การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะและข้อสอบภาคบังคับในปีการศึกษา 2554 - 2558
dc.contributor.author | ณัฐฐรีย์ พงษ์สุรีญ์ | en_US |
dc.contributor.author | จินตนา กัลยาลัง | en_US |
dc.contributor.author | ชลิดา ภัทรจิรพรรณ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-06-29T07:27:49Z | |
dc.date.available | 2021-06-29T07:27:49Z | |
dc.date.created | 2564-06-29 | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.description | ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 87 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะกับข้อสอบภาคบังคับปีการศึกษา 2554-2558 วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บรวบรวมผลการศึกษาผลการสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะครั้งที่ 1 ของบัณฑิตกิจกรรมบำบัดแต่ละรุ่น และผลการสอบผ่านภาคบังคับ หลังการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกครั้งสุดท้าย (รายวิชา กภกก 472 จำนวน 270 ชั่วโมง 15 สัปดาห์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาสถิติ One-sample Kolmogorov-Smirnov Test สถิติ Paired Samples Test และ สถิติ Crosstab Chi-Square Tests รวมทั้งการวิเคราะห์ชุดข้อสอบโดยใช้โปรแกรมระบบตรวจและวิเคราะห์คำตอบแบบปรนัย (Multiple Choice Test Analyzer MCTA V4.5 .2) ผลการวิจัย พบว่านักศึกษากิจกรรมบำบัดมีคะแนนการสอบผ่านภาคบังคับครั้งที่ 2 เพิ่มขึ้น หลังการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<0.05) ในปีการศึกษา 2554, 2556 และ 2557 นอกจากนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่สอบผ่านภาคบังคับ ครั้งที่ 2 และ ผู้ที่สอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะ ครั้งที่ 1 พบว่า ข้อมูลมีความสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในปีการศึกษา 2554 และ 2555 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ นักศึกษากิจกรรมบำบัดที่สอบผ่านภาคบังคับครั้งที่ 2 ด้วยชุดข้อสอบที่ดีในปีการศึกษา 2554 และ 2555 มีความสามารถในการสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะครั้งที่ 1 ในขณะที่ปีการศึกษา 2557 และ 2558 แม้ว่านักศึกษากิจกรรมบำบัดที่สอบได้คะแนนน้อยในภาคบังคับครั้งที่ 2 เมื่อเทียบเคียงกับปีการศึกษาอื่น แต่มีความสามารถในการสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะครั้งที่ 1 ส่วนในปีการศึกษา 2556 นักศึกษาสามารถสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะครั้งที่ 1 ได้ 100% จึงไม่มีความจำเป็นในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยจำเป็นต้องนำข้อมูลการวิเคราะห์ชุดข้อสอบมาพัฒนาระบบการปรับปรุงข้อสอบภาคบังคับให้มีค่าความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นในปีการศึกษาต่อไป | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62804 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ใบประกอบโรคศิลปะ | en_US |
dc.subject | ข้อสอบภาคบังคับ | en_US |
dc.subject | การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก | en_US |
dc.subject | Mahidol Quality Fair | |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะและข้อสอบภาคบังคับในปีการศึกษา 2554 - 2558 | en_US |
dc.type | Proceeding Abstract | en_US |