Expression of leptospiral recombinant protein for serodiagnosis

dc.contributor.advisorThareerat Kalambahet
dc.contributor.advisorParon Dekumyoy
dc.contributor.advisorAkanitt Jittmittraphap
dc.contributor.authorPiyanart Chalayon
dc.date.accessioned2024-02-09T05:49:56Z
dc.date.available2024-02-09T05:49:56Z
dc.date.copyright2009
dc.date.created2009
dc.date.issued2009
dc.descriptionTropical Medicine (Mahidol University 2009)
dc.description.abstractกระบวนการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซีสต้องอาศัยวิธีการทางห้องปฏิบัติการ การตรวจโดยวิธี MAT เป็นวิธีมาตรฐาน แม้ว่าจะไม่สามารถตรวจได้ในห้องปฏิบัติการทั่วไป เนื่องจากต้องเพาะเลี้ยงเชื้อ โปรตีนบนผิวเซลล์ของเชื้อเลปโตสไปโรซีสมีความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดี จึงเป็นแอนติเจนที่สำคัญเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ โปรตีน LipL32, LipL41 และ Loa22 เป็น แอนติเจนซึ่งถูกเลือกมาศึกษา และถูกโคลนเข้าสู่เวคเตอร์ pRSET-B รีคอมบิแนนท์โปรตีนที่ผลิตได้เพิ่ม จำนวนในเชื้อ E. coli และทำให้บริสุทธ์โดยใช้ Nikle affinity column รีคอมบิแนนท์โปรตีน LipL32, LipL41 และ Loa 22 มีขนาด 35, 27 และ 27 kDa ตามลำดับ รีคอมบิแนนท์โปรตีนทั้งสามชนิดถูกนำมา ทดลองเบื้องต้นโดยการทำปฏิกิริยากับซีรั่มที่มีผล MAT เป็นบวกโดยวิธี Western blot พบว่า รีคอม บิแนนท์โปรตีน LipL32 เท่านั้นที่มีปฏิกิริยา รีคอมบิแนนท์โปรตีนทั้งสามได้ถูกนำมาฉีดหนูเพื่อกระตุ้น การสร้างแอนติบอดี ซีรั่มหนูที่ได้สามารถทำปฏิกิริยากับเชื้อเลปโตสไปราบางสายพันธุ์ ซึ่งทำให้เห็นว่ารี คอมบิแนนท์โปรตีนทั้งสามชนิดมีคุณสมบัติเหมือนกับเชื้อเลปโตสไปรา รีคอมบิแนนท์โปรตีนถูกนำมา ทดสอบในการตรวจหา IgM และ IgG ด้วยวิธี ELISA เพื่อเปรียบเทียบกับวิธีการ MAT โดยใช้ซีรั่มคนไข้ที่ มีผล MAT เป็นบวก ซีรั่มที่จากคนที่สงสัยว่าเป็นเลปโตสไปโลซีสแต่ผล MAT เป็นลบ ซีรั่มคนปกติ และ ซีรั่มของคนไข้กลุ่มโรค febrile illness เช่น Scrub typhus, ไข้เลือดออก และ Melioidosis รีคอมบิแนนท์ โปรตีน LipL32 เป็นโปรตีนที่มีความจำเพาะต่อโรคเลปโตสไปโรซีศสูงที่สุด คือ 89 เปอร์เซ็นต์และ สามารถวินิจฉัยแยกโรคเลปโตสไปโรซีสจากโรค Melioidosis ในขณะที่มีเปอร์เซนต์ต่ำในกลุ่มซีรั่มคน ปกติ ส่วนกลุ่มคนที่เป็นเลปโตสไปโลซีสแต่ผล MAT เป็นลบ รีคอมบิแนนท์โปรตีน LipL32 สามารถ ตรวจพบว่าเป็นโรคได้ถึง 43 เปอร์เซ็นต์
dc.format.extentxv,147 leaves : col. ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Tropical Medicine))--Mahidol University, 2009
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/96332
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectImmunoglobulin G
dc.subjectImmunoglobulin M
dc.subjectLeptospirosis -- diagnosis
dc.titleExpression of leptospiral recombinant protein for serodiagnosis
dc.title.alternativeการผลิตโปรตีนของเชื้อเลปโตสไปราโดยเทคนิคทางอณุชีววิทยาเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd447.1/4936025.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Tropical Medicine
thesis.degree.disciplineTropical Medicine
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files