การแปลภาษาเพศหญิงในบทบรรยายใต้ภาพเรื่อง Sex and the city : the movie , Sex and the city 2 และ How to be single
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ซ, 146 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ธนิตกานต์ สุวรรณทอง การแปลภาษาเพศหญิงในบทบรรยายใต้ภาพเรื่อง Sex and the city : the movie , Sex and the city 2 และ How to be single. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92785
Title
การแปลภาษาเพศหญิงในบทบรรยายใต้ภาพเรื่อง Sex and the city : the movie , Sex and the city 2 และ How to be single
Alternative Title(s)
Translation of female language in the subtitle for Sex and the city : the movie , Sex and the city 2 , and How to be single
Author(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาการแปลภาษาเพศหญิงที่ปรากฏในบทบรรยายภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ 3 เรื่อง คือ "Sex and the City: the Movie" (2008), "Sex and the City 2" (2010) และ "How To Be Single" (2016) โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องภาษาเพศหญิงของโรบิน เลคอฟ (1975) แมรี่ ริชชี่ คีย์ (1996) และ จูเลีย ที วูด (2011) ในการคัดเลือกข้อมูล และใช้แนวคิดเรื่องการแปลของยูจีน ไนดา (1964) และ สัญฉวี สายบัว (2553) ในการวิเคราะห์กลวิธีการแปล จากการศึกษาพบลักษณะการใช้ภาษาเพศหญิงในบทบรรยายภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ คือ การใช้วงคำศัพท์เฉพาะด้านแฟชั่นและความงาม การใช้การสนทนาแบบเกื้อหนุน (cooperative style) และการตอบสนองสั้น ๆ ในการสนทนา (minimal reaction) การใช้คำหรือรูปแบบประโยค hedging การใช้รูปแบบประโยคคำถามต่อท้าย (tag question) การใช้คำวิเศษณ์ช่วยเพิ่มหรือลดความ (intensifying adverbs) การใช้คำคุณศัพท์ที่ไม่มีความหมาย (empty adjective) และการใช้อธิพจน์ (hyperbole) หรือการใช้โวหารเกินจริง นอกจากนี้ ยังพบการสร้างคำใหม่ ในการสนทนาของเพศหญิงอีกด้วย ในด้านกลวิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดภาษาเพศหญิงให้เป็นภาษาไทยนั้น พบว่าผู้แปลใช้ทั้งการแปลแบบเทียบเคียงตามรูป และการแปลแบบเทียบเคียงต่างรูปโดยใช้กลวิธีการปรับบทแปลทั้งในระดับคำ และระดับประโยค การแปลขยายความ การแปลตีความ และการละไม่แปล
This thesis was a study of female language in three English-subtitled films, Sex and the City: the Movie (2008), Sex and the City 2 (2010), and How To Be Single (2016) with Thai translations. In terms of data categorization, the theories of Robin Lakoff (1975), Mary Ritchie Key (1996), and Julia T. Wood (2011) were employed while those of Eugene Nida (1964) and Sanchawee Saibua (2010) were used for analyzing the translations. Findings of the study showed that the female language features in the original version included vocabulary related to fashion and beauty, cooperative style and minimal reactions, hedging, tag question sentences, intensifying adverbs, empty adjectives, and hyperbole. Moreover, neologism was evident in these three studied films. As for the translation techniques used in the Thai subtitles, both formal-equivalence translation and dynamic-equivalence translation were found. The translator also used adjustment techniques in words and sentences, descriptive translation, interpretative translation and omission.
This thesis was a study of female language in three English-subtitled films, Sex and the City: the Movie (2008), Sex and the City 2 (2010), and How To Be Single (2016) with Thai translations. In terms of data categorization, the theories of Robin Lakoff (1975), Mary Ritchie Key (1996), and Julia T. Wood (2011) were employed while those of Eugene Nida (1964) and Sanchawee Saibua (2010) were used for analyzing the translations. Findings of the study showed that the female language features in the original version included vocabulary related to fashion and beauty, cooperative style and minimal reactions, hedging, tag question sentences, intensifying adverbs, empty adjectives, and hyperbole. Moreover, neologism was evident in these three studied films. As for the translation techniques used in the Thai subtitles, both formal-equivalence translation and dynamic-equivalence translation were found. The translator also used adjustment techniques in words and sentences, descriptive translation, interpretative translation and omission.
Description
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล