานต้องทำสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ซึ่งสามารถจะทำรักษาได้ทันท่วงทีในช่วงแรก การส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายที่คล้ายการออกกำลังกายในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจน การส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชน ถึงอาหารที่เหมาะสมในการถวายพระ เช่น อาหารไขมันต่ำ อาหารที่มีกากใยอาหารสูง การเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานมากในการบริโภค เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสามารถประกอบกิจของสงฆ์ได้อย่างเหมาะสมและถือว่าเป็นการทำนุบำรุงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป. | |
dc.format.extent | x, 91 leaves | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2011 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95128 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Blood sugar -- Analysis | |
dc.subject | Diabetes | |
dc.subject | Diabetes -- Risk factors | |
dc.subject | Monks -- Health and hygiene -- Thailand -- Chantaburi | |
dc.title | Diabetes and impaired fasting glucose among Buddhist monks in Chanthaburi province : prevalence and associated risk factors | |
dc.title.alternative | โรคเบาหวานและภาวะที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในพระภิกษุสงฆ์ จังหวัดจันทบุรี : ความชุกและปัจจัยเสี่ยง | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd465/4936432.pdf | |
thesis.degree.department | Faculty of Public Health | |
thesis.degree.discipline | Infectious Diseases and Epidemiology | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Master's degree | |
thesis.degree.name | Master of Science |