การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชนกลุ่มชาติพันธุ์
dc.contributor.advisor | สุจริตลักษณ์ ดีผดุง | |
dc.contributor.author | กรชนก นันทกนก | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:40Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:40Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างบทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชนกลุ่มชาติพันธุ์และศึกษากลวิธีที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการถามและการตอบคำถามของชนกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้แนวคิด การวิเคราะห์บทสนทนา (Conversation Analysis) ที่ศึกษาจากงานของ Sacks et al., (1974) โดยเก็บข้อมูลจากการบันทึกเสียงบทสนทนาที่เกิดขึ้นจริงในฝ่ายงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน 50 บทสนทนา จากการศึกษา พบว่า โครงสร้างบทสนทนามีอยู่ 3 ส่วน คือ การเปิดการสนทนา การดำเนินการสนทนา และการปิดการสนทนา บทสนทนาที่พบจากการศึกษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สถานะและสิทธิของชนกลุ่มชาติพันธุ์ การเริ่มต้นสนทนาส่วนใหญ่เริ่มโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่ พบว่า มีการเปิดการสนทนาด้วยการเรียกให้ชื่อ หรือเรียกให้มาพบ การถามคำถาม การกล่าวเข้าเรื่องทันที และการอธิบาย ขั้นตอนการทำงาน ในส่วนผู้มาติดต่อที่เป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์เปิดการสนทนาด้วยการเรียก การกล่าวคำทักทาย และการกล่าววัตถุประสงค์ทันที บทสนทนามีดำเนินการสนทนาด้วยการผลัดกันพูดโดยการถาม-การตอบระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้มาติดต่อที่เป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์จนกระทั่ง สิ้นสุดการสนทนา ในการถามคำถามผู้มาติดต่อ พบว่า เจ้าหน้าที่ใช้กลวิธีในการถามอยู่ 6 กลวิธี คือ1) การถามคำถามปลายปิด 2) การถามคำถามปลายเปิด 3) การถามคำถามชี้นำ 4) การถามในรูปแบบถ้อยคำบอกเล่า 5) การถามหลายคำถามต่อเนื่องกัน และ 6) การถามซ้ำ ซึ่งกลวิธีที่ไม่เหมาะสำหรับการถามผู้มาติดต่อที่เป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์ คือ การถามหลายคำถามต่อเนื่องกัน เนื่องจากผู้มาติดต่อจะเลือกตอบเฉพาะคำถามใดคำถามหนึ่งเท่านั้น ส่วนการตอบคำถามของผู้มาติดต่อที่เป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์พบ 2 แบบ คือ การตอบคำตอบที่คาด และการตอบ คำตอบที่ไม่คาด การตอบคำตอบที่ไม่คาดของชนกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณา คำตอบกับข้อมูลที่มีอยู่อย่างละเอียดอีกครั้ง | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 182 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93612 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การสื่อสารกับวัฒนธรรม | |
dc.subject | กลุ่มชาติพันธุ์ | |
dc.subject | สนทนาวิเคราะห์ | |
dc.title | การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชนกลุ่มชาติพันธุ์ | |
dc.title.alternative | An analysis of conversational structures between local government officials and ethnic people | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd467/5136503.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย | |
thesis.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |