The relationship between cyberbullying-specific coping strategies and internet self-efficacy among high school students
Issued Date
2024
Copyright Date
2020
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 79 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Clinical Psychology))--Mahidol University, 2020
Suggested Citation
Treepradab Utaisedtawat The relationship between cyberbullying-specific coping strategies and internet self-efficacy among high school students. Thesis (M.Sc. (Clinical Psychology))--Mahidol University, 2020. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92103
Title
The relationship between cyberbullying-specific coping strategies and internet self-efficacy among high school students
Alternative Title(s)
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดจากการถูกรังแกทางโลกไซเบอร์และการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
The objectives of this study was to study the relationship between cyberbullying- specific coping strategies and internet self-efficacy among high school students. The materials include demographic questionnaire, cyberbullying behaviors questionnaire, Utrecht Coping List for Adolescents Cyberbullying-specific scale: Thai version, and ICT Self-efficacy Scale: Thai version. Participants were 158 high school students who have ever experienced cyberbullying as a perpetrator, victim, or bystander. Pearson's bivariate correlation was used to analyse the relationship between cyberbullying-specific coping strategies and internet self-efficacy. According to the findings, optimistic coping strategy was associated with internet self-efficacy overall (r=.254) and all three subscales including Privacy and Security (r=.296), Differentiation and Learning (r=.226) and Communication (r=.167). It was also found the relationship between palliative coping strategy and internet self-efficacy overall (r=.198), together with subscales of Privacy and security (r=.250) and Differentiation and Learning (r=.160). On the contrary, there was an nonsignificant correlation between other coping strategies and internet self-efficacy. Those students who used optimistic and palliative coping to deal with cyberbullying perceived themselves as more internet self-efficacy. Thus, it is important to encourage internet self-efficacy for adolescents which can help them to cope with cyberbullying in particular.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดจากการถูกรังแกทางโลกไซเบอร์และการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตในนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปัจจัยภูมิหลัง แบบสอบถามพฤติกรรมการรังแกทางโลกไซเบอร์ Utrecht Coping List for Adolescents Cyberbullying-specific scale ฉบับภาษาไทย และ ICT Self-efficacy Scale ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตนปลายจำนวน 158 คนที่เคยมีประสบการณ์การรังแกทางโลกไซเบอร์ในฐานะผู้รังแก ผู้ถูกรังแก หรือผู้พบเห็นการรังแก โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดจากการถูกรังแกทางโลกไซเบอร์และการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ต ผลจากการวิจัย พบว่า การรับมือกับสถานการณ์แบบมองโลกในแง่ดีมีความสัมพันธ์กับ การรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตโดยรวม (r=.254, p=.198) และองค์ประกอบย่อยทั้งสาม ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (r=.296, p=.000) การแยกแยะและเรียนรู้ (r=.226, p=.004) และการสื่อสาร (r=.167, p=.036). นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์แบบบรรเทาความรู้สึกกับการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตโดยรวม (r=.198, p=.012) และองค์ประกอบย่อยด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (r=.250, p=.002) และ การแยกแยะและเรียนรู้ (r=.160, p=.045) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์รูปแบบอื่นกับการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ต การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่านักเรียนที่ใช้การรับมือกับสถานการณ์แบบมองโลกในแง่ดีและแบบบรรเทาความรู้สึกจะรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ตได้มากกว่า ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตในวัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้รับมือกับการรังแกทางโลกไซเบอร์ได้
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดจากการถูกรังแกทางโลกไซเบอร์และการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตในนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปัจจัยภูมิหลัง แบบสอบถามพฤติกรรมการรังแกทางโลกไซเบอร์ Utrecht Coping List for Adolescents Cyberbullying-specific scale ฉบับภาษาไทย และ ICT Self-efficacy Scale ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตนปลายจำนวน 158 คนที่เคยมีประสบการณ์การรังแกทางโลกไซเบอร์ในฐานะผู้รังแก ผู้ถูกรังแก หรือผู้พบเห็นการรังแก โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดจากการถูกรังแกทางโลกไซเบอร์และการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ต ผลจากการวิจัย พบว่า การรับมือกับสถานการณ์แบบมองโลกในแง่ดีมีความสัมพันธ์กับ การรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตโดยรวม (r=.254, p=.198) และองค์ประกอบย่อยทั้งสาม ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (r=.296, p=.000) การแยกแยะและเรียนรู้ (r=.226, p=.004) และการสื่อสาร (r=.167, p=.036). นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์แบบบรรเทาความรู้สึกกับการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตโดยรวม (r=.198, p=.012) และองค์ประกอบย่อยด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (r=.250, p=.002) และ การแยกแยะและเรียนรู้ (r=.160, p=.045) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือกับสถานการณ์รูปแบบอื่นกับการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ต การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่านักเรียนที่ใช้การรับมือกับสถานการณ์แบบมองโลกในแง่ดีและแบบบรรเทาความรู้สึกจะรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้อินเทอร์เน็ตได้มากกว่า ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความสามารถทางอินเทอร์เน็ตในวัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้รับมือกับการรังแกทางโลกไซเบอร์ได้
Description
Clinical Psychology (Mahidol University 2020)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Degree Discipline
Clinical Psychology
Degree Grantor(s)
Mahidol University