Burden of diseases of Malaria under climate change scenarios in Thailand

dc.contributor.advisorKampanad Bhaktikul
dc.contributor.advisorSaranya Sucharitakul
dc.contributor.authorChayut Pinichka
dc.date.accessioned2024-02-07T02:14:21Z
dc.date.available2024-02-07T02:14:21Z
dc.date.copyright2013
dc.date.created2013
dc.date.issued2013
dc.descriptionAppropriate Technology for Resources and Environmental Development (Mahidol University 2013)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์ภาระโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (Avoidable burden of diseases) ของโรคมาลาเรีย ภายใต้สภาวะภูมิอากาศในอนาคต โดยนำข้อมูลของสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย 1991-2011 มาคาดการณ์ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ A2 และ B2 ในประเทศไทยของศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA START RC) การสร้างแบบจำลองถดถอยแบบไม่เป็นเส้นตรง (Nonlinear regression modeling) ได้ใช้การนำเข้าข้อมูลสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในปี ค.ศ.1991-2011 ของกรมอุตุนิยมวิทยาจำนวน 5 ตัวแปรได้แก่ เดือน อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด ค่าความชื้นสัมพันธ์ ความเร็วลมเฉลี่ย และ ปริมาณน้ำฝน พบว่าแบบจำลองที่ให้ค่า ความแม่นยาสูงสุดคือแบบจำลองที่ 2 โดยมีค่า adjusted R-Square 0.818 ด้วยค่า RMSE 763.27 และนำแบบจำลองมาทำการคาดการณ์ภาระโรคที่จะเกิดขึ้นในแต่ละสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลสภาพภูมิอากาศจริงในปี 2003-2011 และทำนายอุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียอนาคตหรือปี 2012-2020 ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ B2 เป็นสถานการณ์ที่มีอุบัติการเกิดโรคมาลาเรียน้อยที่สุดโดยอุบัติการณ์โรคมาลาเรียของปี 2004 ลดลงจาก baseline 21% 2005 15.7% 2008 8.9% 2010 29.8% และเพิ่มขึ้นจาก baselineในปี 2003 4.05% 2006 7.05% 2007 9.05% 2009 0.24% 0.2011 1.74% และมีอุบัติการณ์เกิดโรคโดยเฉลี่ย 2003-2011 เท่ากับ 26,869 คนต่อปี สาหรับสถานการณ์ A2 อยู่ที่ 30,734 คนต่อปี และ baseline 28,521 ต่อปี โดยแปลงเป็นดัชนีวัดภาระโรค (DALYs) สาหรับ baseline = 1,444.95 DALYs ต่อปี A2 = 1,560.77 DALYs ต่อปี และ B2 = 1,353.61 DALYs ต่อปี ตามลาดับ อย่างไรก็ตามพบว่าแบบจำลองมีความคาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 2.88-30.1% นำแบบจำลองที่ได้ทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลสภาพภูมิอากาศจริงเพื่อทำนายอุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียที่อาจเกิดขึ้นในปี 2012-2020 พบว่า สถานกาณ์ A2 ทำให้อุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยช่วงอุบัติการณ์เกิดโรคสูงสุดในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีโดยมีสมการแนวโน้ม Y = 312.55X + 2480.1 ค่า R2 = 0.74 โดยมีค่าเฉลี่ยอุบัติการณ์เกิดโรคต่อปีอยู่ที่ 79,703 คนต่อปี หรือ 4,042.9 DALYs ต่อปี สาหรับสถานการณ์ B2 อุบัติการณ์เกิดโรคมาลาเรียจะมีแนวโน้มลดลงโดยมีสมการแนวโน้ม Y = 20.223X3 - 363X2 + 1801.4 X - 19.483 ค่า R2 = 0.57 โดยมีค่าอุบัติการณ์เกิดโรคอยู่ที่ 40,407 คนต่อปี หรือ 2,042.8 DALYs ต่อปี โดย B2 มีภาระโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงได้จาก A2 = 1,119.5 DALYs ต่อปี หรือคิดเป็น 38.3% ต่อปี
dc.format.extentxii, 90 leaves : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Appropriate Technology for Resources and Environmental Development))--Mahidol University, 2013
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95149
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectClimatic changes -- Thailand
dc.subjectMalaria
dc.subjectRegression analysis
dc.titleBurden of diseases of Malaria under climate change scenarios in Thailand
dc.title.alternativeภาระโรคของมาลาเรียในประเทศไทยภายใต้สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd472/5237488.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Environment and Resource Studies
thesis.degree.disciplineAppropriate Technology for Resources and Environmental Development
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files