ความเหมาะสมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ อย่างเหมาะสมที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง : การศึกษาเชิงพรรณนา
Issued Date
2023
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Journal Title
การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 11
Start Page
231
End Page
256
Access Rights
Open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
อังศุนิตย์ พรคทาทัศน์, สถาพร ขนันไทย, พิจิตรา สมบูรณ์ภัทรกิจ, ศักดา กองพัฒน์พาณิชย์ (2023). ความเหมาะสมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ อย่างเหมาะสมที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง : การศึกษาเชิงพรรณนา. การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 11, 256. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98012
Title
ความเหมาะสมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ อย่างเหมาะสมที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง : การศึกษาเชิงพรรณนา
Alternative Title(s)
Appropriateness and Factors Associated with Proper Use of Empirical Antibiotic at a Secondary-Care Hospital: A Descriptive Study
Abstract
การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของการให้ยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์สำหรับโรคปอดอักเสบติดเชื้อและติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม
เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนออนไลน์ย้อนหลังจากระบบโปรแกรม SSB ของโรงพยาบาล ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ผู้ป่วยตามเกณฑ์การศึกษาได้รับเลือกมาจานวน 292 คน เพื่อทบทวนข้อมูลย้อนหลังและประเมินความเหมาะสมของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์ โดยความเหมาะสมของการใช้ยาจะถูกประเมินตามแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อปอดอักเสบ (IDSA Guideline 2007) หรือทางเดินปัสสาวะ (EAU Guideline 2018) และเอกสารกำกับยาแต่ละชนิด หรือผลความไวของยาปฏิชีวนะ ในด้านของชนิด ขนาดและการบริหารยาต้านจุลชีพ โดยเภสัชกรผู้ร่วมวิจัย 2 คนที่เป็นอิสระต่อกัน และมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความเหมาะสมของการใช้ยาโดยใช้ Univariate Chi-Square Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ในช่วงเวลาที่ศึกษามีผู้ป่วยรวม 292 คนได้รับการประเมิน แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 165 คนซึ่งได้รับยาอย่างเหมาะสม 129 คน (ร้อยละ 78.2) โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือขนาดยาหรือความถี่ของการบริหารยาไม่เหมาะสม (41 คน คิดเป็นร้อยละ 24.85) และสำหรับโรคปอดอักเสบ (127 คน) มีผู้ป่วยที่ได้รับยาเหมาะสม 44 คน (ร้อยละ 34.6) โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือการเลือกชนิดยาไม่สอดคล้องกับแนวทางการรักษา (40 คน คิดเป็นร้อยละ 31.50) ในโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การใช้ยาอย่างเหมาะสมตามแนวทางการรักษาหรือผลความไวเชื้อสัมพันธ์กับประวัติการได้รับยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (X2=6.54, p=0.01) และประวัติการได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (X2=14.26, p<0.01) ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ประวัติการทำหัตถการในระบบทางเดินหายใจ (X2=9.06,p<0.01) และประวัติการติดเชื้อแบบเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ (X2=9.05, p<0.01) นั้นสัมพันธ์กับการใช้ยาอย่างเหมาะสม
ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์นั้นมีความแตกต่างกันระหว่างข้อบ่งใช้ และผู้ป่วยบางกลุ่มอาจมีโอกาสได้รับยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้างที่เหมาะสมมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแพทย์ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นผลวิจัยนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จำเพาะกับโรงพยาบาล ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการใช้ยาปฏิชีวนะในอนาคตและใช้กำหนดตัวชี้วัดที่เป็นบรรทัดฐานของโรงพยาบาลภายหลังจากเริ่มดำเนินการโครงการควบคุมกากับดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมต่อไป
Description
การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 11 ประจำปี 2566 หัวข้อ “Disruptive innovation in Medicine” ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 29-31 มีนาคม 2566 . หน้า 231- 256