Interactions between Razor Clams (Solen Spp) and environmental factors at Don Hoi Lot Tidal flat, Samut Songkhram province, Thailand
Issued Date
2023
Copyright Date
2010
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xxvi,355 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Environment and Resource Studies))--Mahidol University, 2010
Suggested Citation
Narong Veeravaitaya Interactions between Razor Clams (Solen Spp) and environmental factors at Don Hoi Lot Tidal flat, Samut Songkhram province, Thailand. Thesis (Ph.D. (Environment and Resource Studies))--Mahidol University, 2010. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89326
Title
Interactions between Razor Clams (Solen Spp) and environmental factors at Don Hoi Lot Tidal flat, Samut Songkhram province, Thailand
Alternative Title(s)
ความสัมพันธ์ระหว่างหอยหลอด สกุล Solen Spp และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย
Author(s)
Abstract
ดอนหอยหลอดตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง ประชากรของหอยหลอดมีจำนวนลดลงเนื่องจาก หลายสาเหตุ การศึกษาวิจัยนี้ดำเนินการ ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2551 ถึงเดือนพฤษภาคม 2552โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางชีววิทยา ปริมาณ การแพร่กระจายของหอยหลอดและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะ ชีววิทยาของหอยหลอดกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่าหอยหลอดชนิดเด่นที่พบคือ Solen corneus Lamarck 1818 (76.7%) ตามด้วย S. strictus Gould 1861 (19.5%) และ S. regularis Dunker 1861 (3.8%) หอยหลอดชนิด S. corneus มีช่วงไข่สุกใน เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมและเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม กลุ่มแพลงก์ตอนเด่นที่พบในกระเพาะของหอยหลอด คือไดอะตอม (94.37%) อุณหภูมิเฉลี่ยของดินและน้ำมีค่าระหว่าง 19.78-35.18 องศาเซลเซียส และ 22.4 ถึง 32.3 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และปริมาณเฉลี่ยของสารอินทรีย์ทั้งหมด ปริมาณเฉลี่ยของทรายในดินและขนาดของ ดินตะกอนปริเวณดินชั้นบนและชั้นล่างมีค่า35.08 35.73 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง 75.8 73.9 % และ 74.8 74.1 ไมโครเมตร ตามลำดับ การศึกษาพบแพลงก์ตอนพืช 187 ชนิด และหอย 14 ชนิด ปริมาณความหนาแน่นของ หอยหลอดแต่ละชนิด มีค่าน้อยกว่า 1 ตัวต่อตารางเมตร หอยหลอดมีประชากรหนาแน่นในบริเวณสถานีเก็บ ตัวอย่างที่มีอัตราส่วนของทรายในดินสูงและพบประชากรหอยหลอดหนาแน่นในเดือนกันยายนและธันวาคม ผล การศึกษาระบุได้ว่าความหนาแน่นของ S. corneus มีความสัมพันธ์สูงกับปัจจัยร่วมระหว่างปริมาณของทรายในดิน ปริมาณสารอินทรีย์และปริมาณน้ำในดินบริเวณดินชั้นบน ส่วนปริมาณน้ำที่ไหลออกสู่บริเวณดอน อุณหภูมิน้ำ และอุณหภูมิดินมีผลต่อการพัฒนาของไข่ของหอยหลอด ปริมาณการจับหอยทั้งหมดในดอนหอยหลอดมีปริมาณ เท่ากับ 11.22 ตันต่อปี สภาพแวดล้อมในดอนหอยหลอดมีความเสื่อมโทรมลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสารอินทรีย์ และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนส่งผลต่อองค์ประกอบของดิน และมีผลต่อเนื่องกับถิ่นที่อยู่อาศัยของ หอยหลอด
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Environment and Resource Studies
Degree Grantor(s)
Mahidol University