A discourse study of community justice policy implementation under the policy mottos Justice for All, All for Justice and Justice to All, All to Justice

dc.contributor.advisorChokchai Suttawet
dc.contributor.advisorSomboon Sirisunhirun
dc.contributor.advisorSrisombat Chokprajakchat
dc.contributor.authorChatchai Mangkornsangkaew
dc.date.accessioned2024-01-10T05:36:59Z
dc.date.available2024-01-10T05:36:59Z
dc.date.copyright2018
dc.date.created2018
dc.date.issued2024
dc.descriptionPublic Policy and Public Management (Mahidol University 2018)
dc.description.abstractThe purpose of this study was three-fold. Firstly, it aimed to study and analyze community justice policy implementation under "Justice for All, All for Justice" and "Justice to All, All to Justice". Secondly, it aimed is to understand the very meaning of those discourses above in community justice policy. The last objective was to study the result of discourse to policy implementation and to forensic use of national identification in community justice policy. The data were gathered from relevant documents, policies, questionnaire survey, in-depth interviews, and focus group discussion from upper-level administrative officer (1), scholarly expert (1), general-directors (2), heads of unit (2), non-government officers (3), directors of division (5), and justice provincial officers (131).Critical discourse analysis was chiefly employed for data analysis. The research results revealed that the implementation of community justice policy under "Justice for All, All for Justice" and "Justice to All, All to Justice" apparently instigated not only the use of top-down approach "Administrative justice to people", very frequently but also bottom-up approach as "Access to justice of people" less frequently. The meaning of the discourse in general is the same. However, in the case of content, the very meaning of "Justice to All, All to Justice" is more emphasized on reduced social gap than "Justice for All, All for Justice". It could be implied that "Justice for All, All for Justice" is related to top-down approach, whereas, "Justice to All, All to Justice" is related to bottom-up approach. At present, both of bottom-up and top-down approach, top-down, and bottom-up approach could be seen in rank-order, respectively. The resultant of discourse to community justice policy implementation and forensic uses of national identification showed that "Justice to All, All to Justice" is a way for justice ministers and politicians to get into locale to cultivate justice perception to people which is different from "Justice for All", All for Justice" which emphasized on perception of government officers. As a result, the very meaning of both discourses are the same, and the effect to policy implementation is little. Likewise, there are no effects of forensic uses of national identification on community justice policy.
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนำนโยบายยุติธรรมชุมชนไปปฏิบัติภายใต้วาทกรรม "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" และ "ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน" ของกระทรวงยุติธรรม (2) เพื่อศึกษาความหมายของวาทกรรม "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" และ "ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน" ในนโยบายยุติธรรมชุมชน (3) เพื่อศึกษาผลของวาทกรรมต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติและการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์สัญชาติในนโยบายยุติธรรมชุมชน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร นโยบายการเก็บแบบสอบถามกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด การสัมภาษณ์และการประชุมสนทนากลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติระดับบริหาร อำนวยการและหัวหน้างาน กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มข้าราชการในส่วนภูมิภาค ภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเทคนิคหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) การนำนโยบายยุติธรรมชุมชนไปปฏิบัติภายใต้วาทกรรม "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" และ "ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน" ก่อให้เกิดรูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งจากบนสู่ล่างผ่านถ้อยคำ "อำนวยความยุติธรรมสู่ประชาชน" และจากล่างขึ้นบนผ่านถ้อยคำ "ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรม" รวมถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งจากบนสู่ล่างและล่างขึ้นบน ทั้งนี้ (2) ความหมายของวาทกรรม "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" และ "ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน" ในเชิงเนื้อหาพบว่า "ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน" มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการลดความเหลื่อมล้ำมากกว่า "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" โดย"ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน" มีรูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติจากบนสู่ล่าง ขณะที่ "ยุติธรรมถ้วนหน้าประชามีส่วนร่วม" มีรูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติจากล่างขึ้นบน พบว่าปัจจุบันมีการนำนโยบายยุติธรรมชุมชนไปปฏิบัติในรูปแบบทั้งจากบนสู่ล่าง และล่างขึ้นบนมากที่สุด รองลงมาเป็นรูปแบบจากบนสู่ล่าง และน้อยที่สุดคือรูปแบบล่างขึ้นบน (3) ผลของวาทกรรมต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติและการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์สัญชาติ ในแง่วิธีการพบว่า "ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน" จะมีการลงพื้นที่ของรัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงเน้นสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ต่างจาก "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" ที่เน้นสร้างการรับรู้ให้กับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ แต่วาทกรรมทั้งสองมีความหมายไม่แตกต่างกันจึงส่งผลต่อรูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติได้น้อยและไม่ส่งผลต่อการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์สัญชาติในนโยบายยุติธรรมชุมชน
dc.format.extentxv, 458 leaves : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (D.P.A. (Public Policy and Public Management))--Mahidol University, 2018
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92255
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectCrime prevention -- Thailand -- Citizen participation
dc.subjectJustice, Administration of -- Government policy -- Thailand
dc.titleA discourse study of community justice policy implementation under the policy mottos Justice for All, All for Justice and Justice to All, All to Justice
dc.title.alternativeการนำนโยบายยุติธรรมชุมชนไปปฏิบัติภายใต้วาทกรรมนโยบาย ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม และ ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำบริการรัฐสู่ประชาชน
dc.typeDoctoral Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/557/5538005.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Social Sciences and Humanities
thesis.degree.disciplinePublic Policy and Public Management
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelDoctoral Degree
thesis.degree.nameDoctor of Public Administration

Files

Collections