การปรับตัวของแรงงานพม่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสถานประกอบการ : กรณีศึกษาฟาร์มเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรี
Issued Date
2553
Copyright Date
2553
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 193 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553
Suggested Citation
ดรุณี มีแล้ว การปรับตัวของแรงงานพม่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสถานประกอบการ : กรณีศึกษาฟาร์มเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93859
Title
การปรับตัวของแรงงานพม่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสถานประกอบการ : กรณีศึกษาฟาร์มเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรี
Alternative Title(s)
Adaptation of registered Burmese migrant workers in Thai business : a case study of small pig farms in Ratchaburi province, Thailand
Author(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง การปรับตัวของแรงงานพม่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสถานประกอบการ: กรณีศึกษาฟาร์มเลี้ยงสุกร ในจังหวัดราชบุรีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการปรับตัว (2) ปัจจัยที่มี ผลต่อการปรับตัว และ (3) ปัญหาอุปสรรคการปรับตัวของแรงงานข้ามชาติพม่าที่ทำงานอยู่ในฟาร์มเลี้ยงสุกร ขนาดย่อมของคนไทย โดยศึกษาในพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดย่อมจำนวน 2 แห่ง ในตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม จากผู้ให้ข้อมูลที่เป็นแรงงานข้ามชาติพม่า จำนวน 14 คน และนายจ้างคนไทย 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกรอบ แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย การปรับตัวในการทำงาน และวัฒนธรรมการ ทำงาน ผลการศึกษาพบว่า แรงงานข้ามชาติพม่ามีกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับอาชีพเลี้ยงสุกรได้อย่าง เหมาะสม โดยอาศัยการเรียนรู้ลักษณะของงาน ตลอดจนซึมซับสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งจากนายจ้างและ เพื่อนร่วมงานทีละเล็กทีละน้อย สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวในการทำงานของแรงงานข้ามชาติพม่า พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับลักษณะนิสัย ทัศนคติ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล จึงทำให้ แรงงานข้ามชาติพม่าสามารถปรับตัวเข้ากับอาชีพเลี้ยงสุกรได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยทางสังคมและ วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่ทำให้แรงงานข้ามชาติพม่าสามารถปรับตัวได้ดีที่สุด เนื่องจากแรงงานข้ามชาติพม่านิยมเข้า มาทำงานในฟาร์มทั้งครอบครัว และเป็นเครือญาติกัน หรือมาจากหมู่บ้านเดียวกัน อีกทั้งนายจ้างยังจัดระบบการ ทำงานในรูปแบบครอบครัวด้วย ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องกับรายได้และสวัสดิการในการทำงาน จึง เป็นสิ่งจูงใจให้แรงงานข้ามชาติพม่าสามารถปรับตัวเข้ากับอาชีพเลี้ยงสุกรได้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับปัญหาอุปสรรค พบว่ามีปัญหาเรื่องการจ่ายค่านายหน้าให้กับนายหน้าชาวพม่าและเจ้าหน้าที่ไทย การพูดและฟังภาษาไทยไม่ดีพอ และเด็กพม่าที่เกิดในประเทศไทยไม่ได้สัญชาติไทย
Description
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2553)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล