การรับรู้คุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกของผู้มาใช้บริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลราชบุรี
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 156 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
จุฑามาส กุลศัตยาภิรมย์ การรับรู้คุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกของผู้มาใช้บริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลราชบุรี . วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91950
Title
การรับรู้คุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกของผู้มาใช้บริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลราชบุรี
Alternative Title(s)
Customer's perception of Thai traditional and alternative medicine department's service quality in Ratchaburi Hospital
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
คุณภาพบริการเป็นตัวชี้วัดการจัดบริการสุขภาพ การวิจัยเชิงอรรถาธิบายแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ของผู้มาใช้บริการ โรงพยาบาลราชบุรี เก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการจำนวน 397 คน (99.25%) ช่วงเดือน สิงหาคมถึงกันยายนพ.ศ.2560 โดยแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ใช้สถิติทดสอบ Student T- Test, One - Way ANOVA และการถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้มาใช้บริการ อยู่ในระดับสูงมาก (M=6.16±0.642) รายด้านทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับสูงมาก สูงที่สุดคือ ด้านการทำให้มั่นใจ (M=6.27) รองลงมาด้านการตอบสนองความต้องการ (M=6.18) ปัจจัยที่อธิบายความผันแปรของการรับรู้คุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกของผู้มาใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pvalue< 0.05) มี 8 ปัจจัยคือ ผลการรักษาครั้งที่ผ่านมา ความมั่นใจการรักษาของแพทย์ ความรวดเร็วในการบริการ มีสิ่งอำนวยความสะดวก การสื่อสารปากต่อปากจากบุคคลในครอบครัว ความสะดวกในการเดินทาง ภูมิลำเนา และ มีสิทธิ์การรักษา โดยสามารถร่วมกันอธิบายการรับรู้คุณภาพบริการได้ร้อยละ 22.8 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้สำหรับผู้บริหารควรกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการบริการทุกด้านอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นเพิ่มการเอาใจใส่ และความน่าเชื่อถือของบริการ
Quality of service is a challenge to hospital management in this era. This explanatory cross-sectional study aims to assess the factors associated with customers' perception service quality of Thai traditional and alternative medicine department in the Ratchaburi hospital. A sample of 397 patients (99.25%) who had used the services during last 6 months was selected by simple random sampling method. Data were collected using a self-administered questionnaire that included 45 items. For data analysis, independent t-test. One-way ANOVA and multiple liner regression were used to identify associated factors and predictors. The results revealed that the service quality was at a very high level (Mean = 6.16?0.642). There were the eight positive significant factors that could predict the customers' perception service of quality (p-value < 0.001), and they were the predictors that could jointly explain the 22.8% variance in the customers' perception of service quality. (R2 Adjusted = 0.228, p-value < 0.001). In summary, this study recommends that hospital administrators consider the policy of improving the service quality concerning empathy and reliability.
Quality of service is a challenge to hospital management in this era. This explanatory cross-sectional study aims to assess the factors associated with customers' perception service quality of Thai traditional and alternative medicine department in the Ratchaburi hospital. A sample of 397 patients (99.25%) who had used the services during last 6 months was selected by simple random sampling method. Data were collected using a self-administered questionnaire that included 45 items. For data analysis, independent t-test. One-way ANOVA and multiple liner regression were used to identify associated factors and predictors. The results revealed that the service quality was at a very high level (Mean = 6.16?0.642). There were the eight positive significant factors that could predict the customers' perception service of quality (p-value < 0.001), and they were the predictors that could jointly explain the 22.8% variance in the customers' perception of service quality. (R2 Adjusted = 0.228, p-value < 0.001). In summary, this study recommends that hospital administrators consider the policy of improving the service quality concerning empathy and reliability.
Description
สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สาธารณสุขศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล