The effects of windrow composting conditions on physical, chemical, and biological characteristics of sewage sludge mixed with grass clippings
Issued Date
2011
Copyright Date
2011
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xix, 208 leaves : ill. (some col.)
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Environmental Sanitation))--Mahidol University, 2011
Suggested Citation
Taninporn Tippayamongkonkun The effects of windrow composting conditions on physical, chemical, and biological characteristics of sewage sludge mixed with grass clippings. Thesis (M.Sc. (Environmental Sanitation))--Mahidol University, 2011. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94993
Title
The effects of windrow composting conditions on physical, chemical, and biological characteristics of sewage sludge mixed with grass clippings
Alternative Title(s)
ผลจากสภาวะการหมักแบบกองแถวต่อลักษณะสมบัติทางกายภาพทางเคมีและทางชีวภาพเมื่อหมักกากตะกอนน้ำเสียผสมกับเศษหญ้า
Author(s)
Abstract
ศึกษาผลจากการหมักแบบกองแถวของกากตะกอนน้ำเสียผสมกับเศษหญ้าที่สภาวะการหมักต่างกัน คือ อัตราส่วนผสมของกากตะกอนน้ำเสียและเศษหญ้า (1:0 1:1 3:1 และ 6:1 โดยปริมาตร), ระยะเวลาการหมัก (0 2 4 6 และ 8 สัปดาห์), และสภาพการสตรีมสเตอริไรเซชั่น (คลุมและไม่คลุมด้วยพลาสติกสีดำ) ทดลองภาคสนาม แบบแฟคเทอเรียลที่มีตัวแปรต้นหลายตัว เก็บรวบรวมวัสดุหมักทุก 2 สัปดาห์และศึกษาลักษณะสมบัติ ได้แก่ ปริมาณ ของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ อุณหภูมิ พีเอช โลหะหนักทั้งหมด โลหะหนักที่พืชนำไปใช้ได้ ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และการปนเปื้อนปรสิต ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ และศึกษาค่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของตัวแปร การศึกษาพบว่า ระยะเวลาหมักส่งผลต่อ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ อุณหภูมิ พีเอช โลหะหนักทั้งหมด โลหะหนักที่พืชนำไปใช้ได้ และฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 อัตราส่วนผสมส่งผลต่อ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ พีเอช โลหะหนักทั้งหมดบางชนิด (ทองแดง นิกเกิล) โลหะหนักในรูปที่พืชนำไปใช้ได้บางชนิด (แคดเมียม ทองแดง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 สภาวะ สตรีมสเตอริไรเซชั่นส่งผลต่อปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ พีเอช โลหะหนักทั้งหมดบางชนิด (แคดเมียม, ทองแดง) โลหะหนักที่พืชนำไปใช้ได้บางชนิด (แคดเมียม ทองแดง และสังกะสี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 ทุกตำรับทดลองมีปริมาณโลหะหนักทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์การนำไปใช้ทางการเกษตรของ US.EPA ในกรณี ของทองแดงพบปริมาณทั้งหมดสูงกว่าเกณฑ์ยอมรับได้ของกรุงเทพมหานคร และมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการ เกษตร ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียและการปนเปื้อนปรสิตมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน Biosolids ประเภท A ของ US.EPA การศึกษาเสนอแนะว่า ผลผลิตสุดท้ายของการหมักสามารถนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินได้ แต่ต้องระวังความเสี่ยงจากทองแดง ระยะเวลาหมักที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย ซึ่งพิจารณาจากการปนเปื้อน ของโลหะหนัก ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และการปนเปื้อนปรสิต เท่ากับ 8 สัปดาห์ หรือมากกว่า การบำบัดโลหะ หนักในน้ำเสียเบื้องต้นเป็นสิ่งที่แนะนำอย่างยิ่ง ควรติดตามตรวจสอบปริมาณโลหะหนักและการปนเปื้อนปรสิต จนเสร็จสิ้นการหมัก เพื่อความปลอดภัยของการใช้กากตะกอนและป้องกันการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
Description
Environmental Sanitation (Mahidol University 2011)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Environmental Sanitation
Degree Grantor(s)
Mahidol University