The effects of windrow composting conditions on physical, chemical, and biological characteristics of sewage sludge mixed with grass clippings

dc.contributor.advisorSiranee Sreesai
dc.contributor.advisorPratana Satitvipawee
dc.contributor.advisorPipat Luksamijarulkul
dc.contributor.authorTaninporn Tippayamongkonkun
dc.date.accessioned2024-02-07T02:13:30Z
dc.date.available2024-02-07T02:13:30Z
dc.date.copyright2011
dc.date.created2011
dc.date.issued2011
dc.descriptionEnvironmental Sanitation (Mahidol University 2011)
dc.description.abstractศึกษาผลจากการหมักแบบกองแถวของกากตะกอนน้ำเสียผสมกับเศษหญ้าที่สภาวะการหมักต่างกัน คือ อัตราส่วนผสมของกากตะกอนน้ำเสียและเศษหญ้า (1:0 1:1 3:1 และ 6:1 โดยปริมาตร), ระยะเวลาการหมัก (0 2 4 6 และ 8 สัปดาห์), และสภาพการสตรีมสเตอริไรเซชั่น (คลุมและไม่คลุมด้วยพลาสติกสีดำ) ทดลองภาคสนาม แบบแฟคเทอเรียลที่มีตัวแปรต้นหลายตัว เก็บรวบรวมวัสดุหมักทุก 2 สัปดาห์และศึกษาลักษณะสมบัติ ได้แก่ ปริมาณ ของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ อุณหภูมิ พีเอช โลหะหนักทั้งหมด โลหะหนักที่พืชนำไปใช้ได้ ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และการปนเปื้อนปรสิต ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ และศึกษาค่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของตัวแปร การศึกษาพบว่า ระยะเวลาหมักส่งผลต่อ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ อุณหภูมิ พีเอช โลหะหนักทั้งหมด โลหะหนักที่พืชนำไปใช้ได้ และฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 อัตราส่วนผสมส่งผลต่อ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ พีเอช โลหะหนักทั้งหมดบางชนิด (ทองแดง นิกเกิล) โลหะหนักในรูปที่พืชนำไปใช้ได้บางชนิด (แคดเมียม ทองแดง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 สภาวะ สตรีมสเตอริไรเซชั่นส่งผลต่อปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งระเหยได้ พีเอช โลหะหนักทั้งหมดบางชนิด (แคดเมียม, ทองแดง) โลหะหนักที่พืชนำไปใช้ได้บางชนิด (แคดเมียม ทองแดง และสังกะสี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 ทุกตำรับทดลองมีปริมาณโลหะหนักทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์การนำไปใช้ทางการเกษตรของ US.EPA ในกรณี ของทองแดงพบปริมาณทั้งหมดสูงกว่าเกณฑ์ยอมรับได้ของกรุงเทพมหานคร และมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการ เกษตร ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียและการปนเปื้อนปรสิตมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน Biosolids ประเภท A ของ US.EPA การศึกษาเสนอแนะว่า ผลผลิตสุดท้ายของการหมักสามารถนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินได้ แต่ต้องระวังความเสี่ยงจากทองแดง ระยะเวลาหมักที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย ซึ่งพิจารณาจากการปนเปื้อน ของโลหะหนัก ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และการปนเปื้อนปรสิต เท่ากับ 8 สัปดาห์ หรือมากกว่า การบำบัดโลหะ หนักในน้ำเสียเบื้องต้นเป็นสิ่งที่แนะนำอย่างยิ่ง ควรติดตามตรวจสอบปริมาณโลหะหนักและการปนเปื้อนปรสิต จนเสร็จสิ้นการหมัก เพื่อความปลอดภัยของการใช้กากตะกอนและป้องกันการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
dc.format.extentxix, 208 leaves : ill. (some col.)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Environmental Sanitation))--Mahidol University, 2011
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94993
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectCompost
dc.subjectHeavy Metals -- Environmental aspects
dc.subjectSewage as fertilizer
dc.subjectSewage sludge
dc.titleThe effects of windrow composting conditions on physical, chemical, and biological characteristics of sewage sludge mixed with grass clippings
dc.title.alternativeผลจากสภาวะการหมักแบบกองแถวต่อลักษณะสมบัติทางกายภาพทางเคมีและทางชีวภาพเมื่อหมักกากตะกอนน้ำเสียผสมกับเศษหญ้า
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd448/4936341.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Public Health
thesis.degree.disciplineEnvironmental Sanitation
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files