ความเหมาะสมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ อย่างเหมาะสมที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง : การศึกษาเชิงพรรณนา

dc.contributor.authorอังศุนิตย์ พรคทาทัศน์
dc.contributor.authorสถาพร ขนันไทย
dc.contributor.authorพิจิตรา สมบูรณ์ภัทรกิจ
dc.contributor.authorศักดา กองพัฒน์พาณิชย์
dc.date.accessioned2024-04-17T06:43:51Z
dc.date.available2024-04-17T06:43:51Z
dc.date.created2023-07-25
dc.date.issued2023
dc.descriptionการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 11 ประจำปี 2566 หัวข้อ  “Disruptive innovation in Medicine” ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 29-31 มีนาคม 2566 . หน้า 231- 256
dc.description.abstractการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของการให้ยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์สำหรับโรคปอดอักเสบติดเชื้อและติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนออนไลน์ย้อนหลังจากระบบโปรแกรม SSB ของโรงพยาบาล ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ผู้ป่วยตามเกณฑ์การศึกษาได้รับเลือกมาจานวน 292 คน เพื่อทบทวนข้อมูลย้อนหลังและประเมินความเหมาะสมของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์ โดยความเหมาะสมของการใช้ยาจะถูกประเมินตามแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อปอดอักเสบ (IDSA Guideline 2007) หรือทางเดินปัสสาวะ (EAU Guideline 2018) และเอกสารกำกับยาแต่ละชนิด หรือผลความไวของยาปฏิชีวนะ ในด้านของชนิด ขนาดและการบริหารยาต้านจุลชีพ โดยเภสัชกรผู้ร่วมวิจัย 2 คนที่เป็นอิสระต่อกัน และมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความเหมาะสมของการใช้ยาโดยใช้ Univariate Chi-Square Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในช่วงเวลาที่ศึกษามีผู้ป่วยรวม 292 คนได้รับการประเมิน แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 165 คนซึ่งได้รับยาอย่างเหมาะสม 129 คน (ร้อยละ 78.2) โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือขนาดยาหรือความถี่ของการบริหารยาไม่เหมาะสม (41 คน คิดเป็นร้อยละ 24.85) และสำหรับโรคปอดอักเสบ (127 คน) มีผู้ป่วยที่ได้รับยาเหมาะสม 44 คน (ร้อยละ 34.6) โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือการเลือกชนิดยาไม่สอดคล้องกับแนวทางการรักษา (40 คน คิดเป็นร้อยละ 31.50) ในโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การใช้ยาอย่างเหมาะสมตามแนวทางการรักษาหรือผลความไวเชื้อสัมพันธ์กับประวัติการได้รับยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (X2=6.54, p=0.01) และประวัติการได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (X2=14.26, p<0.01) ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ประวัติการทำหัตถการในระบบทางเดินหายใจ (X2=9.06,p<0.01) และประวัติการติดเชื้อแบบเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ (X2=9.05, p<0.01) นั้นสัมพันธ์กับการใช้ยาอย่างเหมาะสม ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์นั้นมีความแตกต่างกันระหว่างข้อบ่งใช้ และผู้ป่วยบางกลุ่มอาจมีโอกาสได้รับยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้างที่เหมาะสมมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแพทย์ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นผลวิจัยนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จำเพาะกับโรงพยาบาล ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการใช้ยาปฏิชีวนะในอนาคตและใช้กำหนดตัวชี้วัดที่เป็นบรรทัดฐานของโรงพยาบาลภายหลังจากเริ่มดำเนินการโครงการควบคุมกากับดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมต่อไป
dc.description.abstractalternativeIrrational use of antibiotic agents is the major cause of antibiotic resistant bacteria. This study aimed to evaluate for appropriateness of empirical antibiotic use and associated predictors in patients with urinary tract infection (UTI) and pneumonia admitted in the Inpatient Department of Golden Jubilee Medical Center (GJMC), Nakorn Pathom province. Information of the eligible patients between 1 October 2017 and 30 September 2018 were retrospectively retrieved from the online electronic medical record (SSB program). Empirical antibiotic was independently reviewed by 2 investigator pharmacists for types, dosage, and administrations of the antibiotic based on pneumonia (IDSA 2007) and UTI (EAU 2018) guidelines and package insert of each antibiotic. Additionally, univariate chi-square test at a 5% level of significance (p<0.05) was conducted to determine factor associated with appropriate empirical antibiotic use. There were 292 patients evaluated, including 165 UTI and 127 pneumonia patients. Among UTI patients, 125 (78.2%) received appropriate empirical antibiotics; inappropriate dosage and interval of antimicrobial agents (41 patients, 24.85%) were the most common findings; factors significantly associated with appropriate use were history of receiving broad spectrum antibiotics (X 2 =6.54, p=0.01) and recent hospitalization (X 2 =14.26, p<0.01) within 3 months priorly. Among pneumonia patients, 44 (34.6%) received appropriate empirical antimicrobial therapy; history of undergoing respiratory system procedure (X 2 =9.05, p<0.01) and chronic respiratory infections (X 2 =9.06, p<0.01) were associated with appropriate regimen. In pneumonia, inappropriate types of antimicrobial agents were the most common findings (40 patients, 31.5%). Problem with empirical antibiotic prescriptions at GJMC was different between indications and certain patient groups were more likely to receive appropriate empirical antibiotic that physicians should consider carefully. Hence, the results of this study provided specific background of antibiotic use at GJMC which can be used to create improvement plan and benchmark for the Antibiotic Stewardship Program.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98012
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectยาปฏิชีวนะ
dc.subjectครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง
dc.subjectโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
dc.subjectโรคปอดอักเสบ
dc.subjectAntibiotic
dc.subjectEmpirical antibiotic
dc.subjectUrinary tract infection
dc.subjectPneumonia
dc.titleความเหมาะสมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ อย่างเหมาะสมที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง : การศึกษาเชิงพรรณนา
dc.title.alternativeAppropriateness and Factors Associated with Proper Use of Empirical Antibiotic at a Secondary-Care Hospital: A Descriptive Study
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsOpen access
oaire.citation.endPage256
oaire.citation.startPage231
oaire.citation.titleการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 11
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. งานเภสัชกรรม
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์
oairecerif.event.nameการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 11

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
gj-pc-angsunid-2566.pdf
Size:
903.54 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: