สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาคำพิพากษากรณีคดีที่ดินป่าไม้และผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมของชุมชนบ้านห้วยกลทา
Issued Date
2555
Copyright Date
2555
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 283 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
Suggested Citation
สมนึก ตุ้มสุภาพ สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาคำพิพากษากรณีคดีที่ดินป่าไม้และผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมของชุมชนบ้านห้วยกลทา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93667
Title
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาคำพิพากษากรณีคดีที่ดินป่าไม้และผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมของชุมชนบ้านห้วยกลทา
Alternative Title(s)
Human rights in justice process : study of court justment and consideration and impact to people case study on land and forest cases
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวคำวินิจฉัยของศาล ที่เกี่ยวกับคดีทรัพยากรป่าไม้ ที่ดิน รวมถึงทัศนคติของผู้พิพากษาในการทำหน้าที่ผ่านทางคำวินิจฉัย รวมถึงวิเคราะห์ประเด็นทาง กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ที่ดิน และทำความเข้าใจในบ่อเกิดแห่งสภาพปัญหาทรัพยากรป่าไม้ที่ดิน โดยศึกษา แนวคำวินิจฉัยในช่วงยุคทศวรรษ 2530-2550 แยกแยะรายละเอียดของแนวคำวินิจฉัย โดยนำทฤษฎีปรัชญา ทางกฎหมาย (ทฤษฎีสิทธิมนุษยชน) มาอธิบายปรากฏการณ์ของแนวคำวินิจฉัย มุ่งประสงค์สร้างความ เข้าใจในสิทธิเชิงซ้อน เพื่อปรับทัศนคติ/อคติในเชิงอำนาจต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน และสำรวจศึกษาใน ผลกระทบของชุมชนที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ศึกษามุมมองในทัศนคติประเด็นทรัพยากรป่าไม้ ที่ดินของผู้ทำหน้าที่วินิจฉัยพิพากษาในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชน กรณีศึกษาตัวอย่าง สะท้อนมุมมองของการสูญเสียสิทธิในวิถี ผลิตและการดำรงชีพ นับแต่รัฐบัญญัติเงื่อนไขข้อบังคับในการกำหนดพื้นที่ทรัพยากรที่ชุมชนอยู่อาศัย และ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงต้องส่งผลกระทบในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น การ สูญเสียพื้นที่ผลิต, การสูญเสียวิถีการดำรงชีพในพื้นที่ป่าไม้ องค์กรยุติธรรม(ศาล) เสมือนเป็นผู้ผลิตซ้ำใน ผลกระทบจากบทบัญญัติทางกฎหมาย ชุมชนจึงอาจถูกกระทำจากสองส่วนนี้ อยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละกรณี หรือท้องถิ่นจะถูกกระทำในระดับชั้นของความหนักเบาแตกต่างกัน ผลจากการศึกษาคำวินิจฉัยบ่งบอกที่เห็นได้ว่า ยังให้คุณค่าสิทธิในความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างกัน ในระดับชั้นของมนุษย์ ความไว้วางใจในคุณค่าของมนุษย์ขึ้นอยู่กับผลสะท้อนวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของท้องถิ่น ส่งผลสะท้อนสะเทือนต่อวิถีปกติในระดับชั้นของบุคคลกลุ่มอื่น (เมือง) มากน้อยเพียงใด ในด้านความรู้สึก ในจิตปกติ ฉะนั้นแนวคำวินิจฉัยบ่งบอกได้ถึงความรู้สึกปกติของผู้พิจารณาว่าในขณะนั้น ช่วงนั้น สถานการณ์เวลานั้น สร้างความรู้สึกในระดับจิตปกติของผู้พิจารณาอย่างไร แต่ยังหาได้เข้าถึงซึ่งคำอธิบาย ในแง่สิทธิมนุษยชนไม่ ฉะนั้นคำวินิจฉัยต่างๆ จึงยังไม่ปรากฏการถ่ายทอดวิถีสิทธิมนุษยชนในผลของ คำพิพากษาเท่าใดนัก
Description
สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
Degree Discipline
สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล