Burden of diseases of Malaria under climate change scenarios in Thailand
Issued Date
2013
Copyright Date
2013
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xii, 90 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Appropriate Technology for Resources and Environmental Development))--Mahidol University, 2013
Suggested Citation
Chayut Pinichka Burden of diseases of Malaria under climate change scenarios in Thailand. Thesis (M.Sc. (Appropriate Technology for Resources and Environmental Development))--Mahidol University, 2013. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95149
Title
Burden of diseases of Malaria under climate change scenarios in Thailand
Alternative Title(s)
ภาระโรคของมาลาเรียในประเทศไทยภายใต้สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์ภาระโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (Avoidable burden of diseases) ของโรคมาลาเรีย ภายใต้สภาวะภูมิอากาศในอนาคต โดยนำข้อมูลของสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย 1991-2011 มาคาดการณ์ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ A2 และ B2 ในประเทศไทยของศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA START RC) การสร้างแบบจำลองถดถอยแบบไม่เป็นเส้นตรง (Nonlinear regression modeling) ได้ใช้การนำเข้าข้อมูลสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในปี ค.ศ.1991-2011 ของกรมอุตุนิยมวิทยาจำนวน 5 ตัวแปรได้แก่ เดือน อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด ค่าความชื้นสัมพันธ์ ความเร็วลมเฉลี่ย และ ปริมาณน้ำฝน พบว่าแบบจำลองที่ให้ค่า ความแม่นยาสูงสุดคือแบบจำลองที่ 2 โดยมีค่า adjusted R-Square 0.818 ด้วยค่า RMSE 763.27 และนำแบบจำลองมาทำการคาดการณ์ภาระโรคที่จะเกิดขึ้นในแต่ละสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลสภาพภูมิอากาศจริงในปี 2003-2011 และทำนายอุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียอนาคตหรือปี 2012-2020 ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ B2 เป็นสถานการณ์ที่มีอุบัติการเกิดโรคมาลาเรียน้อยที่สุดโดยอุบัติการณ์โรคมาลาเรียของปี 2004 ลดลงจาก baseline 21% 2005 15.7% 2008 8.9% 2010 29.8% และเพิ่มขึ้นจาก baselineในปี 2003 4.05% 2006 7.05% 2007 9.05% 2009 0.24% 0.2011 1.74% และมีอุบัติการณ์เกิดโรคโดยเฉลี่ย 2003-2011 เท่ากับ 26,869 คนต่อปี สาหรับสถานการณ์ A2 อยู่ที่ 30,734 คนต่อปี และ baseline 28,521 ต่อปี โดยแปลงเป็นดัชนีวัดภาระโรค (DALYs) สาหรับ baseline = 1,444.95 DALYs ต่อปี A2 = 1,560.77 DALYs ต่อปี และ B2 = 1,353.61 DALYs ต่อปี ตามลาดับ อย่างไรก็ตามพบว่าแบบจำลองมีความคาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 2.88-30.1% นำแบบจำลองที่ได้ทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลสภาพภูมิอากาศจริงเพื่อทำนายอุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียที่อาจเกิดขึ้นในปี 2012-2020 พบว่า สถานกาณ์ A2 ทำให้อุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยช่วงอุบัติการณ์เกิดโรคสูงสุดในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีโดยมีสมการแนวโน้ม Y = 312.55X + 2480.1 ค่า R2 = 0.74 โดยมีค่าเฉลี่ยอุบัติการณ์เกิดโรคต่อปีอยู่ที่ 79,703 คนต่อปี หรือ 4,042.9 DALYs ต่อปี สาหรับสถานการณ์ B2 อุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียจะมีแนวโน้มลดลงโดยมีสมการแนวโน้ม Y = 20.223X3 - 363X2 + 1801.4 X - 19.483 ค่า R2 = 0.57 โดยมีค่าอุบัติการณ์เกิดโรคอยู่ที่ 40,407 คนต่อปี หรือ 2,042.8 DALYs ต่อปี โดย B2 มีภาระโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงได้จาก A2 = 1,119.5 DALYs ต่อปี หรือคิดเป็น 38.3% ต่อปี
Description
Appropriate Technology for Resources and Environmental Development (Mahidol University 2013)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Appropriate Technology for Resources and Environmental Development
Degree Grantor(s)
Mahidol University